วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาอิตาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทับศัพท์ภาษาอิตาลีในที่นี้เป็นหลักการทั่วไปที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) สำหรับศัพท์บางคำที่มีการอ่านออกเสียงผิดไปจากปรกติ ให้ถือการทับศัพท์ตามการออกเสียงของคำนั้น

หลักทั่วไป[แก้]

1. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอิตาลี ตามปรกติสระที่เรียงกันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จะออกเสียงแยกกันเสมอ เว้นแต่สระที่เรียงกันอยู่นั้นมีสระ i หรือ u ผสมอยู่และไม่ได้ลงเสียงหนักที่ i หรือ u ในกรณีนี้จะออกเสียงเป็นเสียงสระผสม การเทียบเสียงสระภาษาไทยให้เป็นไปตามตารางเทียบเสียงสระภาษาอิตาลี เช่น

bravo = บราโว
mese = เมเซ
libro = ลีโบร
ora = โอรา
uccello = อุชเชลโล
maestro = มาเอสโตร
luogo = ลูโอโก
fiore = ฟีโอเร
laico = ไลโก
dai = ได

2. พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาอิตาลี เช่น

letto = เลตโต

3. ตัวอักษรภาษาอิตาลี ในการเขียนตัวย่อ ใช้ดังนี้

A = อา B = บี C = ชิ
D = ดี E = เอ F = เอฟเฟ
G = จี H = อักกะ I = อี
J [1] = อีลุงกา K [1] = คัปปา L = เอลเล
M = เอมเม N = เอนเน O = โอ
P = ปี Q = คุ R = แอร์เร
S = เอซเซ T = ตี U = อู
V = วู, วี W [1] = วูดอปปียา X [1] = อิกซ์
Y [1] = อิปซีลอน Z = เซตา

4. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ไม้ไต่คู้ เครื่องหมายวรรณยุกต์ ให้ถือตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

ตารางเทียบเสียงสระภาษาอิตาลี[แก้]

สระ ใช้ ตัวอย่าง
A
a (ไม่มีตัวสะกด) อา bravo = บราโว
a (มีตัวสะกด) อะ (—ั) gatto = กัตโต
à อะ dà = ดะ
ai อาอี Caino = กาอีโน
ai (ไม่ลงเสียงหนักที่ i) ไอ laico = ไลโก
au อาอู paura = ปาอูรา
au (ไม่ลงเสียงหนักที่ u) เอา aula = เอาลา
สระ ใช้ ตัวอย่าง
E
e เอ mese = เมเซ
é เอะ perché = แปร์เกะ
è แอะ caffè = กัฟแฟะ
ei เออี deismo = เดอีสโม
ei (ไม่ลงเสียงหนักที่ i) เอย์ dei = เดย์
er (เมื่อ r ไม่ได้เป็น
พยัญชนะต้นของ
พยางค์ถัดไป)
แอร์ ferro = แฟร์โร
สระ ใช้ ตัวอย่าง
I
i (ไม่มีตัวสะกด) อี libro = ลีโบร
i (มีตัวสะกด) อิ Filippo = ฟีลิปโป
ì อิ lunedì = ลูเนดิ
หมายเหตุ

(1) i ที่ตามหลัง g และ c และมีสระอื่นตามหลัง ถ้าไม่ได้ลงเสียงหนักที่ i [2] จะไม่ออกเสียง เนื่องจากเป็นเพียงเครื่องหมายบอกว่า g ออกเสียง จ และ c ออกเสียง ช เช่น

Giuseppe = จูเซปเป
Giotto = จอตโต
Boccaccio = บอกกัชโช

(2) ia, ie, io และ iu ที่ลงเสียงหนักเฉพาะที่ i หรือ u ตัวใดตัวหนึ่ง ให้ออกเสียงแยกกัน เช่น

via = วีอา
mie = มีเอ
mio = มีโอ
fiume = ฟีอูเม

(3) ia, ie, io และ iu ที่มีสระอื่นนำหน้าหรืออยู่ต้นศัพท์ จะไม่ลงเสียงหนักที่ i หรือ u ให้ถอดเป็น ยา เย โย และ ยู ตามลำดับ เช่น

Iacopo = ยาโกโป
paia = ปายา
baie = บาเย
paio = ปาโย
Paiuolo = ปายูโอโล

(4) ia ที่ตามหลังพยัญชนะ และไม่ลงเสียงหนักทั้งที่ i และ a ให้ถอดเป็น เอีย เช่น

Venezia = เวเนเซีย
สระ ใช้ ตัวอย่าง
O
o (ไม่มีตัวสะกด) โอ ora = โอรา
o (มีตัวสะกด) ออ cotto = กอตโต
ò เอาะ però = เปเราะ
oi โออี stoico = สโตอีโก
or (เมื่อ r ไม่ได้เป็น
พยัญชนะต้นของ
พยางค์ถัดไป)
ออร์ Sforza = สฟอร์ซา
สระ ใช้ ตัวอย่าง
U
u (ไม่มีตัวสะกด) อู tu = ตู
u (มีตัวสะกด) อุ uccello = อุชเชลโล
ù อุ virtù = วีร์ตุ
ui อุย suicida = ซุยชีดา

ตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาอิตาลี[แก้]

พยัญชนะ พยัญชนะต้น ตัวสะกดและตัวการันต์
ใช้ ตัวอย่าง ใช้ ตัวอย่าง
b bene = เบเน nebbia = เนบเบีย
c + a casa = กาซา ก, ช (ดูหมายเหตุ)
c + o colore = โกโลเร
c + u cura = กูรา
c + l bicicletta = บีชีเกลตตา
c + r critica = กรีตีกา
c + e cento = เชนโต - -
c + i Cina = ชีนา
ch + e che = เก - -
ch + i chi = กี
หมายเหตุ c เมื่อเป็นตัวสะกด
(1) จะมีเสียงตาม c ที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เช่น
bistecca = บิสเตกกา
frecce = เฟรชเช
(2) จะมีเสียงตาม ch และ qu ที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เช่น
ricchi = ริกกี
acqua = อักกวา
cu + o กว cuore = กวอเร - -
d donna = ดอนนา freddo = เฟรดโด
f facile = ฟาชีเล effetto = เอฟเฟตโต
g + a gamba = กัมบา ก, จ (ดูหมายเหตุ)
g + o gondola = กอนโดลา
g + u gusto = กุสโต
g + r grida = กรีดา
g + e gelato = เจลาโต - -
g + i giro = จีโร
gh + e ghetto = เกตโต - -
gh + i ghiaccio = กีอัชโช
g เมื่อเป็นตัวสะกด
(1) จะมีเสียงตาม g ที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เช่น
aggancio = อักกันโช
agguzzo = อักกุซโซ
soggetto = ซอจเจตโต
raggi = รัจจี
(2) จะมีเสียงตาม gh ที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป เช่น
mugghiare = มุกเกียเร
gl + a กล gladiolo = กลาดีโอโล - -
gl + e gleba = เกลบา
gl + o glossario = กลอสซารีโอ
gl + u glucosio = กลูโกซีโอ
gl + i กล negligente = เนกลีเจนเต - -
ลย figlia = ฟีลยา
gli = ลยี
gl ที่ตามด้วยสระ i ส่วนใหญ่ออกเสียง ลย ยกเว้นบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก เช่น
glicerina = กลีเชรีนา
gn gnomo = โญโม - -
หมายเหตุ gn เมื่อไม่อยู่ต้นคำ ใช้ ญญ เช่น
gnagnera = ญัญเญรา
Ognissanti = ออญญิสซันตี
Impegnoso = อิมเปญโญโซ
gu + a กว guancia = กวันชา - -
gu + e guerra = แกวร์รา
gu + i guida = กวีดา
h (ไม่ออกเสียง) - hanno = อันโน - -
l lampada = ลัมปาดา polso = ปอลโซ
m mano = มาโน campana = กัมปานา
n nipote = นีโปเต bandiera = บันดีเอรา
p posto = ปอสโต cappotto = กัปปอตโต
pn ปน pneumatico = ปเนอูมาตีโก - -
ps ปซ psicologia = ปซีโกโลจีอา - -
qu กว quanto = กวันโต - -
r Roma = โรมา ร์ furbo = ฟูร์โบ
s - - sasso = ซัสโซ
s + สระ sala = ซาลา - -
s + พยัญชนะ spalla = สปัลลา
stampa = สตัมปา
- -
sc + a สก scala = สกาลา - -
sc + o scolaro = สโกลาโร
sc + u scultore = สกุลโตเร
sc + e scelta = เชลตา - -
sc + i sci = ชี
sch + e สก scheda = สเกดา - -
sch + i schifo = สกีโฟ
t tavolo = ตาโวโล letto = เลตโต
v vasto = วัสโต provvidenza = ปรอฟวีเดนซา
z zio = ซีโอ pazzo = ปัซโซ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ไม่ใช่พยัญชนะภาษาอิตาลี แต่อาจปรากฏในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
  2. คำในภาษาอิตาลี ส่วนใหญ่จะลงเสียงหนักที่พยางค์รองสุดท้าย

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]