ทุพภิกขภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การขาดแคลนอาหาร)
จากบนซ้ายถึงล่างขวา หรือบนลงล่าง (ในโทรศัพท์): เด็กที่ตกในสภาวะหิวโหยจากทุพภิกขภัยในอินเดีย (ค.ศ. 1943–44), เนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1944–45), ไนจีเรีย (ค.ศ. 1967–70) และภาพแกะสลักของผู้หญิงและเด็กในช่วงทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ (ค.ศ. 1845–1849)

ทุพภิกขภัย (อังกฤษ: famine) คือสภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้กับสภาวะที่เกิดในสัตว์ชนิดใดก็ได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยสภาวะทุพโภชนาการ, การอดอยาก, โรคระบาด และการเพิ่มจำนวนการเสียชีวิต

องค์ประกอบสำคัญในการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยก็ได้แก่การแจกจ่ายสารอาหารรอง เช่นวิตามินและ แร่ธาตุจากซองอาหารบำบัดที่ประกอบด้วยสารเสริมอาหาร หรือให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรง[1][2] ประเภทการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยแบบหนึ่งการให้เงินหรือให้ตั๋วแก่ผู้ที่อดอยากเพื่อนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหารจากเกษตรกรท้องถิ่น แทนที่จะนำทุนไปซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค กฎหมายมักต้องระบุ เพราะเป็นการเสียเงินค่าขนส่ง[3][4]

การแก้ปัญหาความขาดแคลนระยะยาวก็ทำได้โดยการลงทุนในการเกษตรกรรมแบบใหม่ในภูมิภาคที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว เช่นการใช้ปุ๋ย และสร้างระบบการชลประทานอันวิธีสำคัญที่ใช้ในการกำจัดความหิวโหยในประเทศพัฒนาแล้ว[5] แต่กฎของธนาคารโลกจำกัดการให้ทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยก็ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มเพราะมีผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ ปริมาณน้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลง[6][7]

สาเหตุ[แก้]

นิยามของทุพภิกขภัยบอกได้โดยใช้สามสิ่งเป็นเกณฑ์ มีทั้งที่ใช้อุปทานอาหารเป็นเกณฑ์ ที่ใช้การบริโภาคอาหารเป็นเกณฑ์ และที่ใช้อัตราการตายเป็นเกณฑ์ บางนิยามของทุกภิกขภัยมีดังนี้

  • "ภาวะขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งนำไปสู่อัตราการตายที่เพิ่มสูงขึ้นมากในภูมิภาค"[8]
  • "การที่ปริมาณอาหารลดลงอย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้เกิดความหิวโหยอย่างกว้างขวาง"[9]
  • "การลดลงเฉียบพลันของระดับการบริโภคอาหารในประชากรจำนวนมาก"[10]
  • "อัตราการตายสูงผิดปกติอันเกิดจากภัยคุกคามรุนแรงผิดปกติอันเกิดแก่ปริมาณการบริโภคอาหารในประชากรบางส่วน"[11]
  • "ชุดสภาพซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประชากรจำนวนมากในภูมิภาคไม่สามารถได้รับอาหารเพียงพอ ทำให้เกิดภาวะทุโภชนาการรุนแรงอย่างกว้างขวาง"[12]

การขาดแคลนอาหารในประชากรอาจเกิดขึ้นจากการขาดอาหารหรือความลำบากในการแจกจ่ายอาหาร หรือทุพภิกขภัยอาจทวีความเลวรายลงโดยความผันผวนของสภาพอากาศตามธรรมชาติและโดยสภาพทางการเมืองแบบสุดโต่งที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอันปกครองอย่างกดขี่หรือการสงคราม หนึ่งในทุกภิกขภัยในประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดตามสัดสวน คือ ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ ซึ่งเริ่มใน ค.ศ. 1845 เพราะเกิดโรคระบาดในมันฝรั่งและเกิดขึ้นแม้แต่กับอาหารที่ถูกขนส่งจากไอร์แลนด์ไปยังอังกฤษ มีเพียงชาวอังกฤษเท่านั้นที่มีเงินซื้ออาหารที่ราคาสูงขึ้นได้ นักประวัติศาสตร์ล่าสุดได้ทบทวนการประเมินในหัวข้อที่ว่า ชาวอังกฤษสามารถดำเนินการควบคุมมากได้ในระดับใดในการลดทุพภิกขภัย จนพบว่า พวกเขาได้ช่วยเหลือมากกว่าที่เคยเข้าใจกันมา

คำอธิบายแบบเก่าเกี่ยวกับสาเหตุของทุพภิกขภัยจนถึง ค.ศ. 1981 นั้น เป็นข้อสันนิษฐานความเสื่อมถอยของการมีอาหาร (FAD) สมมติฐานคือว่า สาเหตุหลักอันเป็นศูนย์กลางของการเกิดทุพภิกขภัยทุกครั้งเป็นเพราะมีปริมาณอาหารลดลง[13] อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานนั้นไม่อาจอธิบายได้ว่า เหตุใดจึงมีเพียงประชากรบางส่วนเช่นแรงงานเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากทุพภิกขภัย ขณะที่กลุ่มอื่นกลับไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด[14]

จากการศึกษาในทุพภิกขภัยล่าสุด ทำให้การมีบทบาทสำคัญของ FAD ได้ถูกตั้งคำถามนับแต่นั้น และได้มีการเสนอว่า กลไกสาเหตุของชนวนเหตุการขาดแคลนอาหารนั้นมีตัวแปรหลายตัวนอกเหนือไปจากการเสื่อมถอยของการมีอาหารเท่านั้น ตามมุมมองนี้ ทุพภิกขภัยเป็นผลมาจากการเข้าถึงทรัพยากร (entitlement) มีทฤษฎีได้รับการเสนอโดยใช้ชื่อ "ความล้มเหลวในการแลกเปลี่ยนการเข้าถึงทรัพยากร" หรือ FEE[14] ซึ่งประชากรหนึ่งคนอาจมีสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่นที่ผู้นั้นต้องการได้ในเศรษฐกิจตลาด การแลกเปลี่ยนนี้สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการแลกเปลี่ยน หรือการผลิต หรือทั้งสอง การเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้เรียกว่า การเข้าถึงทรัพยากรอิงการแลกเปลี่ยนหรืออิงการผลิต ตามมุมมองที่ถูกเสนอนี้ ทุพภิกขภัยเกิดขึ้นเนื่องจากความล้มเหลวในความสามารถของบุคคลในการแลกเปลี่ยนการเข้าถึงทรัพยากรของผู้นั้น[14] ตัวอย่างของทุพภิกขภัยตามทฤษฎี FEE คือ ความไร้ความสามารถของแรงงานเกษตรที่จะแลกเปลี่ยนการเข้าถึงทรัยากรพื้นฐาน นั่นคือ การแลกเปลี่ยนแรงงานกับข้าวเมื่อเขาถูกว่าจ้างนั้นกลายเป็นเอาแน่เอานอนไม่ได้หรือถูกขจัดไปอย่างสมบูรณ์[14]

บางปัจจัยทำให้บางภูมิภาคมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดทุพภิกขภัยง่ายกว่าภูมิอาคอื่น ปัจจัยเหล่านี้รวมถึง

  • ความยากจน
  • สาธารณูปโภคพื้นฐานทางกายภาพที่ไม่เหมาะสม
  • สาธารณูปโภคพื้นฐานทางสังคมที่ไม่เหมาะสม
  • ระบอบการเมืองอันกดขี่
  • รัฐบาลที่อ่อนแอหรือขาดการเตรียมรับมือ

ในบางกรณี อาทิ การก้าวกระโดดไปข้างหน้าในจีน (ซึ่งก่อให้เกิดทุพภิกขภัยที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์), เกาหลีเหนือในกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หรือซิมบับเว ทุพภิกขภัยสามารถเกิดขึ้นได้อันเป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลโดยไม่ได้ตั้งใจ มาลาวียุติทุพภิกขภัยในประเทศได้โดยการสงเคราะห์เงินอุดหนุนเกษตรกรโดยขัดต่อการจำกัดของธนาคารโลก[6] ระหว่างทุพภิกขภัยในเอธิโอเปีย ค.ศ. 1973 อาหารถูกขนย้ายจากวอลโลไปยังเมืองหลวง อาดดิสอาบาบา ที่ซึ่งอาหารที่ขายที่นั่นสามารถขายได้ในราคาสูงกว่า ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 พลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการในเอธิโอเปียและซูดานประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ แต่รัฐที่เป็นประชาธิปไตยอย่างบอตสวานาและซิมบับเวกลับไม่ได้รับผลกระทบ แม้ว่าทั้งสี่ประเทศจะประสบมีปริมาณการผลิตผลิตอาหารระดับชาติลดลงอย่างรุนแรงก็ตาม ในโซมาเลีย เกิดทุพภิกขภัยขึ้นเพราะเป็นรัฐที่ล้มเหลว

ทุพภิกขภัยหลายครั้งเกิดจากความไม่สมดุลกันระหว่างปริมาณการผลิตอาหารเปรียบเทียบกับขนาดประชากรของประเทศซึ่งมีประชากรเกินกว่าที่ประเทศนั้นจะสามารถรองรับได้ ในอดีต ทุพภิกขภัยเกิดขึ้นจากปัญหาทางเกษตรกรรม เช่น ภัยแล้ง การเก็บเกี่ยวล้มเหลว หรือโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสภาพอากาศ ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลในยุคกลางในการรับมือกับวิกฤตการณ์ สงครามและโรคติดต่อระบาดทั่ว อย่างเช่น การระบาดของกาฬโรคในทวีปยุโรป เป็นเหตุให้เกิดทุพภิกขภัยนับหลายร้อนครั้งในยุโรปในยุคกลาง รวมทั้ง 95 ครั้งในอังกฤษ และ 75 ครั้งในฝรั่งเศส[15] ในฝรั่งเศส สงครามร้อยปี การเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ผลและโรคระบาดทั่วลดประชากรลงถึงสองในสาม[16]

ทุพภิกขภัยมักเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ การขาดการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งไม่ได้ก่อให้เกิดทุพภิกขภัย เช่น รัฐแอริโซนาและพื้นที่ที่มั่งคั่งอื่น ๆ ได้นำเข้าอาหารส่วนใหญ่เข้ามา เพราะพื้นที่เหล่านี้สามารถผลิตสินค้าทางเศรษฐกิจมากพอจะแลกเปลี่ยนได้

ทุพภิกขภัยยังอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิดก็ได้ การระเบิดของภูเขาไฟแทมโบราใน ค.ศ. 1815 ในอินโดนีเซีย ทำให้การเก็บเกี่ยวไม่ได้ผลละทุพภิกขภัยทั่วโลกและทำให้เกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ดูเพิ่มที่ ปีไร้ฤดูร้อน) มติปัจจุบันของประชาคมวิทยาศาสตร์คือ ละอองลอยและฝุ่นที่ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศข้างบนทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลงโดยการป้องกันพลังงานจากดวงอาทิตย์มิให้ลงมาถึงพื้นดิน กลไกเดียวกันยังถูกใช้อธิบายว่าเกิดขึ้นหลังอุกกาบาตขนาดมโหฬารพุ่งชนโลกและทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต

ความเสี่ยงการเกิดทุพภิกขภัยในอนาคต[แก้]

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนรายงานว่า ใน ค.ศ. 2007 พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 40% ของโลกด้อยคุณภาพลงอย่างรุนแรง[17] หากแนวโน้มการเสื่อมโทรมของดินดำเนินต่อไปในแอฟริกา ก็อาจเป็นไปได้ว่าแอฟริกาจะสามารถผลิตอาหารเลี้ยงประชากรทวีปได้เพียง 25% เมื่อถึง ค.ศ. 2025 ตามข้อมูลของสถาบันทรัพยากรฑรรมชาติในแอฟริกา[18] โดยมหาวิทยาลัยสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ในกานา ถึงปลาย ค.ศ. 2007 ผลผลิตการเกษตรได้ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้น[19] ขณะที่ราคาน้ำมันโลกอยู่ที่เกือบ 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล[20] ได้ผลักดันให้ราคาธัญพืชพืชที่ใช้เลี้ยงสัตว์ปีกและวัวนมและปศุสัตว์อื่นมีราคาสูงขึ้น ทำให้ราคาข้าวสาลี ถั่วเหลืองและข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้นในปีนั้น[21][22] ใน ค.ศ. 2007 เกิดการประท้วงเนื่องจากราคาอาหารแพงในหลายประเทศทั่วโลก[23][24][25] การระบาดของโรคราสนิม ซึ่งเป็นการทำลายต้นข้าวสาลี ได้แพร่ระบาดไปทั่วแอฟริกาและเอเชียในปีนั้น[26][27]

เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ปุ๋ยไนโตรเจน สารกำจัดศัตรูพืชแบบใหม่ การเกษตรทะเลทราย และเทคโนโลยีการเกษตรอื่น ๆ ได้เริ่มต้นนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหาร ซึ่งบางส่วนใช้รับมือกับทุพภิกขภัย ระหว่าง ค.ศ. 1950 และ 1984 เมื่อการปฏิวัติสีเขียวได้มีอิทธิพลต่อการเกษตร ทำให้ปริมาณการผลิตธัญพืชทั่วโลกเพิ่มขึ้น 250% แต่สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนมากเป็นการเพิ่มที่ไม่ยั่งยืน เทคโนโลยีการเกษตรเหล่านี้เพิ่มอัตราผลผลิตธัญพืชมากขึ้นชั่วคราว แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1995 มีสัญญาณว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อาจมีส่วนทำให้พื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกลดลง ประเทศพัฒนาแล้วได้แบ่งปันเทคโนโลยีเหล่านี้กับประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาทุพภิกขภัย แต่มีข้อจำกัดตามหลักจรรยาในการผลักดันให้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในประเทศด้อยพัฒนา

เดวิด ไพเมนเทิล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชานิเวศวิทยาและเกษตรกรรมที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ นักวิจัยอาวุโสที่สถาบันวิจัยอาหารและสารอาหารแห่งชาติ (INRAN) ระบุในการศึกษา "อาหาร ที่ดิน ประชากรและเศรษฐกิจสหรัฐ" ว่า ประชากรสหรัฐอเมริกาสูงสุดที่เหมาะสำหรับเศรษฐกิจแบบยังชีพอยู่ที่ 200 ล้านคน[28] เพื่อที่จะบรรลุเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ สหรัฐอเมริกาจะต้องลดจำนวนประชากรลงอย่างน้อยหนึ่งในสนาม และประชากรโลกจะต้องลดลงสองในสาม[29] ผู้จัดทำการศึกษานี้เชื่อว่า วิกฤตการเกษตรที่กล่าวถึงนี้เพิ่งจะเริ่มมีผลกระทบต่อมนุษย์หลัง ค.ศ. 2020 และจะเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อถึง ค.ศ. 2050 ปริมาณผลิตน้ำมันสูงสุดทั่วโลกที่กำลังจะถึงนี้ เช่นเดียวกับปริมาณการผลิตแก๊สธรรรมชาติอเมริกาเหนือสูงสุดจะมีผลต่อวิกฤตการเกษตรเร็วกว่าที่เคยคาดกันไว้มาก

นักธรณีวิทยา เดล แอลเลน ไฟเฟอร์ อ้างว่า ในทศวรรษที่กำลังจะถึงนี้อาจเห็นราคาอาหารผันแปรโดยปราศจากการบรรเทาและการขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ในระดับโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน[30] การขาดดุลน้ำ ซึ่งได้กระตุ้นการนำเข้าธัญพืชอย่างหนักในหลายประเทศขนาดเล็ก อาจเกิดขึ้นอย่างเดียวกันกับประเทศขนาดใหญ่ขึ้น อย่างเช่น จีนหรืออินเดีย[31] ระดับพื้นผิวของน้ำบาดาลกำลังลดลงในหลายประเทศ รวมทั้งทางเหนือของจีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เนื่องจากการสูบน้ำขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลายโดยใช้เครื่องสูบน้ำดีเซลและไฟฟ้า ประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบรวมไปถึงปากีสถาน อิหร่านและเม็กซิโก ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การขาดแคลนน้ำและการลดปริมาณเก็บเกี่ยวธัญพืช แม้จะมีการสูบน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำขึ้นมาใช้อย่างมาก จีนยังได้ปรากฏว่าขาดดุลธัญพืช ซึ่งส่งผลให้แรงกดดันราคาธัญพืชเพิ่มขึ้น คาดกันว่าประชากรโลกสามพันล้านคนที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อถึงกลางศตวรรษนี้นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดนั้นประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอยู่ก่อนแล้ว

ตามหลังจีนและอินเดีย ยังมีประเทศขนาดเล็กแถวสองที่มีการขาดดุลน้ำอย่างมากเช่นกัน ได้แก่ อัลจีเรีย อียิปต์ อิหร่าน เม็กซิโกและปากีสถาน สี่ประเทศในจำนวนนี้ได้นำเข้าธัญพืชคิดเป็นสัดส่วนมาก มีเพียงปากีสถานเท่านั้นที่ยังพึ่งพาตนเองในขอบเขต แต่ด้วยประชากรที่เพิ่มขึ้นในอัตรา 4 ล้านคนต่อปี อีกไม่นานปากีสถานก็จะต้องหันไปพึ่งธัญพืชจากตลาดโลกเช่นกัน[32][33] ตามรายงานภูมิอากาศของสหประชาชาติ ธารน้ำแข็งหิมาลัยซึ่งเป็นแหล่งน้ำในฤดูแล้งที่สำคัญของแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในเอเชีย แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำแยงซี แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวินและแม่น้ำเหลือง อาจหายไปเมื่อถึง ค.ศ. 2035 เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและความต้องการของมนุษย์เพิ่มขึ้น[34] ในภายหลังได้มีการเปิดเผยว่า แหล่งข้อมูลที่ใช้โดยรายงานภูมิอากาศของสหประชาชาติอ้างตัวเลข ค.ศ. 2350 มิใช่ ค.ศ. 2035[35] มีประชากรอย่างน้อย 2.4 พันล้านคนอาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มระบายน้ำของแม่น้ำที่มีต้นน้ำอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย[36] อินเดีย จีน ปากีสถาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ เนปาล และพม่าอาจประสบอุทกภัยที่เกิดหลังภัยแล้งอย่างรุนแรงในทศวรรษที่จะถึงนี้[37] เฉพาะในอินเดียประเทศเดียว แม่น้ำคงคาเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและเกษตรกรรมแก่ประชากรมากกว่า 500 ล้านคนแล้ว[38][39]

ลักษณะ[แก้]

ทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นในประเทศซับซะฮารามีความร้ายแรงที่สุด แต่ด้วยการหมดไปของทรัพยากรอาหาร การสูบน้ำบาดาลมาใช้เกินขนาด สงคราม ความขัดแย้งภายในและความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ ทำให้ทุพภิกขภัยยังคงเป็นปัญหาระดับโลกที่มีผู้ประสบภัยหลายร้อยล้านคน[40] ทุพภิกขภัยเหล่านี้ทำให้เกิดทุพโภชนาการและความยากจนอย่างกว้างขวาง ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปียในคริสต์ทศรรรษ 1980 มียอดผู้เสียชีวิตจำนวนมาก แม้ว่าทุพภิกขภัยในเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 จะมีผู้เสียชีวิตอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกัน ทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นในแอฟริกาสมัยใหม่มีลักษณะของความอดอยากและทุพโภชนาการเป็นบริเวณกว้าง โดยมีอัตราการตายสูงจำกัดเฉพาะในเด็กเล็ก

เทคโนโลยีบรรเทาทุกข์ รวมไปถึงการก่อภูมิคุ้มกัน การพัฒนาสาธารณูโภคสาธารณสุข การปันส่วนอาหารทั่วไปและการให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแก่เด็กที่อ่อนแอ เป็นการลดอัตราการเสียชีวิตอันเป็นผลกระทบมาจากทุพภิกขภัยได้ชั่วคราว ขณะที่ทำให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่มีความเปลี่ยนแปลง และไม่ได้แก้ปัญหาสำคัญที่มีประชากรขนาดใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขีดความสามารถการผลิตอาหารในภูมิภาค วิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมยังอาจเกิดขึ้นจากพันธุฆาต สงครามกลางเมือง การอพยพของผู้ลี้ภัย และเหตุการณ์ความรุนแรงและการล่มสลายของรัฐ นำมาซึ่งทุพภิกขภัยในบรรดาประชากรที่ได้รับผลกระทบ

ทุพภิกขภัยยังคงเป็นภัยคุกคามเรื้อรังในแอฟริกาและเอเชียส่วนมาก ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 เครือข่ายระบบเตือนภัยทุพภิกขภัยล่วงหน้าระบุว่า ไนเจอร์มีสถานะฉุกเฉิน เช่นเดียวกับชาด เอธิโอเปีย เซาท์ซูดาน โซมาเลียและซิมบับเว ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติเตือนว่า ประชาชน 11 ล้านคนในโซมาเลีย เคนยา จิบูตี และเอธิโอเปียอยู่ในความเสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหาร ด้วยเหตุจากภัยแล้งและความขัดแย้งทางทหารที่รุนแรงประกอบกัน[41] ใน ค.ศ. 2006 วิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมที่ร้ายแรงที่สุดในแอฟริกาเกิดขึ้นในแคว้นดาร์ฟูร์ของซูดาน

บางคนเชื่อว่าการปฏิวัติสีเขียวเป็นคำตอบสำหรับทุพภิกขภัยในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 การปฏิวัติสีเขียวเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยสายพันธุ์ลูกผสมของพืชผลที่ให้ผลผลิตสูง ระหว่าง ค.ศ. 1950 และ 1984 เมื่อการปฏิวัติสีเขียวได้เปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมทั่วโลก ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 250%[42] บางคนวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า พืชให้ผลผลิตสูงนี้ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น ซึ่งอาจทำลายสิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นทางเลือกสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบทุพภิกขภัย พืชให้ผลผลิตสูงนี้ทำให้เป็นไปได้ที่จะเลี้ยงคนได้เพิ่มขึ้น แต่มีตัวบ่งชี้หลายตัวที่ชี้ว่าผลผลิตอาหารภูมิภาคได้ถึงจุดสูงสุดแล้วในหลายส่วนของโลก เพราะยุทธศาสตร์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมแบบประณีต อย่างเช่น การสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เกินและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีการเกษตรอื่น ๆ มากเกิน

หมายเหตุว่า ทุพภิกขภัยสมัยใหม่บางครั้งเกิดขึ้นจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด การออกแบบทางการเมืองเพื่อเพิ่มความยากจนหรือลดความสำคัญของประชากรบางกลุ่มโดยเฉพาะ หรือสงคราม นักเศรษฐศาสตร์การเมืองได้หาข้อเท็จจริงในสภาพการเมืองที่มีการป้องกันทุพภิกขภัย

ผลกระทบ[แก้]

ชาย หญิงและเด็ก ซึ่งทั้งหมดเสียชีวิตจากการขาดแคลนอาหาร รัสเซีย ค.ศ. 1921

ผลกระทบด้านลักษณะประชากรของทุพภิกขภัยนั้นรุนแรงมาก การเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ข้อเท็จจริงทางลักษณะประชากรที่สอดคล้องกัน คือ ในทุพภิกขภัยทุกครั้งที่มีการบันทึก อัตราการเสียชีวิตของชายจะสูงกว่าของหญิง เหตุผลสำหรับข้อเท็จจริงดังกล่าวอาจรวมถึงความเข้มแข็งของหญิงที่มากกว่าภายใต้ความกดดันของทุพโภชนาการ และอาจเป็นธรรมชาติของหญิงที่มีไขมันร่างกายคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงกว่าชาย ทุพภิกขภัยยังทำให้อัตราการเกิดลดต่ำลงด้วย ดังนั้น ทุพภิกขภัยจึงเหลือไว้แต่ประชากรวัยเจริญพันธุ์ หรือก็คือ หญิงผู้ใหญ่ ได้รับผลกระทบน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น และช่วงหลังทุพภิกขภัยมักมีลักษณะอัตราการเกิดเพิ่มกลับขึ้นมาอีก ทุพภิกขภัยรุนแรงส่วนมากน้อยครั้งที่ลดอัตราการเกิดของประชากรเกินกว่าไม่กี่ปี อัตราการเสียชีวิตที่สูงถูกชดเชยด้วยประชากรที่เพิ่มขึ้นในเวลาไม่กี่ปี หากแต่ผลกระทบด้านลักษณะประชากรระยะยาวที่ใหญ่กว่า คือ การอพยพ อาทิ ไอร์แลนด์มีประชากรลดลงอย่างสำคัญหลังทุพภิกขภัยในคริสต์ทศวรรษ 1840 เพราะมีการอพยพออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

ระดับความไม่มั่นคงทางอาหาร[แก้]

ในสมัยใหม่ รัฐบาลท้องถิ่นและการเมือง ตลอดจนองค์การพัฒนาเอกชน (NGO) ซึ่งให้ความช่วยเหลือทุพภิกขภัยมีทรัพยากรจำกัดที่จะส่งไปให้แก่สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารหลายแห่งที่เกิดขึ้นพร้อมกัน วิธีทั้งหลายในการจัดประเภทการเปลี่ยนแปลงความมั่นคงทางอาหารจึงได้ถูกใช้เพื่อจัดสรรความช่วยเหลือด้านอาหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หนึ่งในความพยายามแรกสุดคือ รหัสทุพภิกขภัยอินเดีย ที่คิดค้นขึ้นโดยอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1880 รหัสแบ่งระดับความไม่มั่นคงทางอาหารออกเป็นสามระดับ ได้แก่ ใกล้ขาดแคลน, ขาดแคลนและทุพภิกขภัย และมีอิทธิพลอย่างสูงในการสร้างระบบเตือนภัยหรือวัดทุพภิกขภัยในเวลาต่อมา ระบบเตือนภัยล่วงหน้าถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจับตาภูมิภาคที่ชาวเทอร์คานา (Turkana) อยู่อาศัยทางเหนือของเคนยามีสามระดับเช่นกัน แต่เชื่อมโยงแต่ละระดับเข้ากับการตอบสนองก่อนวางแผนเพื่อบรรเทาวิกฤตการณ์และป้องกันมิให้เลวร้ายลง

ประสบการณ์ขององค์กรบรรเทาทุพภิกขภัยทั่วโลกในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ทำให้มีการพัฒนาสำคัญอย่างน้อยสองประการ คือ "แนวทางการดำรงชีพ" (livelihoods approach) และการเพิ่มตัวบ่งชี้ด้านโภชนาการเพื่อพิจารณาความรุนแรงของวิกฤตการณ์ ปัจเจกและกลุ่มในสถานการณ์ตึงเครียดด้านอาหารรจพยายามรับมือปัญหาโดยการปันส่วนการบริโภค หาทางเลือกเพื่อเพิ่มรายได้เสริม เป็นต้น ก่อนจะดำเนินมาตรการสิ้นหวัง เช่น ขายพื้นที่ทำการเกษตร และเมื่อหนทางพึ่งพาตนเองทั้งหลายหมดไปแล้ว ประชากรที่ได้รับผลกระทบจะเริ่มต้นอพยพเพื่อมองหาอาหารหรือไม่ก็ตกเป็นเหยื่อของการขาดแคลนอาหารหมู่ทันที ทุพภิกขภัยอาจถูกมองบางส่วนว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับตลาด ราคาอาหารและโครงสร้างสนับสนุนสังคม บทเรียนที่สองที่ถูกร่างขึ้นคือ การเพิ่มการประเมินโภชนาการอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็ก เพื่อให้วัดความรุนแรงของทุพภิกขภัยในเชิงปริมาณ

นับตั้งแต่ ค.ศ. 2004 องค์กรบรรเทาทุพภิกขภัยที่สำคัญที่สุดจำนวนมาก อย่างเช่น โครงการอาหารโลกและองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้มาตรวัดห้าระดับซึ่งวัดความรุนแรงและขนาด ระดับความรุนแรงใช้ทั้งแนวทางการดำรงชีพ และการวัดอัตราการเสียชีวิตและทุพโภชนาการเด็กเพื่อแบ่งประเภทสถานการณ์เป็น มั่นคงทางอาหาร, ไม่มั่นคงทางอาหาร, วิกฤตการณ์อาหาร, ทุพภิกขภัย, ทุพภิกขภัยรุนแรง และทุพภิกขภัยยิ่งยวด จำนวนผู้เสียชีวิตกำหนดการเรียกขานขนาด โดยที่มีผู้เสียชีวิตต่ำกว่า 1,000 คน เรียกว่า "ทุพภิกขภัยเล็กน้อย" และ "ทุพภิกขภัยขั้นหายนะ" มีผู้เสียชีวิตเกินกว่า 1,000,000 คน

การปฏิบัติตนจากทุพภิกขภัย[แก้]

การป้องกันการเกิดทุพภิกขภัย[แก้]

ความพยายามจะนำเทคนิคเกษตรกรรมสมัยใหม่มาใช้พบในโลกตะวันตก อย่างเช่น ปุ๋ยไนโตรเจนและสารกำจัดศัตรูพืช ไปจนถึงเอเชีย เรียกว่า การปฏิวัติสีเขียว ทำให้ลดภาวะทุพโภชนาการลงค้ลายกับที่พบก่อนหน้านี้ในชาติตะวันตก ซึ่งเป็นไปได้เพราะสาธารูปโภคและสถาบันที่มีอยู่แล้วขาดแคลนในแอฟริกา อย่างเช่น เครือข่ายถนนและบริษัทเมล็ดพันธุ์มหาชน ที่สามารถจัดหาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกได้[43] การสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ไม่มีความมั่นคงด้านอาหาร ผ่านมาตรการเช่น การให้ปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ฟรีหรือสงเคราะห์ ช่วยเพิ่มผลผลิตอาหารและลดราคาอาหาร[6][44]

ธนาคารโลกและประเทศร่ำรวยบางประเทศกดดันชาติที่พึ่งพาความช่วยเหลือจากพวกตนให้ตัดทอนหรือกำจัดปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ได้รับการอนุเคราะห์ อย่างเช่น ปุ๋ย เพื่อการเพิ่มบทบาทของเอกชน แม้สหรัฐอเมริกาและยุโรปจะให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรของตนอย่างกว้างขวางก็ตาม[6][45] ชาวนาจำนวนมากยากจนเกินกว่าจะซื้อปุ๋ยตามราคาตลาดได้[6] ตัวอย่างเช่น ในกรณีของมาลาวี ประชากรเกือบห้าล้านคนจากทั้งหมด 13 ล้านคนเคยต้องการความช่วยเหลือด้านอาหารอย่างฉุกเฉิน อย่าไงรก็ตาม หลังรัฐบาลเปลี่ยนนโยบายและริเริ่มการจัดหาปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์แก่เกษตรกร เกษตรกรก็สามารถทำผลผลิตข้าวโพดทำลายสถิติใน ค.ศ. 2006 และ 2007 โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านตันใน ค.ศ. 2007 จาก 1.2 ล้านตันใน ค.ศ. 2005[6] นี่ลดราคาอาหารและเพิ่มค่าจ้างของผู้ทำงานในไร่นา[6] มาลาวีกลายมาเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ และขายข้าวโพดให้แก่โครงการอาหารโลกและสหประชาชาติมากกว่าประเทศอื่นใดในแอฟริกาใต้[6] ผู้เสนอความช่วยเหลือแก่เกษตรกรรวมไปถึงเจฟฟรี แซ็คส์ ผู้เป็นตัวแทนของแนวคิดที่ว่า ประเทศร่ำรวยควรลงทุนซื้อปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรแอฟริกา[6]

การบรรเทาทุพภิกขภัย[แก้]

ภาวะขาดสารอาหารรองสามารถแก้ไขได้โดยการให้สารเสริมอาหาร[46] สารเสริมอาหาร อย่างเช่น เนยถั่วและสไปรูไลนา ได้ปฏิวัติการให้อาหารฉุกเฉินในวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรม เพราะมันสามารถรับประทานได้ทันทีจากห่อบรรจุ และไม่จำเป็นต้องใช้ตู้เย็นหรือผสมกับน้ำสะอาดที่มีน้อยอยู่แล้ว สามารถเก็บได้หลายปี และที่สำคัญคือ ร่างกายของเด็กที่ป่วยหนักยังสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้[1] การประชุมอาหารโลกของสหประชาชาติ ค.ศ. 1974 ประกาศว่าสไปรูไลนาเป็น "อาหารที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต" และความพร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวได้ทุก 24 ชั่วโมง ทำให้มันเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำจัดทุพโภชนาการ นอกจากนั้น ยังมีการให้อาหารเสริม อย่างเช่น แคปซูลวิตามินเอหรือเม็ดสังกะสีในการรักษาอาการท้องร่วง[2]

กลุ่มช่วยเหลือตระหนักมากขึ้นว่าการให้เงินสดหรือคูปองเงินสดแทนที่จะเป็นอาหารนั้นถูกกว่า รวดเร็วกว่าและเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพกว่าในการส่งความช่วยเหลือแก่ผู้หิวโหย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีอาหารแต่ราคาแพง[3] โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ ผู้แจกจ่ายอาหารที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐที่ใหญ่ที่สุด ประกาศว่าจะเริ่มแจกจ่ายเงินสดและคูปองแทนที่อาหารในบางพื้นที่ ซึ่งประธานกรรมการบริหารของโครงการอธิบายว่าเป็น "การปฏิวัติ" ในการช่วยเหลือด้านอาหาร[3][4] องค์การช่วยเหลือ คอนเซิร์นเวิลด์ไวด์ กำลังนำร่องวิธีการดังกล่าวผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซาฟารีคอม ซึ่งดำเนินการโครงการขนย้ายเงินซึ่งทำให้เงินถูกส่งจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งภายในประเทศได้[3]

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประสบภัยแล้งที่อยู่ห่างไกลและเดินทางไปยังตลาดได้ลำบาก การจัดส่งอาหารยังคงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยเหลือ[3] เฟรด คูนี กล่าวว่า "โอกาสช่วยชีวิตในระยะเริ่มต้นของปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ลดลงอย่างมากเมื่ออาหารถูกนำเข้ามาแล้ว และเมื่อมันมาถึงประเทศและถึงมือประชาชน ป่านนั้นคนจำนวนมากก็ตายไปแล้ว"[47] กฎหมายสหรัฐ ซึ่งกำหนดให้ต้องซื้ออาหารในประเทศแทนที่จะเป็นที่ซึ่งผู้หิวโหยอาศัยอยู่ ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะค่าใช้จ่ายเกือบครึ่งเป็นค่าขนส่งอาหารเหล่านี้[48] เขายังชี้ต่อไปว่า "การศึกษาทุพภิกขภัยครั้งหลังทุกครั้งได้แสดงให้เห็นว่า ในประเทศที่เกิดยังมีอาหารอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช่ทุกครั้งที่มีการขาดแคลนอาหาร" และ "ถึงแม้ว่ามาตรฐานราคาท้องถิ่นจะสูงเกินกว่าที่คนยากจนจะซื้อได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว การซื้ออาหารกักตุนที่ราคาเงินเฟ้อจะถูกกว่าสำหรับผู้ให้บริจาคกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ"[49]

เอธิโอเปียนำร่องโครงการซึ่งปัจจุบันเป็นตำรับแนะนำของธนาคารโลกเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์อาหารและถูกมองโดยองค์กรช่วยเหลืออื่น ๆ ว่าเป็นแม่แบบสำหรับวิธีการช่วยเหลือประเทศที่หิวโหยที่ดีที่สุด ผ่านโครงการสนับสนุนอาหารหลักของประเทศ โครงการเครือข่ายความปลอดภัยผลิตภาพ เอธิโอเปียได้ให้โอกาสแก่ผู้อยู่อาศัยในชนบท ผู้ขาดแคลนอาหารเรื้อรัง ในการทำงานแลกกับอาหารหรือเงินสด องค์กรช่วยเหลือต่างประเทศ อย่างโครงการอาหารโลก จากนั้นสามารถซื้ออาหารจากท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีอาหารสมบูรณ์แจกจ่ายไปยังพื้นที่ขาดแคลนอาหาร[50]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Firms target nutrition for the poor
  2. 2.0 2.1 http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1914655[ลิงก์เสีย], 00.html Can one pill tame the illness no one wants to talk about?
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 UN aid debate: give cash not food?
  4. 4.0 4.1 "Cash roll-out to help hunger hot spots". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-05-21.
  5. Obama enlists major powers to aid poor farmers with $15 billion
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 Ending Famine, Simply by Ignoring the Experts
  7. http://www.theatlantic.com/issues/97jan/borlaug/borlaug.htm Forgotten benefactor of humanity
  8. Blix & Svensk näringsforskning 1971.
  9. Brown & Eckholm 1974.
  10. Scrimshaw 1987.
  11. Ravallion 1996, p. 2.
  12. Cuny 1999.
  13. Encyclopaedia Britannica 2010.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Chaudhari 1984, p. 135.
  15. "Poor studies will always be with us" เก็บถาวร 2007-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Telegraph
  16. Don O'Reilly, "Hundred Years' War: Joan of Arc and the Siege of Orléans เก็บถาวร 2006-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", TheHistoryNet.com
  17. "Global food crisis looms as climate change and population growth strip fertile land", The Guardian', 31 Aug 2007
  18. "Africa may be able to feed only 25% of its population by 2025", News, Mongabay
  19. ""2008: The year of global food crisis"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-08-07.
  20. "The global grain bubble" เก็บถาวร 2009-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Christian Science Monitor
  21. The cost of food: Facts and figures
  22. New York Times (2007 September) At Tyson and Kraft, Grain Costs Limit Profit
  23. Riots and hunger feared as demand for grain sends food costs soaring
  24. Already we have riots, hoarding, panic: the sign of things to come?
  25. Feed the world? We are fighting a losing battle, UN admits
  26. Millions face famine as crop disease rages
  27. "Billions at risk from wheat super-blight". New Scientist Magazine (2598): 6–7. 2007-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-09. สืบค้นเมื่อ 2007-04-19.
  28. "Eating Fossil Fuels | EnergyBulletin.net". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-11. สืบค้นเมื่อ 2011-08-07.
  29. Peak Oil: the threat to our food security
  30. Agriculture Meets Peak Oil
  31. "Asia Times Online :: South Asia news - India grows a grain crisis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-21. สืบค้นเมื่อ 2011-08-07.
  32. The Food Bubble Economy
  33. "Global Water Shortages May Lead to Food Shortages-Aquifer Depletion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-04. สืบค้นเมื่อ 2011-08-07.
  34. Vanishing Himalayan Glaciers Threaten a Billion
  35. "Himalayan glaciers melting deadline 'a mistake'". BBC. December 5, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-12-12.
  36. "Big melt threatens millions, says UN". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-08-07.
  37. Glaciers melting at alarming speed
  38. Ganges, Indus may not survive: climatologists
  39. Himalaya glaciers melt unnoticed
  40. Rising food prices curb aid to global poor
  41. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-24. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  42. The limits of a Green Revolution?
  43. http://www.nytimes.com/2007/10/10/world/africa/10rice.html?_r=1&hp&oref=slogin In Africa, prosperity from seeds falls short
  44. How a Kenyan village tripled its corn harvest
  45. Zambia: fertile but hungry
  46. The Hidden Hinger
  47. Andrew S. Natsios (Administrator U.S. Agency for International Development)
  48. Let them eat micronutrients
  49. memorandum to former Representative Steve Solarz (United States, Democratic Party, New York) - July 1994
  50. A model of African food aid is now in trouble

ข้อมูลและอ่านเพิ่ม[แก้]

  • Arnold, David. Famine: social crisis and historical change (Basil Blackwell, 1988).
  • Ashton, Basil, et al. "Famine in China, 1958–61." in The population of modern China (Springer, Boston, MA, 1992) pp. 225–271.
  • Asimov, Isaac, Asimov's New Guide to Science, pp. 152–53, Basic Books, Inc. : 1984.
  • Bhatia, B.M. (1985) Famines in India: A study in Some Aspects of the Economic History of India with Special Reference to Food Problem (Delhi: Konark Publishers).
  • Campbell, David. "The iconography of famine." in Picturing atrocity: Photography in crisis (2012): 79-92 online[ลิงก์เสีย].
  • Chaudhari, B. B (1984). Desai, Meghnad; Rudolph, Susanne Hoeber; Rudra, Ashok (บ.ก.). Agrarian power and agricultural productivity in South Asia. Vol. 1. University of California Press. ISBN 978-0-520-05369-4. สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
  • Conquest, Robert. The harvest of sorrow: Soviet collectivization and the terror-famine (Oxford UP, 1986).
  • Davis, Mike, Late Victorian Holocausts: El Niño Famines and the Making of the Third World, London, Verso, 2002
  • Devereux, Stephen. Theories of famine (Harvester Wheatsheaf, 1993).(Excerpt online.)
  • De Waal, Alexander. Famine crimes: politics & the disaster relief industry in Africa (Indiana UP, 1997).
  • De Waal, Alexander. Famine that kills: Darfur, Sudan (2nd ed. 2005) online
  • Dikötter, Frank. Mao's Great Famine: the history of China's most devastating catastrophe, 1958-62 (2011) online
  • Dutt, Romesh C. Open Letters to Lord Curzon on Famines and Land Assessments in India, first published 1900, 2005 edition by Adamant Media Corporation, Elibron Classics Series, ISBN 1-4021-5115-2.
  • Dutt, Romesh C. The Economic History of India under early British Rule, first published 1902, 2001 edition by Routledge, ISBN 0-415-24493-5
  • Edgerton-Tarpley, Kathryn, and Cormac O'gr. Tears from iron: cultural responses to famine in nineteenth-century China (U of California Press, 2008).
  • Fegan, Melissa. Literature and the Irish Famine 1845-1919 (Clarendon Press, 2002).
  • Encyclopædia Britannica (2010). "Food-availability decline". สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
  • Ganson, Nicholas, The Soviet Famine of 1946–47 in Global and Historical Perspective. New York: Palgrave Macmillan, 2009. (ISBN 0-230-61333-0)
  • Genady Golubev and Nikolai Dronin, Geography of Droughts and Food Problems in Russia (1900–2000), Report of the International Project on Global Environmental Change and Its Threat to Food and Water Security in Russia (February 2004).
  • Gráda, Cormac Ó. Famine: a short history (Princeton UP, 2009).
  • Greenough, Paul R., Prosperity and Misery in Modern Bengal. The Famine of 1943–1944 (Oxford UP, 1982).
  • Haggard, Stephan, and Marcus Noland. Famine in North Korea: markets, aid, and reform (Columbia UP, 2007).
  • Harrison, G. Ainsworth.,Famine, Oxford University Press, 1988.
  • Iliffe, John. "Famine in Zimbabwe, 1890-1960." (1987) online.
  • Jordan, William Chester. The great famine: Northern Europe in the early fourteenth century. (Princeton UP, 1997).
  • Keen, David. The benefits of famine: a political economy of famine and relief in Southwestern Sudan 1983-89 (James Currey, 2008).
  • LeBlanc, Steven, Constant battles: the myth of the peaceful, noble savage, St. Martin's Press (2003) argues that recurring famines have been the major cause of warfare since paleolithic times. ISBN 0-312-31089-7
  • Lassa, Jonatan (3 July 2006). "Famine, drought, malnutrition: Defining and fighting hunger". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2009.
  • Li, Lillian M. Fighting Famine in North China: State, Market, and Environmental Decline, 1690s–1990s (Stanford UP), 2007 ISBN 978-0-8047-5304-3.
  • Lucas, Henry S. "The great European famine of 1315, 1316, and 1317." Speculum 5.4 (1930): 343–377.
  • Mallory, Walter H. China: Land of famine (1926) online.
  • Marcus, David. "Famine crimes in international law." American Journal of International Law (2003): 245–281. online เก็บถาวร 2021-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Massing, Michael (2003). "Does Democracy Avert Famine?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 September 2010.
  • Mead, Margaret. "The Changing Significance of Food." American Scientist. (March–April 1970). pp. 176–89.
  • Meng, Xin, Nancy Qian, and Pierre Yared. "The institutional causes of China's great famine, 1959–1961." Review of Economic Studies 82.4 (2015): 1568–1611. online
  • Ray, James Arthur; Sivertsen, Linda (2008). Harmonic Wealth: The Secret of Attracting the Life You Want. Hyperion. ISBN 978-1-4013-2264-9.
  • Mishra, Vimal; และคณะ (2019). "Drought and Famine in India, 1870–2016". Geophysical Research Letters. 46 (4): 2075–2083. Bibcode:2019GeoRL..46.2075M. doi:10.1029/2018GL081477.
  • Moon, William. "Origins of the Great North Korean Famine". North Korean Review
  • Padmanabhan, S. Y. "The great Bengal famine." Annual Review of Phytopathology 11.1 (1973): 11-24 online.
  • Roseboom, Tessa, Susanne de Rooij, and Rebecca Painter. "The Dutch famine and its long-term consequences for adult health." Early human development 82.8 (2006): 485–491. online
  • Sen, Amartya, Poverty and Famines : An Essay on Entitlements and Deprivation, Oxford, Clarendon Press, 1982 via Oxford Press
  • Shipton, Parker (1990). "African Famines and Food Security: Anthropological Perspectives". Annual Review of Anthropology. 19: 353–94. doi:10.1146/annurev.an.19.100190.002033.
  • Smil, Vaclav. "China's great famine: 40 years later." BMJ 319.7225 (1999): 1619–1621. online
  • Sommerville, Keith. Why famine stalks Africa, BBC, 2001
  • Srivastava, H.C., The History of Indian Famines from 1858–1918, Sri Ram Mehra and Co., Agra, 1968.
  • Vaughan, Megan. The story of an African famine: gender and famine in twentieth-century Malawi (Cambridge UP, 1987).
  • Webb, Patrick. Famine. In Griffiths, M (ed.). Encyclopaedia of International Relations and Global Politics. London: Routledge, 2005, pp. 270–72.
  • Wemheuer, Felix. Famine Politics in Maoist China and the Soviet Union (Yale UP, 2014).
  • Woo-Cumings, Meredith, "The Political Ecology of Famine: The North Korean Catastrophe and Its Lessons" (PDF). 2015-01-22. (807 KB), ADB Institute Research Paper 31, January 2002.
  • Zhou, Xun, ed. The great famine in China, 1958-1962: A documentary history (Yale UP, 2012).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]