กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ
กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ
ประเทศ ไทย
บทบาทคุ้มครองเส้นทางการเดินเรือทางทะเล[1][2]
ถ่วงดุลอำนาจการรบ[1]
ต่อสู้กับเรือผิวน้ำ[1][3]
ต่อสู้กับเรือดำน้ำ[1][3]
วางทุ่นระเบิด[1][3]
ส่งมนุษย์กบขึ้นฝั่ง[1][3]
ส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ[3][4]
หาข่าว[3][4]
ปฏิบัติการยกพลขึ้นบก[3]
การต่อต้านการก่อการร้าย[3]
กองบัญชาการกองบัญชาการ กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[5][6]
คำขวัญอำนาจใต้สมุทร พลังยุทธ์ที่วางใจได้[7]
สัญลักษณ์นำโชคโลมาโบราณ 2 ตัว
ปฏิบัติการสำคัญกรณีพิพาทอินโดจีน[5]
 • ยุทธนาวีเกาะช้าง[1]
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลเรือตรี พงษ์ศักดิ์ สมบุญ
ผบ. สำคัญพลเรือตรี ภาณุ บุณยะวิโรจ[8]
พลเรือตรี พงศกร กุวานนท์[9][10]
พลเรือตรี วิศาล ปัณฑวังกูร[1][2][3]

กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ (อังกฤษ: Submarine Squadron, Royal Thai Fleet) เป็นกองประจำการเรือดำน้ำแห่งกองทัพเรือไทย[10] ซึ่งมีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[1][9] และมีผู้บัญชาการคนปัจจุบันคือพลเรือตรี พงษ์ศักดิ์ สมบุญ รองผู้บัญชาการได้แก่นาวาเอก ศรยุทธ พุ่มสุวรรณ์ และ นาวาเอก สรรเสริญ จั่นเรือง

ประวัติ[แก้]

กองทัพเรือไทยได้มีเรือดำน้ำใช้ในราชการเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งที่กำลังพลเรือหลวงมัจฉาณุและเรือหลวงวิรุณเข้าประจำเรือที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480[1][9]

ซึ่งต่อมา เรือดำน้ำชุดเรือหลวงมัจฉาณุ 4 ลำ (ได้แก่ เรือหลวงมัจฉาณุ, เรือหลวงวิรุณ, เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล) ได้เดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 มาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 โดยปราศจากเรือพี่เลี้ยง[5]

เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้สร้างวีรกรรมในการรักษาอธิปไตย จากการถูกรุกรานโดยประเทศฝรั่งเศสในกรณีพิพาทอินโดจีน อันก่อให้เกิดยุทธนาวีเกาะช้างเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484[1][9]

โดยหลังจากมีการปะทะกัน ทางฝ่ายฝรั่งเศสไม่สามารถบรรลุภารกิจและรีบเดินทางกลับ เนื่องด้วยเกรงว่าเรือดำน้ำของไทยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งเรือดำน้ำของไทยได้ติดตามไปจนถึงฐานทัพเรือเรียม กระทั่งเรือรบของฝรั่งเศสไม่ออกมาปฏิบัติการอีกเลย[1][9]

กองทัพเรือไทยจึงเล็งเห็นความสำคัญของเรือดำน้ำมาโดยตลอด ซึ่งมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการจัดหาเรือดำน้ำมาประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528[1][5] โดยได้รับข้อเสนอที่น่าสนใจจากเยอรมนี, สวีเดน, ฝรั่งเศส และรัสเซีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องด้วยติดปัญหาด้านงบประมาณและปัญหาทางการเมือง[7]

ส่วนในปี พ.ศ. 2556 ทางกองทัพเรือไทยได้ส่งกำลังพลเข้ารับการฝึกอบรมด้านเรือดำน้ำที่ประเทศเยอรมนีในหลักสูตร 32 สัปดาห์ และที่ประเทศเกาหลีใต้ในหลักสูตร 8 สัปดาห์[8][10] รวมถึงมีการก่อสร้างอาคารกองเรือดำน้ำ และศูนย์การฝึกยุทธการเรือดำน้ำ ตลอดจนเครื่องจำลองการฝึกเรือดำน้ำที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี กระทั่งแล้วเสร็จและเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2557[7]

ต่อมา คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติให้กองทัพเรือได้จัดซื้อเอส26ที เรือดำน้ำชั้นหยวน จากประเทศจีน เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560 เพื่อคุ้มครองเส้นทางการเดินเรือทางทะเล และถ่วงดุลอำนาจการรบ[1]

ซึ่งทางรัฐบาลไทยมีแผนการซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน 3 ลำ แต่เนื่องด้วยมีการต่อต้านภายในประเทศ จึงได้ทยอยจัดหาทีละลำจากงบประมาณที่กองทัพเรือได้รับในแต่ละปี โดยไม่เบียดบังงบส่วนราชการอื่น[2][3][10] อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงครั้งนี้ถือเป็นการสั่งซื้อโดยกระทรวงกลาโหมที่มีมูลค่ามหาศาลที่สุดเท่าที่เคยมีมาของประเทศไทย[11]

และในปี พ.ศ. 2561 ทางกองทัพเรือไทยได้เปิดตัวโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก สำหรับส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และหาข่าว โดยมีหลายหน่วยงานดำเนินภารกิจร่วมกัน ทั้งกองเรือดำน้ำ, กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกองการฝึก กองเรือยุทธการ[4]

ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ[แก้]

เรือดำน้ำ[แก้]

ปัจจุบัน[แก้]

ภาพ ชื่อ ชั้น ที่มา ขึ้นระวาง หมายเหตุ
เอส26ที
(รอตั้งชื่อไทย)
เรือดำน้ำชั้นหยวน[1] ธงของประเทศจีน จีน เตรียมขึ้นระวาง สามารถยิงจรวดนำวิถีจากจังหวัดชลบุรีได้ไกลถึงจังหวัดชุมพร[2]
สามารถบรรทุกตอร์ปิโดและขีปนาวุธสูงสุด 16 ลูก และทุ่นระเบิดสูงสุด 30 ลูก[11]
แบบ 039
(รอตั้งชื่อไทย)
เรือดำน้ำชั้นซ่ง ธงของประเทศจีน จีน มือสอง จีนมอบเรือดำน้ำมือสองให้ เพื่อฝึกก่อน
แบบ 039
(รอตั้งชื่อไทย)
เรือดำน้ำชั้นซ่ง ธงของประเทศจีน จีน มือสอง จีนมอบเรือดำน้ำมือสองให้ เพื่อฝึกก่อน
ยังไม่ประกาศ เรือดำน้ำชั้นชาละวัน  ไทย เตรียมขึ้นระวาง เรือดำน้ำขนาดเล็ก สำหรับส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และหาข่าว[4]

อดีต[แก้]

ภาพ ชื่อ ชั้น ที่มา ขึ้นระวาง ปลดประจำการ หมายเหตุ
เรือหลวงมัจฉาณุ[1] เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ตั้งชื่อตามมัจฉานุ ตัวละครที่มีอิทฤทธิ์ในการดำน้ำ จากเรื่องรามเกียรติ์
เรือหลวงวิรุณ[1] เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ตั้งชื่อตามวิรุณจำบัง ตัวละครที่มีอิทฤทธิ์ในการดำน้ำ จากเรื่องรามเกียรติ์
เรือหลวงสินสมุทร เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ตั้งชื่อตามสินสมุทร ตัวละครที่มีอิทฤทธิ์ในการดำน้ำ จากเรื่องพระอภัยมณี
เรือหลวงพลายชุมพล เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ตั้งชื่อตามพลายชุมพล ตัวละครที่มีอิทฤทธิ์ในการดำน้ำ จากเรื่องขุนช้างขุนแผน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำนำทัพ!!!
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 สารพัดเหตุผล ทร.แจงทำไมไทยต้องมีเรือดำน้ำ-ปัดเป็นภาระประเทศ
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 เสธ.ทร.นำคณะกรรมการ แจงยิบ ซื้อเรือดำน้ำจีน กว่า 2 ชม.พร้อมทำดำน้ำจีนเป็นเรือของ ปชช.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 ทัพเรือ เปิดตัวโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก - ข่าวสด
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ในประเทศ - กองทัพเรือ'รำลึก 81 ปี วันเรือดำน้ำไทย - แนวหน้า
  6. "ทัพเรือไทย จัดงานวันเรือดำน้ำย้อนอดีตเขี้ยวเล็บใต้น้ำของกองทัพเรือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-08. สืบค้นเมื่อ 2019-03-13.
  7. 7.0 7.1 7.2 80 ปี เรือดำน้ำทัพเรือไทย จากเรือหลวงมัจฉาณุ ถึง เรือดำน้ำจีน
  8. 8.0 8.1 ผบ.ทัพเรือเปิด บก.กองเรือดำน้ำ-ส่วนเรือดำน้ำกำลังจัดซื้อ
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 ทร.รำลึก 79 ปี 'วันเรือดำน้ำไทย' รำลึกถึง รล.มัจฉาณุ ทั้ง 4 ลำ
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 ทร.ทยอยซื้อเรือดำน้ำ 1 ลำ ลดแรงต้านสังคม - คมชัดลึก
  11. 11.0 11.1 อดใจรอ! จีนเริ่มแล้วสร้าง “เรือดำน้ำ 1.35 หมื่นล้าน” กองทัพไทย ติดตั้งได้ทั้งขีปนาวุธและตอร์ปิโด
  12. 12.0 12.1 ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี - กระทรวงกลาโหม.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]