คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566
พื้นที่
เริ่มต้นเมษายน พ.ศ. 2566
ความสูญเสีย
ผู้เสียชีวิต
  • 179 (อินเดีย)
  • 22 (ปากีสถาน)
  • 2 (มาเลเซีย)
  • 2 (ประเทศไทย)
ผู้รับการพยาบาล450–460 (อินเดีย)

ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา คลื่นความร้อนซึ่งร้อนจนทำลายสถิตินั้นส่งผลกระทบต่อประเทศหลายแห่งในเอเชีย อันรวมถึงประเทศจีน ประเทศไทย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศเวียดนาม และประเทศอินเดีย ทั้งยังส่งผลให้เกิดสถิติใหม่หลายรายการในภูมิภาคนี้

เอเชียกลาง[แก้]

ในประเทศแถบเอเชียกลางมีสถิติอากาศร้อนสูงผิดปรกติ เช่น ในประเทศคาซัคสถาน อุณหภูมิสูงถึง 33.6 องศาเซลเซียส[1] และในประเทศเติร์กเมนิสถาน อุณหภูมิสูงถึง 42.4 องศาเซลเซียส[2]

เอเชียตะวันออก[แก้]

จีน[แก้]

ประเทศจีนเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อน โดยมีอุณหภูมิสูงถึง 42.4 องศาเซลเซียสในมณฑลยูนนานเมื่อวันที่ 18 เมษายน และมีรายงานว่า 1 วันก่อนหน้านี้ สถานีวัดอากาศกว่า 100 แห่งบันทึกอุณหภูมิได้สูงเป็นประวัติการณ์[3] นอกจากนี้ ในหลายมณฑลมีอุณหภูมิเกิน 35 องศาเซลเซียส[4]

แนวปะทะอากาศเย็นที่พัดไปทางใต้และตะวันออกช่วงวันที่ 22–23 เมษายน ส่งผลให้อุณหภูมิลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเกิดฝนตกหนักกับหิมะถล่มในทางเหนือ โดยเฉพาะในมณฑลฉ่านซีมีรายงานว่า เกิดหิมะหนาถึง 24 เซนติเมตร[5]

ญี่ปุ่น[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น อุณหภูมิที่เมืองมินามาตะเมื่อเดือนเมษายนสูงถึง 30.2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสถิติใหม่สำหรับพื้นที่นี้[1]

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[แก้]

กัมพูชา[แก้]

ความต้องการน้ำที่ทวีขึ้นในประเทศไทยทำให้ประเทศกัมพูชาขาดแคลนน้ำ กระทรวงทรัพยากรน้ำและอุตุนิยมวิทยาของประเทศกัมพูชาพยากรณ์ว่า อากาศจะร้อนต่อไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม และฝนจะตกน้อยกว่าปีก่อน นอกจากนี้ รูปแบบสภาพอากาศยังได้รับผลกระทบจากเอลนีโญ เป็นผลให้เกิดความร้อนซึ่งจะดำเนินต่อไปจนถึงเดือนสิงหาคม[6]

ไทย[แก้]

ในประเทศไทย อุณหภูมิสูงเกิน 45 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยจังหวัดตากมีความร้อนสูงถึง 45.4 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 15 เมษายน[3] ซึ่งทำลายสถิติเดิมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ 44.6 องศาเซลเซียส[7]

รัฐบาลไทยออกคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เป็นลมแดด[1][7] ในวันที่ 22 เมษายน มีคำเตือนโดยเจาะจงให้ประชาชนอยู่ในที่ร่ม[8]

ความร้อนครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน[2] การใช้งานเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นที่ทวีขึ้นทำให้ไฟฟ้าตกในบางพื้นที่[6] อย่างไรก็ดี ฝนที่ตกในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 25 เมษายน ก็ช่วยบรรเทาความร้อนได้บ้าง[9]

นอกจากความร้อนที่ต้องเผชิญแล้ว ผู้คนหลายพันคนยังต้องหลบหลีกออกมาจากจังหวัดเชียงใหม่เพราะมลพิจากการเผาป่ารายปีในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยและในประเทศเมียนมา[6]

ฟิลิปปินส์[แก้]

ในประเทศฟิลิปปินส์ อุณหภูมิสูงถึง 37 องศาเซลเซียส[10] และเมื่อวันที่ 21 เมษายน ดัชนีความร้อนสูงถึง 48 องศาเซลเซียสในเมืองบูตูอัน ซึ่งสูงสุดในประเทศนี้[11]

ไฟดับที่โรงเรียนมัธยมศึกษาทำให้นักเรียนเกือบ 150 คนได้รับผลกระทบจากลมแดด มีนักเรียน 2 คนต้องได้รับการนำส่งโรงพยาบาลเป็นการด่วน[10] รัฐบาลประกาศให้โรงเรียนใช้ดุลพินิจโยกย้ายไปเรียนออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน[12] จึงมีโรงเรียน 839 แห่งจัดให้เรียนออนไลน์เพื่อป้องกันมิให้นักเรียนล้มป่วยในช่วงอากาศร้อนนี้[13][9]

เมียนมา[แก้]

เมื่อวันที่ 25 เมษายน สถานีวัดอากาศ 4 แห่งในประเทศเมียนมา ซึ่งทำหน้าที่บันทึกอุณหภูมิรายเดือน พบว่า รัฐมอญมีความร้อนสูงสุด โดยสูงถึง 43 องศาเซลเซียส วันถัดมา อากาศในเมืองพะโคสูงถึง 42.2 องศาเซลเซียส[9]

ลาว[แก้]

ในประเทศลาว มีสถิติว่า เมื่อวันที่ 19 เมษายน อุณหภูมิที่แขวงไชยบุรีสูงถึง 42.9 องศาเซลเซียส[2][14]

สิงคโปร์[แก้]

ในประเทศสิงคโปร์ อากาศร้อนสูงสุดถึง 36.7 องศาเซลเซียสในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน[10]

เวียดนาม[แก้]

ในประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนมีนาคม จังหวัดฮหว่าบิ่ญมีสถิติอากาศสูงสุดในรอบ 27 ปี โดยสูงถึง 41.4 องศาเซลเซียส[15]

เอเชียใต้[แก้]

บังกลาเทศ[แก้]

ในประเทศบังกลาเทศ ที่เมืองธากา อุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 15 เมษายน ทำให้ผิวถนนละลาย[1] การใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นยังทำให้ไฟดับในหลายพื้นที่[2][14] และมีรายงานความสูญเสียจากความร้อนครั้งนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ[16] ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อการผลิตข้าวและผลไม้ โดยคาดการณ์ว่า ปริมาณข้าวจะลดลงถึงร้อยละ 40[16]

ปากีสถาน[แก้]

ในประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 23 เมษายน เมือง 9 แห่งมีอุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านั้น[17]

ศรีลังกา[แก้]

เมื่อวันที่ 17 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศศรีลังกาเตือนถึงอุณหภูมิที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจนถึง "ระดับที่ต้องระมัดระวัง"[18] และนับตั้งแต่วันที่ 27 เมษายนเป็นต้นมา อุณหภูมิในประเทศนี้อยู่ที่ 39–40 องศาเซลเซียส[19]

อินเดีย[แก้]

ในประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 18 เมษายนนั้น เมือง 6 แห่งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงเกิน 44 องศาเซลเซียส ส่วนเมืองนิวเดลีมีอุณหภูมิสูงถึง 40.4 องศาเซลเซียส[1]

ความร้อนครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คนเมื่อวันที่ 16 เมษายนในงานมอบรางวัลที่เมืองนวีมุมไบ[20][21] และมีประชาชน 50–60 คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล[21]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Ratcliffe, Rebecca; Ellis-Petersen, Hannah (2023-04-19). "Severe heatwave engulfs Asia causing deaths and forcing schools to close". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Mishra, Stuti (2023-04-20). "One in three people on the planet hit by 'monster Asian heatwave'". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-23.
  3. 3.0 3.1 Ward, Taylor; Regan, Helen (2023-04-19). "Large swathes of Asia are sweltering through record breaking temperatures". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.
  4. Freedman, Andrew (2023-04-18). "Deadly heat wave envelops large swath of Asia, including India and China". Axios (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.
  5. "Weather tracker: heatwave grips parts of Asia and heavy snow hits Scandinavia". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-04-24. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-05-01.
  6. 6.0 6.1 6.2 Hunt, Luke (April 24, 2023). "Smoke and Heat: Breaking Records in Southeast Asia". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-04-28.
  7. 7.0 7.1 Stillman, Dan (April 17, 2023). "Historic Asia heat breaks hundreds of records, with extremes in Thailand and China". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.
  8. Saksornchai, Jintamas (2023-04-22). "Heat wave in Thailand prompts warning to stay indoors". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.
  9. 9.0 9.1 9.2 Ratcliffe, Rebecca (2023-04-27). "'Endless record heat' in Asia as highest April temperatures recorded". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-05-01.
  10. 10.0 10.1 10.2 Dancel, Raul (20 April 2023). "Record heatwave of up to 45 deg C scorches much of Asia, and it's going to get worse". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
  11. Velasco, Raheema (24 April 2023). "Explainer: What is the heat index?". CNN Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-06. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
  12. "Devastating heatwave continues in Southeast Asia". EFE. 24 April 2023. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
  13. "Some schools implement distance learning amid extreme heat". GMA News Online (ภาษาอังกฤษ). 25 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-01.
  14. 14.0 14.1 Hodgson, Camilla (2023-04-22). "Climate graphic of the week: Asia's prolonged April heatwave concerns scientists". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2023-04-25.
  15. "Hòa Bình nóng nhất trong 27 năm" (ภาษาเวียดนาม). 23 March 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.
  16. 16.0 16.1 Sumon, Shehab (2023-04-30). "Record heat threatens health, food security of Bangladeshis". Arab News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-02.
  17. Mishra, Stuti (2023-04-27). "Fears for Asia's summer after recent 'monster' heatwave". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-01.
  18. "Met dept. issues heatwave alerts". The Sunday Times (Sri Lanka) (ภาษาอังกฤษ). 17 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-01.
  19. "Killing the heat wave tactically". Daily Mirror (Sri Lanka) (ภาษาอังกฤษ). 27 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-01.
  20. Banerjee, Shoumojit (2023-04-17). "Maharashtra heat-stroke deaths | As toll rises to 13, Opposition MVA spars with ruling Shinde-Fadnavis government". The Hindu. ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.
  21. 21.0 21.1 Suri, Manveena; Subramaniam, Tara (2023-04-18). "13 people die of heatstroke in India after attending government award ceremony". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-22.