จักรพรรดิหงจื้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิหงจื้อ
จักรพรรดิราชวงศ์หมิง
ครองราชย์22 กันยายน ค.ศ. 1487 - 8 มิถุนายน ค.ศ.1505
ก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดิเฉิงฮั่ว
ถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดิเจิ้งเต๋อ
ประสูติ30 กรกฎาคม ค.ศ. 1470
จู โหย่วเฉิง[1][2]
สวรรคต8 มิถุนายน ค.ศ. 1505 (รวมพระชนมมายุ 34 พรรษา)
จักรพรรดินีสมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวคังจิง
พระราชบุตรจูโฮ่วเจ้า (朱厚照
องค์ชายหงเว่ย(朱厚炜)
องค์หญิงไท่ซัง(太康公主)
รัชศก
หงจื้อ
พระสมัญญานาม
Emperor Datian Mingdao Chuncheng Zhongzheng Shengwen Shenwu Zhiren Dade Jing
達天明道純誠中正聖文神武至仁大德敬皇帝
พระอารามนาม
Ming Xiaozong 明孝宗
ราชวงศ์ราชวงศ์หมิง
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิเฉิงฮั่ว
พระราชมารดาพระนางเสี้ยวมู่
พระสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิหงจื้อ

สมเด็จพระจักรพรรดิหงจื้อ (弘治, 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1470 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1505) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่ง ราชวงศ์หมิง ครองสิริราชสมบัติจากปี ค.ศ. 1487 ถึงปี ค.ศ. 1505 พระนามเมื่อแรกประสูติคือ จู โหย่วเฉิง[1][2] พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของ จักรพรรดิเฉิงฮว่า และรัชสมัยของพระองค์ในฐานะจักรพรรดิจีนเรียกว่า "การฟื้นฟูหงจื้อ" ศักราชของพระองค์ "หงจื้อ" หมายถึง "การปกครองที่ดี" จักรพรรดิผู้รักสงบ จักรพรรดิหงจื้อยังมีจักรพรรดินีเพียงองค์เดียวและไม่มีนางสนม พระองค์เป็นจักรพรรดิที่มีคู่สมรสคนเดียวตลอดในประวัติศาสตร์จีนนอกจาก จักรพรรดิเว่ย์เฟ่ย์ พระองค์เป็นจักรพรรดิในช่วงกลางราชวงศ์หมิง[3]

พระราชประวัติ[แก้]

จักรพรรดิหงจื้อ หรือ องค์ชาย จู โหย่วเฉิง ประสูติแต่ นายหญิงจี้ (紀氏) และถูกพระมารดาเลี้ยงมาอย่างลับ ๆ อดีตจักรพรรดินีหวู่และขันทีต่าง ๆ สาบานว่าจะไม่เปิดเผย องค์ชาย จู โหย่วเฉิง และทำให้ ว่านกุ้ยเฟย พระสนมองค์โปรดของจักรพรรดิเฉิงฮว่าที่พยายามจะมีพระบุตรของพระนางเองอารมณ์เสีย เพื่อการนี้ ว่านกุ้ยเฟยจึงกำจัดนางสนมคู่แข่งและสั่งห้ามการตั้งครรภ์โดยเด็ดขาด เนื่องจากพระโอรสของพระนางหลังจากประสูติได้ไม่นานก็สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1466 องค์ชาย จู โหย่วเฉิง ได้กลับมาพบพระบิดาในปี ค.ศ. 1475 เมื่อพระชนมายุ 5 พรรษาและได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท

ในฐานะจักรพรรดิ[แก้]

ภายหลัง จักรพรรดิหงจื้อ เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติในปี ค.ศ. 1487 การบริหารของพระองค์เป็นแบบอย่างตามอุดมการณ์ของขงจื๊อ ทำให้พระองค์กลายเป็นจักรพรรดิที่ขยันหมั่นเพียร พระองค์ดูแลอย่างใกล้ชิด ลดภาษี ลดการใช้จ่ายของภาครัฐ และตัดสินพระทัยอย่างชาญฉลาดในการแต่งตั้งเสนาบดี ที่จับมือทำงานร่วมกับจักรพรรดิหงจื้อ จึงสร้างบรรยากาศความร่วมมือภายในราชสำนักที่ไม่ค่อยมีใครเห็น นอกจากนี้ จักรพรรดิยังสนับสนุนให้เสนาบดีเป็นแนวหน้าในทุกเรื่อง กระทั่งยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อองค์จักรพรรดิเองสิ่งนี้สร้างราชสำนักที่โปร่งใสมากขึ้นและนำพลังงานใหม่มาสู่ราชวงศ์หมิง ผลที่ตามมา ประชาชนเจริญรุ่งเรืองภายใต้การปกครองของพระองค์อีกครั้ง ว่ากันว่าอำนาจของขันทีแต่ละคนถูกลดทอนลง และความหรูหราฟุ่มเฟือยในรัชกาลก่อนไม่ปรากฏในรัชสมัยของพระองค์ จักรพรรดิหงจื้อได้รับการเปรียบเทียบกับ จักรพรรดิหงหวู่ และ จักรพรรดิหย่งเล่อ ในฐานะหนึ่งในจักรพรรดิผู้เก่งกาจที่สุดแห่งราชวงศ์หมิง

ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1488 ขุนนางชาวโชซ็อนนาม ชอยบู ที่เรืออับปางกำลังเดินทางไป คลองใหญ่ ระหว่างเดินทางกลับเกาหลีโดยขบวนคุ้มกันของหมิง ชอยสังเกตเห็นเรือข้ามฟากที่ผ่านไปผ่านมาจึงถามขุนนางจาก ซันเฉิ่งลิ่วปู้[4] เมื่อเขาถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาก็ได้รับฟังคำอธิบายว่า จักรพรรดิหงจื้อ กำลังกำจัดขุนนางทุจริตและไร้ความสามารถในราชสำนักของพระองค์และนี่คือการแสดงความปรารถนาดีครั้งสุดท้ายของจักรพรรดิ โดยให้เดินทางกลับบ้านโดยทางเรือแบบสะดวกสบาย[4]

นโยบายของจักรพรรดิหงจื้อแสดงให้เห็นถึงความอดทนกับ มุสลิม และ จีนมุสลิม อาลี อัคบาร์ คาตาอี นักภูมิศาสตร์ชาวออตโตมัน ได้บันทึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดิกับชุมชนชาวมุสลิมในจีน อัคบาร์ กล่าวว่า พระองค์มีมุสลิมหลายคนในราชสำนักของพระองค์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 汉典——“樘”
  2. 2.0 2.1 海词——樘
  3. 中国历代悬案疑案奇案 page 176, second story
  4. 4.0 4.1 Brook, 50.
  5. Hagras, Hamada (2019). "The ming court as patron of the Chinese islamic architecture: The case study of the daxuexi mosque in Xi'an" (PDF). Shedet. 6: 134–158. doi:10.36816/SHEDET.006.08.
ก่อนหน้า จักรพรรดิหงจื้อ ถัดไป
จักรพรรดิเฉิงฮว่า จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2030 - พ.ศ. 2048)
จักรพรรดิเจิ้งเต๋อ|}