เรื่องอื้อฉาวนมในจีน พ.ศ. 2551

กรณีอื้อฉาวเรื่องนมในจีน พ.ศ. 2551 เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาหารในประเทศจีน ซึ่งนมและนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ตลอดจนวัตถุดิบประกอบอาหารและส่วนประกอบอื่น ๆ ได้รับการเจือปนสารเมลามีน
เหตุการณ์[แก้]
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ประเทศจีนได้รายงานว่ามีเหยื่อได้รับผลกระทบอย่างน้อย 300,000 คน[1] และทารก 6 คนเสียชีวิตจากโรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไตในทางอื่น ๆ และทารกอีกกว่า 860 คนถูกนำตัวไปรักษาในโรงพยาบาล[2][3] สารเมลามีนดังกล่าวถูกเพิ่มลงไปในนมเพื่อทำให้ดูเหมือนว่านมนั้นมีปริมาณสารอาหารโปรตีนเพิ่มมากขึ้น ในเหตุการณ์ที่คล้ายกันเมื่อ พ.ศ. 2547 ซึ่งนมเจือจางทำให้มีทารกเสียชีวิต 13 คนจากภาวะขาดสารอาหาร[4]
เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม หลังจากทารก 16 คนในมณฑลกานซู ผู้ซึ่งได้รับการป้อนนมผงซึ่งผลิตโดยซานลู่ กรุ๊ป บริษัทซึ่งตั้งอยู่ในฉือเจียจวง ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ[5] หลังจากมีการให้ความสนใจแก่ซานลู่ในช่วงแรก ผู้นำการตลาดในภาคงบประมาณ การสืบสวนของรัฐบาลได้เปิดเผยปัญหาที่พบว่าบิรษัทมีระดับการขายต่ำกว่าอีก 21 บริษัท[6]
ปัญหาดังกล่าวได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารและการคอร์รัปชั่นในจีนแผ่นดินใหญ่ และทำลายชื่อเสียงของสินค้าอาหารส่งออกของจีน โดยมีอย่างน้อย 11 ประเทศหยุดการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากจีนทั้งหมด
การฟ้องคดีอาญาหลายคดีได้เกิดขึ้นตามมา โดยมีสองคนถูกตัดสินประหารชีวิต อีกคนหนึ่งได้รับโทษประหารชีวิตแต่รอการลงอาญา อีกสามคนถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต สองคนถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี[7] และเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่นเจ็ดคน เช่นเดียวกับผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคถูกไล่ออกหรือถูกบังคับให้ลาออก[8]
องค์การอนามัยโลกระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยอาหารที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่องค์การเคยรับมือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเป็นวิกฤตความเชื่อมั่นในหมู่ผู้บริโภคชาวจีนจะเป็นการยากที่จะหมดไป[9]
เมื่อปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 การปนเปื้อนเมลามีนที่คล้ายกันยังได้ถูกพบในไข่และอาจเป็นไปได้ในอาหารอื่น ซึ่งสามารถสืบย้อนไปได้ว่าเมลามีนถูกใส่ลงไปในอาหารสัตว์ แม้ว่าทางการจะสั่งห้ามแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นในส่วนประกอบอาหารสัตว์เลี้ยงที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา[10]
จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทางการจีนยังได้รับรายงานว่ายังมีการยึดของกลางผลิตภัณฑ์นมที่ปนเปื้อนสารเมลามีนอยู่ในบางมณฑล ถึงแม้ว่าจะยังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นการปนเปื้อนครั้งใหม่ซึ่งเป็นผลจาการปลอมปนรอบใหม่หรือเป็นผลจากกการนำสารกลับมาใช้ใหม่อย่างผิดกฎหมายจากการปนเปื้อนเมื่อ พ.ศ. 2551[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Branigan, Tania (2 December 2008). "Chinese figures show fivefold rise in babies sick from contaminated milk". The Guardian. London.
- ↑ Scott McDonald; และคณะ (Min Lee) (21 September 2008). "Nearly 53,000 Chinese children sick from milk". Pantagraph. Associated Press.
- ↑ Jane Macartney (22 September 2008). "China baby milk scandal spreads as sick toll rises to 13,000". The Times. London.
- ↑ "China 'fake milk' scandal deepens". BBC. 22 April 2004. สืบค้นเมื่อ 25 September 2008.
- ↑ Xinhua, 23 September 2008
- ↑ "China seizes 22 companies with contaminated baby milk powder". Xinhua. 16 September 2008.
- ↑ "Two get death in tainted milk case", China Daily
- ↑ "Crisis management helps China's dairy industry recover". Xinhua. 23 September 2008.
- ↑ Lisa Schlein Geneva (26 September 2008). "China's Melamine Milk Crisis Creates Crisis Of Confidence". VOA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2008.
- ↑ Wu Jiao (1 November 2008). "Checks on animal feed 'tightened'". China Daily.
- ↑ Pliny (9 July 2010). "Melamine tainted milk re-emerges in northwest China plant". Xinhua. สืบค้นเมื่อ 9 July 2010.
{{cite news}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|coauthors=
(help)