กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ
กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ | |
---|---|
กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ | |
ประเทศ | ไทย |
บทบาท | คุ้มครองเส้นทางการเดินเรือทางทะเล[1][2] ถ่วงดุลอำนาจการรบ[1] ต่อสู้กับเรือผิวน้ำ[1][3] ต่อสู้กับเรือดำน้ำ[1][3] วางทุ่นระเบิด[1][3] ส่งมนุษย์กบขึ้นฝั่ง[1][3] ส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ[3][4] หาข่าว[3][4] ปฏิบัติการยกพลขึ้นบก[3] การต่อต้านการก่อการร้าย[3] |
กองบัญชาการ | กองบัญชาการ กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[5][6] |
คำขวัญ | อำนาจใต้สมุทร พลังยุทธ์ที่วางใจได้[7] |
สัญลักษณ์นำโชค | โลมาโบราณ 2 ตัว |
ปฏิบัติการสำคัญ | กรณีพิพาทอินโดจีน[5] • ยุทธนาวีเกาะช้าง[1] |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พลเรือตรี บริบูรณ์ เอมทิพย์[8] |
ผบ. สำคัญ | พลเรือตรี ภาณุ บุณยะวิโรจ[9] พลเรือตรี พงศกร กุวานนท์[10][11] พลเรือตรี วิศาล ปัณฑวังกูร[1][2][3] |
กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ (อังกฤษ: Submarine Squadron, Royal Thai Fleet) เป็นกองประจำการเรือดำน้ำแห่งกองทัพเรือไทย[11] ซึ่งมีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[1][10] และมีผู้บัญชาการคนปัจจุบันคือพลเรือตรี บริบูรณ์ เอมทิพย์[12] รองผู้บัญชาการได้แก่ นาวาเอก ทรงฤทธิ์ โพธิ์จินดา[13]
ประวัติ
[แก้]กองทัพเรือไทยได้มีเรือดำน้ำใช้ในราชการเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งที่กำลังพลเรือหลวงมัจฉาณุและเรือหลวงวิรุณเข้าประจำเรือที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480[1][10]
ซึ่งต่อมา เรือดำน้ำชุดเรือหลวงมัจฉาณุ 4 ลำ (ได้แก่ เรือหลวงมัจฉาณุ, เรือหลวงวิรุณ, เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล) ได้เดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 มาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 โดยปราศจากเรือพี่เลี้ยง[5]
เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้สร้างวีรกรรมในการรักษาอธิปไตย จากการถูกรุกรานโดยประเทศฝรั่งเศสในกรณีพิพาทอินโดจีน อันก่อให้เกิดยุทธนาวีเกาะช้างเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484[1][10]
โดยหลังจากมีการปะทะกัน ทางฝ่ายฝรั่งเศสไม่สามารถบรรลุภารกิจและรีบเดินทางกลับ เนื่องด้วยเกรงว่าเรือดำน้ำของไทยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งเรือดำน้ำของไทยได้ติดตามไปจนถึงฐานทัพเรือเรียม กระทั่งเรือรบของฝรั่งเศสไม่ออกมาปฏิบัติการอีกเลย[1][10]
กองทัพเรือไทยจึงเล็งเห็นความสำคัญของเรือดำน้ำมาโดยตลอด ซึ่งมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการจัดหาเรือดำน้ำมาประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528[1][5] โดยได้รับข้อเสนอที่น่าสนใจจากเยอรมนี, สวีเดน, ฝรั่งเศส และรัสเซีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องด้วยติดปัญหาด้านงบประมาณและปัญหาทางการเมือง[7]
ส่วนในปี พ.ศ. 2556 ทางกองทัพเรือไทยได้ส่งกำลังพลเข้ารับการฝึกอบรมด้านเรือดำน้ำที่ประเทศเยอรมนีในหลักสูตร 32 สัปดาห์ และที่ประเทศเกาหลีใต้ในหลักสูตร 8 สัปดาห์[9][11] รวมถึงมีการก่อสร้างอาคารกองเรือดำน้ำ และศูนย์การฝึกยุทธการเรือดำน้ำ ตลอดจนเครื่องจำลองการฝึกเรือดำน้ำที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี กระทั่งแล้วเสร็จและเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2557[7]
ต่อมา คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติให้กองทัพเรือได้จัดซื้อเอส26ที เรือดำน้ำชั้นหยวน จากประเทศจีน เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560 เพื่อคุ้มครองเส้นทางการเดินเรือทางทะเล และถ่วงดุลอำนาจการรบ[1]
ซึ่งทางรัฐบาลไทยมีแผนการซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน 3 ลำ แต่เนื่องด้วยมีการต่อต้านภายในประเทศ จึงได้ทยอยจัดหาทีละลำจากงบประมาณที่กองทัพเรือได้รับในแต่ละปี โดยไม่เบียดบังงบส่วนราชการอื่น[2][3][11] อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงครั้งนี้ถือเป็นการสั่งซื้อโดยกระทรวงกลาโหมที่มีมูลค่ามหาศาลที่สุดเท่าที่เคยมีมาของประเทศไทย[14]
และในปี พ.ศ. 2561 ทางกองทัพเรือไทยได้เปิดตัวโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก สำหรับส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และหาข่าว โดยมีหลายหน่วยงานดำเนินภารกิจร่วมกัน ทั้งกองเรือดำน้ำ, กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกองการฝึก กองเรือยุทธการ[4]
ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ
[แก้]- 1 เมษายน พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555: พลเรือตรี สุริยะ พรสุริยะ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556: พลเรือตรี วิเลิศ สมาบัติ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558: พลเรือตรี ภาณุ บุณยะวิโรจ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559: พลเรือตรี พงศกร กุวานนท์
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561: พลเรือตรี วิศาล ปัณฑวังกูร
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562: พลเรือตรี วันชัย ทรงเมตตา
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563: พลเรือตรี เกรียง ชุณหชาติ[15]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2567: พลเรือตรี พงษ์ศักดิ์ สมบุญ[15]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน: พลเรือตรี บริบูรณ์ เอมทิพย์[16]
เรือดำน้ำ
[แก้]ปัจจุบัน
[แก้]ภาพ | ชื่อ | ชั้น | ที่มา | ขึ้นระวาง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
— | เอส26ที (รอตั้งชื่อไทย) |
เรือดำน้ำชั้นหยวน[1] | จีน | เตรียมขึ้นระวาง | สามารถยิงจรวดนำวิถีจากจังหวัดชลบุรีได้ไกลถึงจังหวัดชุมพร[2] สามารถบรรทุกตอร์ปิโดและขีปนาวุธสูงสุด 16 ลูก และทุ่นระเบิดสูงสุด 30 ลูก[14] |
— | แบบ 039 (รอตั้งชื่อไทย) |
เรือดำน้ำชั้นซ่ง | จีน | มือสอง | จีนมอบเรือดำน้ำมือสองให้ เพื่อฝึกก่อน |
— | แบบ 039 (รอตั้งชื่อไทย) |
เรือดำน้ำชั้นซ่ง | จีน | มือสอง | จีนมอบเรือดำน้ำมือสองให้ เพื่อฝึกก่อน |
— | ยังไม่ประกาศ | เรือดำน้ำชั้นชาละวัน | ไทย | เตรียมขึ้นระวาง | เรือดำน้ำขนาดเล็ก สำหรับส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และหาข่าว[4] |
อดีต
[แก้]ภาพ | ชื่อ | ชั้น | ที่มา | ขึ้นระวาง | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
เรือหลวงมัจฉาณุ[1] | เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ | ญี่ปุ่น | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | ตั้งชื่อตามมัจฉานุ ตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ จากเรื่องรามเกียรติ์ | |
เรือหลวงวิรุณ[1] | เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ | ญี่ปุ่น | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | ตั้งชื่อตามวิรุณจำบัง ตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ จากเรื่องรามเกียรติ์ | |
เรือหลวงสินสมุทร | เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ | ญี่ปุ่น | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | ตั้งชื่อตามสินสมุทร ตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ จากเรื่องพระอภัยมณี | |
เรือหลวงพลายชุมพล | เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ | ญี่ปุ่น | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | ตั้งชื่อตามพลายชุมพล ตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ จากเรื่องขุนช้างขุนแผน |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำนำทัพ!!!
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 สารพัดเหตุผล ทร.แจงทำไมไทยต้องมีเรือดำน้ำ-ปัดเป็นภาระประเทศ
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 เสธ.ทร.นำคณะกรรมการ แจงยิบ ซื้อเรือดำน้ำจีน กว่า 2 ชม.พร้อมทำดำน้ำจีนเป็นเรือของ ปชช.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 ทัพเรือ เปิดตัวโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก - ข่าวสด
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 ในประเทศ - กองทัพเรือ'รำลึก 81 ปี วันเรือดำน้ำไทย - แนวหน้า
- ↑ "ทัพเรือไทย จัดงานวันเรือดำน้ำย้อนอดีตเขี้ยวเล็บใต้น้ำของกองทัพเรือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-08. สืบค้นเมื่อ 2019-03-13.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 80 ปี เรือดำน้ำทัพเรือไทย จากเรือหลวงมัจฉาณุ ถึง เรือดำน้ำจีน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ 9.0 9.1 ผบ.ทัพเรือเปิด บก.กองเรือดำน้ำ-ส่วนเรือดำน้ำกำลังจัดซื้อ
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 ทร.รำลึก 79 ปี 'วันเรือดำน้ำไทย' รำลึกถึง รล.มัจฉาณุ ทั้ง 4 ลำ
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 ทร.ทยอยซื้อเรือดำน้ำ 1 ลำ ลดแรงต้านสังคม - คมชัดลึก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ 14.0 14.1 อดใจรอ! จีนเริ่มแล้วสร้าง “เรือดำน้ำ 1.35 หมื่นล้าน” กองทัพไทย ติดตั้งได้ทั้งขีปนาวุธและตอร์ปิโด
- ↑ 15.0 15.1 ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี - กระทรวงกลาโหม.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567