จระเข้น้ำเค็ม
จระเข้น้ำเค็ม ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีน–ปัจจุบัน, 5.3–0Ma[1] | |
---|---|
เพศผู้ | |
เพศเมีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | อันดับจระเข้ Crocodilia |
วงศ์: | Crocodylidae Crocodylidae |
สกุล: | จระเข้ Crocodylus Schneider, 1801 |
สปีชีส์: | Crocodylus porosus |
ชื่อทวินาม | |
Crocodylus porosus Schneider, 1801 | |
ที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำเค็มในสีดำ |
จระเข้น้ำเค็ม, จระเข้น้ำกร่อย[4], ไอ้เคี่ยม หรือ จระเข้ทองหลาง[5] (อังกฤษ: saltwater crocodile, estuarine crocodile; ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodylus porosus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae มีที่อยู่อาศัยหลักในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อยในชายฝั่งตะวันออกของอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากภูมิภาคซุนดาถึงออสเตรเลียตอนบนและไมโครนีเชีย บัญชีแดงไอยูซีเอ็นจัดให้จระเข้น้ำเค็มอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์มานับตั้งแต่ ค.ศ. 1996[2] มันเคยถูกล่าเพื่อนำหนังไปผลิตในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และเสี่ยงที่จะถูกล่าอย่างผิดกฎหมายและทำลายถิ่นฐานธรรมชาติ สัตว์ชนิดนี้ถือเป็นอันตรายต่อมนุษย์[6]
จระเข้น้ำเค็มเป็นสัตว์เลี้อยคลานและอันดับจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่[7][8][9] เพศผู้สามารถมีความยาวได้ถึง 6 เมตร (20 ฟุต) แทบไม่ยาวเกิน 6.3 เมตร (21 ฟุต)และมีน้ำหนัก 1,000–1,300 กิโลกรัม (2,200–2,900 ปอนด์)[10][11][12]ส่วนเพศเมียมีขนาดเล็กกว่า และแทบไม่ยาวเกิน 3 เมตร (10 ฟุต)[13][14]
นอกจากนี้ ยังเป็นจระเข้ 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 2 ชนิด คือ จระเข้น้ำจืดและตะโขง)
ลักษณะ
[แก้]มีลักษณะทั่วไปคล้ายจระเข้น้ำจืด จุดที่แตกต่างกันคือ ขาคู่หลังมีลักษณะแข็งแรงกว่าขาคู่หน้าและมีเพียง 4 นิ้วมีพังผืดระหว่างนิ้วตีนมากกว่าจระเข้น้ำจืด จะงอยปากยาวและส่วนปลายค่อนข้างแหลม มีฟันประมาณ 60 ซี่ ลักษณะแตกต่างจากจระเข้น้ำจืดคือไม่มีเกล็ด 4 เกล็ดที่ท้ายทอย ปากยาวกว่าจระเข้น้ำจืดอย่างเห็นได้ชัด มีสันเล็ก ๆ ยื่นจากลูกตาไปตามความยาวของส่วนหัวจนถึงตำแหน่งของปุ่มจมูก หรือที่เรียกว่าก้อนขี้หมา สีลำตัวออกเหลืองอ่อนหรือสีขาว และมีการเรียงตัวที่ส่วนหาง ดูคล้ายตาหมากรุก ตัวผู้มีความยาวหางยาวกว่าตัวเมีย แต่ลำตัวของตัวผู้ผอมเพรียวกว่าแต่โดยรวมแล้วขนาดลำตัวของตัวเมียจะเล็กกว่าเมื่อเทียบกันตัวต่อตัว และระยะห่างของโหนกหลังตาจะกว้างกว่าหัวของตัวผู้ดูป้อมสั้น ตัวเมียจะดูหัวยาวเรียว
จระเข้น้ำเค็มจัดว่าเป็นสายพันธุ์จระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ได้ถึง 4–5 เมตร ตัวผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 16 ปี ตัวเมียอายุ 10 ปี แต่จะให้ไข่ที่สมบูรณ์เมื่ออายุ 12 ปี มีขนาดยาว 2.2 เมตร มีการผสมพันธุ์ในฤดูร้อนและวางไข่ในฤดูฝน ครั้งละ 25–90 ฟอง การวางไข่จะใช้เวลาประมาณ 20–25 นาที ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 80 วัน ขนาดของไข่จระเข้น้ำเค็มจะใหญ่กว่าจระเข้น้ำจืดเล็กน้อย มีน้ำหนักประมาณ 110–120 กรัม
จระเข้น้ำเค็มมีอุปนิสัยดุร้ายมาก สามารถโจมตีสัตว์ที่โดยปกติไม่ใช่อาหารได้ เช่น มนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางถิ่นของออสเตรเลียที่ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในเรื่องการโจมตีมนุษย์ของจระเข้น้ำเค็ม อีกทั้งมีการกัดของกรามได้อย่างรุนแรงมากที่สุดในโลก โดยมีแรงมากถึง 1,700 ปอนด์[15] และสามารถกระโดดงับเหยื่อได้ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ในสัตว์เลื้อยคลายขนาดใหญ่เช่นนี้ จนกระทั่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "man eater" (ตัวกินคน) ซึ่งในสวนสัตว์บางแห่งได้ใช้ความสามารถพิเศษนี้หลอกล่อให้จระเข้กระโดดงับเหยื่อที่แขวนล่อไว้เพื่อแสดงแก่ผู้เยี่ยมชม
ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก
[แก้]คืนวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2011 ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ชาวบ้านและผู้เชี่ยวชาญหลายคนรวมกันจับจระเข้น้ำเค็มเพศผู้ตัวหนึ่งได้ โดยใช้เวลากว่า 3 สัปดาห์ หลังจากจระเข้ตัวนี้กินควายไปเมื่อเดือนก่อน และเชื่อว่ามันกินคนไปสองศพไปเมื่อสองปีก่อนด้วยการกัดเข้าที่ศีรษะจนขาด ซึ่งจระเข้ตัวนี้มีน้ำหนักกว่า 1,075 กิโลกรัม และยาวถึง 6.4 เมตร อายุกว่า 50 ปี นับเป็นจระเข้ตัวใหญ่ที่สุดเพียงไม่กี่ตัวที่จับได้ในรอบหลายปีที่ฟิลิปปินส์ และเชื่อว่าเป็นจระเข้ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่พบมา โดยทำลายสถิติจระเข้ตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่บันทึกได้ที่ออสเตรเลีย ซึ่งตัวนั้นยาว 5.48 เมตร[16][17][18]
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
[แก้]พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลียทางตอนเหนือ บริเวณนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี มักอาศัยอยู่ในป่าโกงกางหรือป่าชายเลนในที่ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม
ในทางอุตสาหกรรม หนังของจระเข้น้ำเค็มมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำเครื่องหนังมากกว่าจระเข้น้ำจืด เพราะมีหนังที่เหนียวทนทานกว่า จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ แต่ทว่าด้วยความที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการจระเข้จะโตและให้ผลผลิตที่ดีได้ จึงนิยมผสมข้ามสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นเพื่อให้ได้จระเข้ลูกผสมที่จะให้ผลผลิตที่เร็วกว่า
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ยกเว้นประชากรในออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และปาปัวนิวกินีที่อยู่ใน Appendix II
อ้างอิง
[แก้]- จระเข้น้ำเค็ม เก็บถาวร 2008-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Rio, Jonathan P.; Mannion, Philip D. (6 September 2021). "Phylogenetic analysis of a new morphological dataset elucidates the evolutionary history of Crocodylia and resolves the long-standing gharial problem". PeerJ. 9: e12094. doi:10.7717/peerj.12094. PMC 8428266. PMID 34567843.
- ↑ 2.0 2.1 Webb, G.J.W.; Manolis, C.; Brien, M.L.; Balaguera-Reina, S.A. & Isberg, S. (2021). "Crocodylus porosus". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T5668A3047556. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-2.RLTS.T5668A3047556.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ "เรื่องเล่าข้ามโลก : ล่องเรือตามหาจระเข้น้ำกร่อย (13 ธ.ค. 58)". นาว 26. 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 17 January 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ จระเข้จากข่าวสด
- ↑ Webb, G. J. W.; Manolis, C.; Brien, M. L. (2010). "Saltwater Crocodile Crocodylus porosus" (PDF). ใน Manolis, S. C.; Stevenson, C. (บ.ก.). Crocodiles: Status Survey and Conservation Action Plan (3rd ed.). Darwin: IUCN Crocodile Specialist Group. pp. 99–113.
- ↑ Read, Mark A.; Grigg, Gordon C.; Irwin, Steve R.; Shanahan, Danielle; Franklin, Craig E. (2007). "Satellite Tracking Reveals Long Distance Coastal Travel and Homing by Translocated Estuarine Crocodiles, Crocodylus porosus". PLOS ONE. 2 (9): e949. Bibcode:2007PLoSO...2..949R. doi:10.1371/journal.pone.0000949. PMC 1978533. PMID 17895990.
- ↑ "Crocodiles surf ocean currents". www.telegraph.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022.
- ↑ "Fauna of Australia" (PDF).
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Top 10 Largest Crocodiles Ever Recorded". Our planet. 11 May 2019.
- ↑ "Relationship between total length and head length for Saltwater Crocodiles Crocodylus". ResearchGate.
- ↑ "World's Crocodile Heavy Weight Champion Cassius Turns 112". media.queensland.com.
- ↑ Whitaker, R.; Whitaker, N. (2008). "Who's got the biggest?" (PDF). Crocodile Specialist Group Newsletter. 27 (4): 26–30.
- ↑ Britton, A. R. C.; Whitaker, R.; Whitaker, N. (2012). "Here be a Dragon: Exceptional Size in Saltwater Crocodile (Crocodylus porosus) from the Philippines". Herpetological Review. 43 (4): 541–546.
- ↑ รายการ Knowledge Zone คลังปัญญา ตอน Animal Face-Off ออกอากาศวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางช่อง 9
- ↑ "Giant Crocodile Breaks Size Record—Suspected in Fatal Attacks". Animals (ภาษาอังกฤษ). 2012-07-03.
- ↑ ฟิลิปปินส์หวังพึ่งจระเข้น้ำเค็มยักษ์1 ตันหนุนท่องเที่ยว[ลิงก์เสีย] กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ ตะลึง ฟิลิปปินส์เผยจับจระเข้ใหญ่ที่สุดในโลกหนักกว่า 1,075 กิโล เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มติชน