ข้ามไปเนื้อหา

Escherichia coli O104:H4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Escherichia coli O104:H4 เป็นแบคทีเรีย Escherichia coli สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร (enterohemorrhagic strain) ชนิดหายากชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถผลิตพิษคล้ายพิษของเชื้อบิดได้ ทำให้เกิดการระบาดใน พ.ศ. 2554[1] โดยอักษร O หมายถึงชนิดการจำแนกประเภทตามวิทยาภูมิคุ้มกันจากแอนติเจนไลโปโพลีแซคคาไรด์บนเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนตัว H หมายถึงแอนติเจนบนแฟลเจลลัม

BGI Shenzhen ถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อนี้แล้วพบว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ซึ่งผลิตพิษที่มีความรุนแรงมาก เป็นสายพันธุ์ผสมซึ่งได้รับพันธุกรรมที่ผลิตพิษมาจากเชื้อ E. coli สายพันธุ์ที่มีการสะสมในทางเดินอาหาร (enteroaggregative strain) ผ่านการถ่ายทอดยีนในแนวราบ[2][3] เชื้อ E. coli สายพันธุ์ O104:H4 มีลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมดังตจ่อไปนี้

  • มียีน Shiga toxin stx2
  • มียีน terE (tellurite resistance gene cluster)
  • ไม่มียีน eae (intimin adherence gene)
  • มียีน beta-lactamase ampC, ampD, ampE, ampG และ ampH

ก่อนจะมีการระบาดใน พ.ศ. 2554 มีการรายงานผู้ป่วย E. coli O104:H4 ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเพียงรายเดียว เป็นผู้ป่วยหญิงชาวเกาหลี ซึ่งรายงานไว้ใน ค.ศ. 2005[4] นอกจากนี้ยังมีการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ที่เชื่อกันว่ามีความใกล้เคียงกัน คือ O104:H21 ทำให้เกิดการระบาดของลำไส้ใหญ่อักเสบตกเลือดในมอนทานา เมื่อ ค.ศ. 1994[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "EHEC O104:H4, causing a severe outbreak in Germany (May 2011)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-26. สืบค้นเมื่อ 2011-06-04.
  2. "BGI Sequences Genome of the Deadly E. Coli in Germany and Reveals New Super-Toxic Strain". BGI. 2011-06-02. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  3. David Tribe (2011-06-02). "BGI Sequencing news: German EHEC strain is a chimera created by horizontal gene transfer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. Bae WK, Lee YK, Cho MS, Ma SK, Kim SW, Kim NH, et al.. A case of haemolytic uremic syndrome caused by Escherichia coli O104:H4. Yonsei Medical Journal. 2006 Jun 30;47(3):473–9. doi:10.3349/ymj.2006.47.3.437. PMID 16807997.
  5. Center for Disease Control (USA). (1995). Morbidity and Mortality Weekly Report 44 (27) :501–3