กองบังคับการตำรวจรถไฟ
กองบังคับการตำรวจรถไฟ | |
---|---|
เครื่องหมายราชการและอาร์มประจำหน่วยงาน | |
อักษรย่อ | บก.รฟ. |
คำขวัญ | ทุกขบวนปลอดภัย ตำรวจรถไฟ พร้อมใจให้บริการ |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2437 |
ยุบเลิก | 17 ตุลาคม 2566 |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
สำนักงานใหญ่ | เชิงสะพานนพวงศ์ ถนนเลียบคลองผดุงเกษม แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง |
เขตอำนาจปกครอง | • เขตเกี่ยวเนื่องกับรถไฟทั่วประเทศ
• 6 กองกำกับการ • 15 สถานีตำรวจรถไฟ (ส.รฟ.) |
เว็บไซต์ | |
www |
กองบังคับการตำรวจรถไฟ (อังกฤษ: Railway Police Division) (อักษรย่อ บก.รฟ.) เป็นอดีตหน่วยงานตำรวจระกับกองบังคับการ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งถูกยุบตามผลของ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2565 ในเดือน ตุลาคม พ.ศ.2566 มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการสืบสวนสอบสวน และการป้องกันปราบกรามการกระทำความผิดทางอาญา รวมไปถึงความปลอดภัยในเขตพื้นที่อันเกี่ยวเนื่องกับการรถไฟแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ อันได้แก่ สถานีรถไฟ ทางรถไฟ ขบวนรถไฟ จุดถ่ายโอนสินค่า และที่พักสินค้า รวมไปถึง ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของการรถไฟ[1]
ปัจจุบันทาง บช.ก. ได้จัดตั้ง ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ (ศปรฟ.บช.ก.) ขึ้นมาทำหน้าทดแทน ตามการขอความอนุเคราะห์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย[2]
ประวัติ
[แก้]กองตำรวจรถไฟ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2437 สามปีหลังจากการจัดตั้งกรมรถไฟหลวง ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2443 ในเส้นทางรถไฟสาย กรุงเทพ-นครราชสีมา มีหน้าที่ป้องกันภัยรถไฟ และผู้โดยสาร จากการก่ออาชญากรรม ตลอดจนการป้องกันขับไล่สัตว์ป่าดุร้าย ภายหลังราวปี 2494–2500 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้มีคำสั่งให้ยกสถานะเป็น กองบังคับการ เพื่อเพิ่มอำนาจหน้าที่และอัตรากำลังพลให้เพียงพอต่ออัตราการเกิดอาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงเส้นทางเดินรถ สถานี และปริมาณการเดินรถและผู้โดยสารที่มากขึ้น ในปี 2548 ได้มีการโอนให้หน่วยมาสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง[3]
การยุบหน่วยงาน
[แก้]ตามที่ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ฉบับใหม่ มีเนื้อหาให้มีการดำเนินการยุบยกเลิกกองบังคับการตำรวจรถไฟในเดือนตุลาคม 2566[4] หลังจากการดำเนินงานของหน่วยมากว่า 126 ปี ซึ่งแผนการดำเนินการดังกล่าวนั้นก็ไม่เป็นที่เห็นด้วยนักในหมู่ประชาชนผู้ใช้รถไฟ ตลอดจนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่ประจำขบวน และเจ้าหน้าที่สถานีรถไฟ จากการสำรวจเบื้องต้นโดยสำนักข่าวไทยพีบีเอส[5] ทั้งนี้ปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) ตำรวจรถไฟมีกรอบอยู่ที่ 870 อัตรา มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ที่ 738 อัตรา มีความจำเป็นที่ต้องจัดหาตำแหน่งใหม่ให้หลังจากการยุบหน่วย[6][7] ซึ่งจะยุติการปฏิบัติงานในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566[8]
ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ (ศปรฟ.บช.ก.)
[แก้]ก่อนการยุบ บก.รฟ. การรถไฟแห่งประเทศไทย และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟ เพื่อเป็นข้อตกลงให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในส่วนของ บช.ก. มีอำนาจดูแลความปลอดภัยในขบวรรถไฟ รวมไปถึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าเข้ามาดูแลในขบวร แม้ว่าจะมีการยุบหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงก็ตาม โดยหลังจากมีการยุบกองบังคับการตำรวจรถไฟ ทาง บช.ก. จึงจัดตั้ง "ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ (ศปรฟ.บช.ก.)" ซึ่งมีกำลังตำรวจราว 200 นาย มีขอบเขตดำเนินการบนขบวนรถไฟและแนวทางปฏิบัติงานยังเป็นไปเช่นเดิม เหมือนที่เคยมีกองบังคับการตำรวจรถไฟอยู่เดิม โดยจะประจำการบนขบวนรถไฟประมาณ 30 ขบวน ขบวนละ 2-3 นาย มีอำนาจดำเนินการจับกุมตามปกติ และจะได้รับกรอบวงเงินเบี้ยเลี้ยงขบวนรถและค่าที่พัก จาก รฟท. ตามเดิมที่เคยให้ตำรวจรถไฟที่ผ่านมาทุกปี แต่บ้านพักและที่ทำการ รวมไปถึงสถานีตำรวจรถไฟ (ส.รฟ.) ยานพาหนะ และอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ยังคงต้องส่งมอบคืนให้แก่การรถไฟ[2] [9][10]
โครงสร้างหน่วยงาน
[แก้]กองบังคับการตำรวจรถไฟ มีสถานะเป็นกองบังคับการในสังกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดยปัจจุบันมีอัตรากำลังพลกว่า 738 นาย[4] กระจายอยู่ใน 15 สถานีตำรวจรถไฟ (ส.รฟ.) ตามเส้นทางรถไฟ และมีหน่วยบริการอยู่ตามสถานีรถไฟ 40 แห่ง[11] โดยปัจจบันมี พล.ต.ต.ชัยรพ จุณณวัตต์ เป็นผู้บังคับการ (ผบก.รฟ.)
- กองกำกับการอำนายการ
- งานธุรการและกำลังพล
- งานการข่าว ความมั่นคง และเทคโนโลยี
- งานยุทธศาสตร์ และงบประมาณ
- งานกิจการพิเศษและจิตอาสา
- งานส่งกำลังบำรุง
- งานกฎหมายและนิติกร
- งานการเงินและบัญชี
- กองกำกับการ 1
- สถานีตำรวจรถไฟ นพวงศ์
- สถานีตำรวจรถไฟ มักกะสัน
- สถานีตำรวจรถไฟ ธนบุรี
- กองกำกับการ 2
- สถานีตำรวจรถไฟ อยุธยา
- สถานีตำรวจรถไฟ นครสวรรค์
- สถานีตำรวจรถไฟ ศิลาอาสน์
- กองกำกับการ 3
- สถานีตำรวจรถไฟ หัวหิน และหน่วยกอ.ปภ.97 บก.รฟ.
- สถานีตำรวจรถไฟทุ่งสง
- สถานีตำรวจรถไฟ หาดใหญ่
- กองกำกับการ 4
- สถานีตำรวจรถไฟ สุวรรณภูมิ
- สถานีตำรวจรถไฟ ฉะเชิงเทรา
- สถานีตำรวจรถไฟ อรัญประเทศ
- กองกำกับการ 5
- สถานีตำรวจรถไฟ นครราชสีมา
- สถานีตำรวจรถไฟ อุบลราชธานี
- สถานีตำรวจรถไฟ หนองคาย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ: เรื่องการกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือ เขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการ,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖, ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง, (๗ กันยายน ๒๕๕๒) : 336-340, https://www.railwaypolice.go.th/images/Area%20railway%20police.pdf เก็บถาวร 2022-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ 2.0 2.1 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์, บช.ก.เปิดศูนย์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมบนขบวนรถไฟ, 4 มีนาคม 2567 https://mgronline.com/crime/detail/9670000019620
- ↑ WANCHAROEN, SUPOJ (5 DEC 2022). "Passenger safety derailed". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "ผบช.ก. ไม่เห็นด้วยยุบตำรวจรถไฟ". สำนักข่าวไทย อสมท. 23/11/2565. สืบค้นเมื่อ 19 April 2023.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เสียงสะท้อน "ไม่อยากให้ยุบ" ตำรวจรถไฟ (26 พ.ย. 65)". Thai PBS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-26. สืบค้นเมื่อ 19 April 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "อาฟเตอร์ช็อก! ยุบ "ตำรวจรถไฟ" กระทบขวัญ วางยา โยนภาระการรถไฟ?". www.thairath.co.th. สำนักข่าวไทยรัฐ. 2022-11-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ผบช.ก. ไม่เห็นด้วยยุบตำรวจรถไฟ". สำนักข่าวไทย อสมท. 2022-11-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ปิดตำนาน 72 ปี ตำรวจรถไฟ ร.ฟ.ท.เตรียมพร้อมภารกิจดูแลความปลอดภัย". bangkokbiznews. 2023-10-12.
- ↑ The Standard, ตำรวจสอบสวนกลางตั้งศูนย์ปราบอาชญากรรมขบวนรถไฟฯ สุ่มตรวจ 30 ขบวนต่อวัน, 04 มีนาคม พ.ศ.2567, https://thestandard.co/railway-crime-suppression-center/
- ↑ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์, ยุบ "ตำรวจรถไฟ" รฟท.-สตช.ตั้ง "ศูนย์รักษาความปลอดภัยบนขบวนรถไฟ" รับช่วงต่อดูแลผู้โดยสาร, 7 พ.ย. 2566, https://mgronline.com/business/detail/9660000099895
- ↑ Sombutla, Kuntida. "ต้องยุบ "ตำรวจรถไฟ" ใน1ปี แล้วใคร?..จะดูแลผู้โดยสาร". เดลินิวส์.