จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน 建文帝 | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() พระบรมสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินในสมัยราชวงศ์ชิง | |||||||||||||||||
จักรพรรดิราชวงศ์หมิงองค์ที่ 2 | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 30 มิถุนายน ค.ศ. 1398 – 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1402 | ||||||||||||||||
ขึ้นครองราชย์ | 30 มิถุนายน ค.ศ. 1398 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิหงหวู่ | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิหย่งเล่อ | ||||||||||||||||
ไท่จื่อ | |||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง | ค.ศ. 1392–1398 | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | พระองค์แรก | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ | ||||||||||||||||
พระมเหสี | จักรพรรดินีเซี่ยวหมิ่นรั่ง (สมรส 1395; เสียชีวิต 1402) | ||||||||||||||||
พระราชบุตร |
| ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชสกุลจู | ||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์หมิง | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | จู เปียว | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | พระนางลฺหวี่ | ||||||||||||||||
ประสูติ | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1377 Hongwu 10, วันที่ 5 เดือน 11 (洪武十年十一月初五日) Yingtian Prefecture, จีนสมัยราชวงศ์หมิง (ปัจจุบันอยุ่ที่หนานจิง มณฑลเจียงซู) | ||||||||||||||||
สวรรคต | ไม่ทราบ[d] |
สมเด็จพระจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน หรือ เจี้ยนเหวินฮ่องเต้ (จีน: 建文帝; พินอิน: Jiànwén, เจี้ยนเหวิน) พระนามเดิมคือ จู ยฺหวิ่นเหวิน (朱允炆) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์หมิง ครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1398 ถึง ค.ศ. 1402 นามศักราชในรัชสมัยของพระองค์คือเจี้ยนเหวิน ซึ่งมีความหมายว่า "การสร้างอารยธรรม"[1] รัชสมัยของพระองค์อยู่ได้ไม่นาน: ความพยายามที่จะยับยั้งพระปิตุลา (อา) ของพระองค์นำไปสู่กบฏเจียงหนาน ในที่สุดจักรพรรดิเจี้ยนเหวินก็ถูกโค่นล้มโดยพระปิตุลาพระองค์หนึ่งของพระองค์คือ เจ้าชายจูตี้ ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหย่งเล่อ แม้ว่าจักรพรรดิหย่งเล่อจะพบพระศพที่ไหม้เกรียมของจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน แต่มีข่าวลือแพร่สะพัดมานานหลายทศวรรษว่าจักรพรรดิเจี้ยนเหวินได้ปลอมพระองค์เป็นพระสงฆ์และหลบหนีออกจากพระราชวังเมื่อกองกำลังของเจ้าชายจูตี้จุดไฟเผา ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงกล่าวว่าหนึ่งในเหตุผลที่จักรพรรดิหย่งเล่อสนับสนุนนายพลเรือและขันทีคนสนิทของพระองค์คือเจิ้งเหอในการออกสำรวจทางทะเลในช่วงต้นศตวรรษที่ 15 เพื่อให้เจิ้งเหอค้นหาจักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเชื่อกันว่ารอดชีวิตและหลบหนีไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[2]
ประวัติ[แก้]
พระราชบิดาของเจ้าชายจูยฺหวิ่นเหวิน คือเจ้าชายจูเปียว ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตของจูหยวนจาง พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นไท่จื่อหรือเจ้าชายรัชทายาทในปี ค.ศ. 1368 หลังจากที่จูหยวนจางก่อตั้งราชวงศ์หมิงและกลายเป็นที่รู้จักในฐานะจักรพรรดิหงอู่ หลังจากเจ้าชายรัชทายาทจูเปียว สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1392 จักรพรรดิหงอู่ในขั้นต้นได้พิจารณาเลือกผู้สืบทอดราชบัลลังก์จากบรรดาพระราชโอรสองค์อื่น ๆ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในอาณาเขตและดินแดนของตนทั่วจักรวรรดิหมิง
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ ในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1402 จักรพรรดิหย่งเล่อยุบเลิกศักราชเจี้ยนเหวินอย่างเป็นทางการ และตั้งศักราชหงอู่ใหม่จนกระทั่งวันปีใหม่จีนในช่วงGuǐ-Wèi (หยิน น้ำ มะแม) ใน ค.ศ. 1403 และเริ่มต้นศักราชหย่งเล่ออย่างเป็นทางการ.
- ↑ 2.0 2.1 พระราชทานโดยจักรพรรดิหงกวงใน ค.ศ. 1644
- ↑ พระราชทานโดยจักรพรรดิเฉียนหลงใน ค.ศ. 1736
- ↑ จักรพรรดิเจี้ยนเหวินหายตัวในวันที่พระราชวังเกิดเพลิงไหม้ในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1402 และจักรพรรดิหย่งเล่อเสนอวันสวรรคตของพระองค์ อย่างไรก็ตาม มีความเชื่อที่แพร่หลายว่าพระองค์รอดชีวิตและหลบซ่อนเป็นพระภิกษุสงฆ์เป็นเวลาหลายปี
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Dardess, John. Ming China, 1368–1644: A Concise History of a Resilient Empire. Rowman & Littlefield, 2011. ISBN 1442204915, ISBN 9781442204911. Accessed 14 October 2012.
- ↑ "Ming Emperor overseas?". Chinatownology.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Jianwen Emperor
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิหงหวู่ | ![]() |
จักรพรรดิจีน (พ.ศ. 1941 - พ.ศ. 1945) |
![]() |
จักรพรรดิหย่งเล่อ |