น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรักโทสสูง
น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโทสสูง (อังกฤษ: High-fructose corn syrup; HFCS) หรือชื่ออื่น ๆ กลูโคส-ฟรุกโทส, ไอโซกลูโคส และ น้ำเชื่อมกลูโคส-ฟรุกโทส[1][2] เป็นสารให้ความหวานที่ผลิตมาจากแป้งข้าวโพด ในการผลิตของน้ำเชื่อมข้าวโพดทั่ว ๆ ไปนั้น แป้งจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ ในขณะที่กระบวนการผลิต HFCS นั้นจะถูกแปลงด้วยกระบวนการของกลูโคสไอโซเมอเรสเพื่อเปลี่ยนกลูโคสเป็นฟรุกโทส HFCS มีการผลิตเพื่อจำหน่ายครั้งแรกในต้นทศวรรษ 1970s โดยบริษัทอุตสาหกรรมข้าวโพดคลินตัน (Clinton Corn Processing Company) ร่วมกับ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Agency of Industrial Science and Technology) ที่ซึ่งค้นพบเอนไซม์ดังกล่าวในปี 1965[3]: 5
สำหรับบทบาทในการให้ความหวานนั้น HFCS มักถูกเปรียบกับน้ำตาลเม็ด แต่ความได้เปรียบทางการผลิตนั้น HCFS มีมากกว่าน้ำตาลตรงที่ความสะดวกในการผลิตและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่า[4] "HFCS 42" และ "HFCS 55" หมายถึงการมีฟรุกโทสเป็นองค์ประกอบอยู่ 42% และ 55% ตามลำดับ ส่วนที่เหลือขององค์ประกอบคือกลูโคสและน้ำ[5] HFCS 42 นั้นพบใช้งานหลัก ๆ ในการผลิตอาหารแปรรูปและซีเรียลอาหารเช้า ในขณะที่ HFCS 55 นิยมใช้ในการผลิตน้ำหวานต่าง ๆ[5]
สำนักงานควบคุมอาหารและยาของสหรัฐอเมริการะบุว่า HFCS เป็นวัตถุดิบปลอดภัยสำหรับการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม[5] การใช้และการส่งออก HFCS จากผู้ผลิตชาวอเมริกันนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในต้นศตวรรษที่ 21[6]
สุขภาพ
[แก้]คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 1,176 กิโลจูล (281 กิโลแคลอรี) |
76 g | |
ใยอาหาร | 0 g |
0 g | |
0 g | |
วิตามิน | |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (2%) 0.019 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (0%) 0 มก. |
(0%) 0.011 มก. | |
วิตามินบี6 | (2%) 0.024 มก. |
โฟเลต (บี9) | (0%) 0 μg |
วิตามินซี | (0%) 0 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (1%) 6 มก. |
เหล็ก | (3%) 0.42 มก. |
แมกนีเซียม | (1%) 2 มก. |
ฟอสฟอรัส | (1%) 4 มก. |
โพแทสเซียม | (0%) 0 มก. |
โซเดียม | (0%) 2 มก. |
สังกะสี | (2%) 0.22 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 24 g |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
สารอาหาร
[แก้]HFCS ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 76% และน้ำ 24% ไม่พบไขมัน, โปรตีน หรือสารอาหารจำเป็นในจำนวนที่มีนัยสำคัญ ในน้ำเขื่อม 100 กรัม ให้พลังงาน 281 กิโลแคลอรี ส่วนใน 1 ช้อนโต๊ะ ซึ่งมี 19 กรัม จะให้พลังงาน 53 แคลอรี
โรคอ้วนและความผิดปกติทางเมตาบอลิก
[แก้]ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ว่า HFCS โดยตัวมันเองจะนำไปสู่โรคอ้วนหรือกลุ่มอาการเมตาบอลิก แต่เป็นไปในทางว่าการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มรสหวานต่าง ๆ เหล่านี้ก่อเกิดแคลอรีจำนวนมากที่อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เหล่านี้มากกว่า[7] งานวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่าการเพิ่มจำนวนของกลุ่มอาการผิดปกติทางเมตาบอลิก เช่น โรคอ้วนหรือโรคไขมันพอกตับที่ไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล นั้นมีความเกี่ยวพันกับการบริโภคน้ำตาลและแคลอรีจำนวนมากโดยทั่วไป[8][9][10] ผลการศึกษาในปี 2012 พบว่าฟรุกโทสไม่ได้มีผลต่อน้ำหนักกายเมื่อนำมาทดแทนคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ ในมื้ออาหารที่ปริมาณแคลอรีเท่ากัน[11] งานศึกษาเชิงระบบในปี 2014 พบหลักฐานน้อยมากที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภค HFCS กับโรคตับ, ระดับเอนไซม์ในตับ หรือปริมาณไขมัน[12]
ความปลอดภัยและความกังวลในการผลิต
[แก้]นับตั้งแต่ปี 2014 สำนักงานควบคุมอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาได้ยืนยันว่า has HFCS นั้นปลอดภัยในฐานะวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม[13] และไม่พบหลักฐานว่าผลิตภัณฑ์ HFCS สำหรับค้าปลีกมีความแตกต่างในแง่ของความปลอดภัยจากสารให้ความหวานทดแทนอื่น ๆ ในคู่มือแนะนำการบริโภคสำหรับชาวอเมริกัน ปี 2010 ได้แนะนำว่าการเติมน้ำตาลควรมีการจำกัดในการบริโภค[4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ European Starch Association (2013-06-10). "Factsheet on Glucose Fructose Syrups and Isoglucose". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-03. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
- ↑ "Glucose-fructose syrup: How is it produced?". European Food Information Council (EUFIC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-17. สืบค้นเมื่อ 2 April 2013.
- ↑ White J. S. Sucrose, HFCS, and Fructose: History, Manufacture, Composition, Applications, and Production. Chapter 2 in J. M. Rippe (ed.), Fructose, High Fructose Corn Syrup, Sucrose and Health, Nutrition and Health. Springer Science+Business Media New York 2014. ISBN 9781489980779.
- ↑ 4.0 4.1 White, J. S. (2009). "Misconceptions about high-fructose corn syrup: Is it uniquely responsible for obesity, reactive dicarbonyl compounds, and advanced glycation endproducts?". Journal of Nutrition. 139 (6): 1219S–1227S. doi:10.3945/jn.108.097998. PMID 19386820.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "High Fructose Corn Syrup: Questions and Answers". US Food and Drug Administration. 4 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
- ↑ "U.S. Exports of Corn-Based Products Continue to Climb". Foreign Agricultural Service, US Department of Agriculture. 21 January 2015. สืบค้นเมื่อ 4 March 2017.
- ↑ White, John S (1 November 2008). "Straight talk about high-fructose corn syrup: what it is and what it ain't". The American Journal of Clinical Nutrition. 88 (6): 1716S–1721S. doi:10.3945/ajcn.2008.25825b. ISSN 0002-9165. PMID 19064536.
- ↑ Rizkalla, S. W. (2010). "Health implications of fructose consumption: A review of recent data". Nutrition & Metabolism. 7: 82. doi:10.1186/1743-7075-7-82. PMC 2991323. PMID 21050460.
- ↑ Stanhope, Kimber L.; Schwarz, Jean-Marc; Havel, Peter J. (June 2013). "Adverse metabolic effects of dietary fructose". Current Opinion in Lipidology. 24 (3): 198–206. doi:10.1097/MOL.0b013e3283613bca. PMC 4251462. PMID 23594708.
- ↑ Allocca, M; Selmi C (2010). "Emerging nutritional treatments for nonalcoholic fatty liver disease". ใน Preedy VR; Lakshman R; Rajaskanthan RS (บ.ก.). Nutrition, diet therapy, and the liver. CRC Press. pp. 131–146. ISBN 978-1-4200-8549-5.
- ↑ Sievenpiper, JL; de Souza, RJ; Mirrahimi, A; Yu, ME; Carleton, AJ; Beyene, J; Chiavaroli, L; Di Buono, M; Jenkins, AL; Leiter, LA; Wolever, TM; Kendall, CW; Jenkins, DJ (21 February 2012). "Effect of fructose on body weight in controlled feeding trials: a systematic review and meta-analysis". Annals of Internal Medicine. 156 (4): 291–304. doi:10.7326/0003-4819-156-4-201202210-00007. PMID 22351714.
- ↑ Chung, M; Ma, J; Patel, K; Berger, S; Lau, J; Lichtenstein, A. H. (2014). "Fructose, high-fructose corn syrup, sucrose, and nonalcoholic fatty liver disease or indexes of liver health: A systematic review and meta-analysis". American Journal of Clinical Nutrition. 100 (3): 833–849. doi:10.3945/ajcn.114.086314. PMC 4135494. PMID 25099546.
- ↑ "CFR - Code of Federal Regulations Title 21". www.accessdata.fda.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-06-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ High-fructose corn syrup