งากฟัน
งากฟัน (เอ้อ ฮฺว่าน) 鄂煥 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
นายทหารของโกเตง | |||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 鄂煥 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 鄂焕 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ยุคในประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก |
งากฟัน มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เอ้อ ฮฺว่าน (จีน: 鄂焕; พินอิน: È Huàn) เป็นตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 เป็นนายทหารของโกเตง ผู้นำชนเผ่าในเมืองอวดจุ้น (越巂郡 เยฺว่ซีจฺวิ้น/เยฺว่สุ่ยจฺวิ้น; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้นครซีชาง มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) ในภูมิภาคหนานจง ทางตอนใต้ของมณฑลเอ๊กจิ๋ว
งากฟันเป็นตัวละครสมมติในนวนิยายสามก๊ก ไม่ปรากฏชื่อในบันทึกทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]งากฟันปรากฏเป็นตัวละครในนวนิยายสามก๊กตอนที่ 87[a] นิยายสามก๊กบรรยายลักษณะของงากฟันว่าความสูง 9 ฉื่อ เชี่ยวชาญการใช้ทวนฟางเที่ยนจี่ (方天戟) เป็นอาวุธ
ตามความในนวนิยายสามก๊ก เมื่อจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กนำทัพจ๊กก๊กลงใต้เพื่อปราบกบฏในภูมิภาคหนานจง โกเตงร่วมกับยงคีและจูโพในการรบกับทัพจ๊กก๊ก โกเตงให้งากฟันคุมกองหน้าออกรบ แต่งากฟันเสียทีถูกอุยเอี๋ยน เตียวเอ๊ก และอองเป๋งจับตัวมาให้จูกัดเหลียง จูกัดเหลียงปฏิบัติต่องากฟันเป็นอย่างดีและปล่อยตัวไป งากฟันกลับไปหาโกเตงและยกย่องคุณธรรมของจูกัดเหลียง
ต่อมาจูกัดเหลียงดำเนินแผนยุแยงให้โกเตงระแวงยงคีและจูโพ โกเตงจึงให้งากฟันไปสังหารยงคีและจูโพเสีย แล้วงากฟันจึงติดตามโกเตงจึงเข้าสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงจึงแต่งตั้งให้งากฟันมีตำแหน่งเป็นขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將 หยาเหมินเจี้ยง)[2][1]
ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
[แก้]ไม่ปรากฏชื่อของงากฟันในบันทึกทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ
ในจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ) บทประวัติลิคีระบุว่ายงคีถูกสังหารโดยผู้ใต้บังคับบัญชาของโกเตงในระหว่างการทัพปราบกบฏของจูกัดเหลียง[3] ในจดหมายเหตุสามก๊กไม่ได้ระบุชื่อผู้ใต้บังคับบัญชาของโกเตงที่สังหารยงคี
ในจดหมายเหตุสามก๊ก บทประวัติม้าตง ระบุว่าจูกัดเหลียงแต่งตั้งให้ม้าตงเป็นเจ้าเมืองโคกุ้น (牂柯郡 จางเคอจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครกุ้ยหยางหรือฝูเฉฺวียน มณฑลกุ้ยโจว) และนำกองกำลังเข้าปราบกลุ่มกบฏในเมืองโคกุ้นที่นำโดยจูโพได้สำเร็จ[4] แต่ไม่มีการระบุถึงชะตากรรมของจูโพ
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 67[1]