ตะโขงอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตะโขงอินเดีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 5–0Ma
สมัยไพลโอซีนปัจจุบัน[1]
ตะโขงอินเดียตัวผู้
ตะโขงอินเดียตัวเมียและลูก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไม่ได้จัดลำดับ: Archosauria
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Crocodilia
วงศ์: Gavialidae
สกุล: Gavialis
Oppel, 1811
สปีชีส์: G.  gangeticus
ชื่อทวินาม
Gavialis gangeticus
(Gmelin, 1789)
ชื่อพ้อง
  • Lacerta gangetica Gmelin, 1789
  • Crocodilus gavial Bonnaterre, 1789
  • Crocodilus longirostris Schneider, 1801
  • Crocodilus arctirostris Daudin, 1802
  • Crocodilus gangeticus and C. tenuirostris Cuvier, 1807
  • Rhamphostoma Wagler, 1830

ตะโขงอินเดีย หรือ กาเรียล (อังกฤษ: gharial, Indian gavial, gavial; ฮินดี: घऱियाल; มราฐี: सुसर) เป็นสมาชิกเพียงไม่กี่ชนิดที่เหลืออยู่ของวงศ์ตะโขง (Gavialidae) ซึ่งเป็นกลุ่มของจระเข้ที่มีปากแหลมเรียวยาว[3] ตะโขงอินเดียได้รับการจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามอยู่ในขั้นวิกฤตโดย IUCN[2]

ตะโขงอินเดียนับเป็นจระเข้หนึ่งในสามชนิดที่พบในประเทศอินเดีย ส่วนชนิดอื่นก็มีจระเข้อินเดีย (Crocodylus palustris) และจระเข้น้ำเค็ม (C. porosus)[4] เป็นหนึ่งจระเข้ที่ยาวที่สุดของจระเข้ในปัจจุบัน[5]

มีความยาวเต็มที่ได้ 6.5 เมตร นับเป็นจระเข้ชนิดที่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำมากที่สุดในบรรดาสัตว์ในอันดับจระเข้ที่สุด เมื่อขึ้นมาบนบกจะอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวและลึก หรือบริเวณลำห้วยที่ติดกับแม่น้ำ ชอบนอนพึ่งแดดโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ตัวผู้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะมีตุ่มขึ้นมาที่ส่วนปลายทางของด้านบนปาก ซึ่งเรียกในภาษาฮินดีว่า "การ่า"[6] ตุ่มนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดถึงประโยชนของตุ่มอันนี้ แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นสิ่งให้กำเนิดเสียงเพื่อการสื่อสารเพื่อหาคู่ ซึ่งได้ยินไปไกลถึง 1 กิโลเมตร เพราะอยู่ติดกับช่องเปิดจมูกและล้ำเกินมาช่องเปิดจมูก เนื่องจากตัวผู้ที่มีตุ่มก้อนใหญ่ที่สุดมักจะเป็นผู้นำฝูง หากินปลาในน้ำ วางไข่โดยขุดโพรงตามริมฝั่งแม่น้ำ

ไข่ของตะโขงอินเดีย นับเป็นไข่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาจระเข้ทั้งหมด ไข่จะถูกฝังอยู่ใต้ทรายภายใต้อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส โดยตะโขงอินเดียตัวเมียจะเป็นฝ่ายเฝ้าดูแลไข่นานถึง 2 เดือน ตะโขงอินเดียสามารถวางไข่ได้มากถึงเกือบ 100 ฟอง[6]

นอกจากจะพบได้ที่อินเดียแล้ว ยังสามารถพบได้อีกหลายประเทศในเอเชียใต้ อาทิ เนปาล, ภูฐาน, บังกลาเทศ, ปากีสถาน และพบได้อีกที่พม่า [7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brochu, C. A. (1997). "Morphology, fossils, divergence timing, and the phylogenetic relationships of Gavialis". Systematic Biology. 46 (3): 479–522. doi:10.1093/sysbio/46.3.479. PMID 11975331.
  2. 2.0 2.1 Choudhury, B.C., Singh, L.A.K., Rao, R.J., Basu, D., Sharma, R.K., Hussain, S.A., Andrews, H.V., Whitaker, N., Whitaker, R., Lenin, J., Maskey, T., Cadi, A., Rashid, S.M.A., Choudhury, A.A., Dahal, B., Win Ko Ko, U., Thorbjarnarson, J & Ross, J.P. (2007) Gavialis gangeticus. In: IUCN 2010. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4. online
  3. Maskey, T.M., Percival, H.F. (1994) Status and Conservation of Gharial in Nepal. Presented at the 12th Working Meeting of the Crocodile Specialist Group, Thailand.
  4. Hiremath, K.G. Recent advances in environmental science. Discovery Publishing House, 2003. ISBN 8171416799, 9788171416790. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  5. "Crocodilian species - Gharial". Flmnh.ufl.edu. สืบค้นเมื่อ 2010-03-16.
  6. 6.0 6.1 Ganges River Of Life, "Wildest India". สารคดีทางแอนนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 12 กรกฎาคม 2557
  7. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 368 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

บรรณานุกรม[แก้]

  • Crocodile Specialist Group (2007). Gavialis gangeticus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 04 November 2010. Listed as Critically Endangered A2bc; C1
  • Janke A, Gullberg A, Hughes S, Aggarwal RK, Arnason U. (2005). "Mitogenomic analyses place the gharial (Gavialis gangeticus) on the crocodile tree and provide pre-K/T divergence times for most crocodilians." J Mol Evol. 61(5):620-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]