จูล (หน่วย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จูล
ระบบการวัดหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ
เป็นหน่วยของพลังงาน
สัญลักษณ์J 
ตั้งชื่อตามเจมส์ จูล
การแปลงหน่วย
1 J ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   หน่วยฐานเอสไอ   kgm2s−2
   มาตราซีจีเอส   1×107 erg
   วัตต์-วินาที   1 Ws
   วัตต์-ชั่วโมง   2.78×10−7 kW⋅h
   แคลอรี (อุณหเคมี)   2.390×10−4 kcalth
   หน่วยความร้อนอังกฤษ   9.48×10−4 BTU

จูล (อังกฤษ: joule; สัญลักษณ์ J) เป็นหน่วยเอสไอของพลังงานหรืองาน ใช้ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์ที่ชื่อ เจมส์ เพรสคอตต์ จูล (James Prescott Joule; พ.ศ. 2361–2432)

คำจำกัดความ[แก้]

จูล เป็นหน่วยที่ใช้บอกปริมาณงานที่ทำ หรือพลังงานที่ต้องการออกแรง จำนวน 1 นิวตัน เป็นระยะทาง 1 เมตรหรืออาจเรียกปริมาณงานที่ได้อีกอย่างหนึ่งว่า นิวตัน เมตร หรือ นิวตัน-เมตร และมีสัญลักษณ์เป็น N·m หรือ N m และสามารถเขียนได้ดังนี้ kg· m2·s−2 อย่างไรก็ดี นิวตัน เมตร โดยปกติมักจะใช้วัดทอร์ก (torque) ไม่ใช่พลังงาน

1 จูล มีความหมายดังนี้ด้วย:

(volt) หรือ 1 คูลอมบ์ โวลต์ (coulomb volt) มีสัญญลักษณ์เป็น C·V

  • งานที่ทำเพื่อให้ได้กำลังงาน 1 วัตต์ ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 วินาที หรือ วัตต์ วินาที (watt second) มีสัญญลักษณ์เป็น W·s

การเทียบค่า[แก้]

1 จูล มีค่าที่แน่นอนเท่ากับ 107 เอิร์ก

1 จูล มีค่าประมาณ:

หน่วยที่ใช้เทียบค่ากับ จูล มีดังนี้:

  • 1 เทอโมเคมิกัล (thermochemical) แคลอรี = 4.184 J (exact)
  • 1 อินเตอเนชั่นแนล เทเบิล (International Table) แคลอรี = 4.1868 J (exact)
  • 1 วัตต์-ชั่วโมง = 3600 J (exact)

หน่วยพหุคูณ[แก้]

พหุคูณเอสไอสำหรับหน่วยจูล (J)
พหุคูณย่อย พหุคูณใหญ่
ค่า สัญลักษณ์ ชื่อ ค่า สัญลักษณ์ ชื่อ
10–1 J dJ เดซิจูล 101 J daJ เดคาจูล
10–2 J cJ เซนติจูล 102 J hJ เฮกโตจูล
10–3 J mJ มิลลิจูล 103 J kJ กิโลจูล
10–6 J µJ ไมโครจูล 106 J MJ เมกะจูล
10–9 J nJ นาโนจูล 109 J GJ จิกะจูล
10–12 J pJ พิโกจูล 1012 J TJ เทระจูล
10–15 J fJ เฟมโตจูล 1015 J PJ เพตะจูล
10–18 J aJ อัตโตจูล 1018 J EJ เอกซะจูล
10–21 J zJ เซปโตจูล 1021 J ZJ เซตตะจูล
10–24 J yJ ยอกโตจูล 1024 J YJ ยอตตะจูล
หน่วยที่นิยมใช้แสดงเป็นตัวหนา