ข้ามไปเนื้อหา

เคแมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคแมน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
สมัยพาลีโอซีนปัจจุบัน, 66–0Ma
เคแมนแคระคูเวียร์ (Paleosuchus palpebrosus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับ: Crocodilia
วงศ์: Alligatoridae
วงศ์ย่อย: Caimaninae
Brochu, 1999
ชนิดต้นแบบ
Caiman latirostris
Daudin, 1825
สกุล & ชนิด
ดูในเนื้อหา

เคแมน หรือ ไคแมน[1] (อังกฤษ: caiman) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ในวงศ์ย่อย Caimaninae ในวงศ์ Alligatoridae พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่ตอนกลางของเม็กซิโกไปจนถึงเอกวาดอร์ และทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสไปจนถึงอุรุกวัย, ปารากวัย และทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา

เคแมน มีขนาดที่เล็กกว่าแอลลิเกเตอร์ มีกระดูกฮัยออยด์เป็นชิ้นกว้าง ช่องเปิดจมูกมีช่องเดียวขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรง หลากหลายลักษณะ วางไข่บนกองดินและใช้หางปัดกวาดพรรณพืชต่าง ๆ มากองรวมกัน บางชนิดใช้ความร้อนจากแสงแดดหรือความร้อนจากการเน่าสลายของพรรณพืชสำหรับการฟักไข่

ขนาดเล็กที่สุด มีขนาดโตเต็มที่ 1.7 เมตร ขนาดใหญ่ที่สุดโตเต็มที่ได้ 2-5 เมตร[1] ในสกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว Purussaurus มีความยาวได้ถึง 12 เมตร และ Mourasuchus ซึ่งมีขนาดใหญ่เหมือนกัน มีจมูกกว้างเหมือนเป็ด[2]

การจำแนก

[แก้]

ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. หน้า 369. ISBN 978-616-556-016-0
  2. Brochu, C. A. (1999). "Phylogenetics, Taxonomy, and Historical Biogeography of Alligatoroidea". Society of Vertebrate Paleontology Memoir. 6: 9–100. doi:10.2307/3889340. JSTOR 3889340.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]