น้ำขึ้นลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กระแสน้ำขึ้นน้ำลง)
น้ำขึ้น
น้ำลง

น้ำขึ้นลง (อังกฤษ: tide) เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง)

น้ำขึ้นเกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นลงสูงสุดหรือน้ำเกิด (spring tide) เมื่อโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์อยู่ในแนวเดียวกัน หรือทุก ๆ 2 อาทิตย์ คือ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม 15 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นลงจะเปลี่ยนแปลงน้อยหรือน้ำตาย (neap tide) เมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์อยู่ในแนวตั้งฉากคือ วันขึ้น 7 ค่ำ และ แรม 7 ค่ำ

การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้นลง (tidal current) ซึ่งอาจมีความเร็ว 7–8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็ก ๆ นั้นเรียกว่า "น้ำท่วมฝั่ง" (flood tide) และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลงจนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า "น้ำหนีฝั่ง" (ebb tide) เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึงซึ่งอาจเป็นดินหรือทรายก็ได้ ว่า "หาดโคลน" (tidal flat หรือ mud flat) หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีวัชพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกว่า "ลุ่มดินเค็ม" (salt marsh) หาดโคลนบางแห่งอาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของหอยหลอดได้

ดูเพิ่ม[แก้]