ราชอาณาจักรเซอร์เบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Kingdom of Serbia)
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย

Краљевина Србија  (เซอร์เบีย)
1882–1918
ธงชาติราชอาณาจักรเซอร์เบีย
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของราชอาณาจักรเซอร์เบีย
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติBože Pravde
Боже правде
"เทพแห่งความยุติธรรม"
ราชอาณาจักรเซอร์เบียในปี 1914
ราชอาณาจักรเซอร์เบียในปี 1914
เมืองหลวงเบลเกรด
ภาษาทั่วไปเซอร์เบีย
ศาสนา
ออร์ทอดอกซ์เซอร์เบีย (ศาสนาประจำชาติ)
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ 
• 1882–1889
มีลันที่ 1
• 1889–1903
อเล็กซานเดอร์ที่ 1
• 1903–1918
ปีเตอร์ที่ 1
นายกรัฐมนตรี 
• 1882–1883 (คนแรก)
มีลาน ปิโรชานัค
• 1912–1918 (คนสุดท้าย)
นิโคลา ปาซิช
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยมสมัยใหม่, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
6 มีนาคม 1882
10 มิถุนายน 1903
30 พฤษภาคม 1913
10 สิงหาคม 1913
20 กรกฎาคม 1917
28 พฤศจิกายน 1918
1 ธันวาคม 1918
สกุลเงินดีนาร์เซอร์เบีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
1882:
ราชรัฐเซอร์เบีย
1918:
ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เซอร์เบีย
 มอนเตเนโกร
 มาซิโดเนียเหนือ

ราชอาณาจักรเซอร์เบีย (เซอร์เบีย: Краљевина Србија; อังกฤษ: Kingdom of Serbia) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในคาบสมุทรบอลข่าน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1882 สืบต่อจากราชรัฐเซอร์เบีย โดยสมัยนี้เป็นช่วงที่ประเทศเผชิญปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจักรวรรดิออตโตมันและบัลแกเรียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาจึงถูกยึดครองโดยฝ่ายมหาอำนาจกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และท้ายที่สุดจึงมีการรวมประเทศกับราชอาณาจักรมอนเตเนโกรและรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ เพื่อก่อตั้งเป็นราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งอาณาเขตของอาณาจักรครอบคลุมพื้นที่ของประเทศเซอร์เบียและประเทศมาซิโดเนียเหนือในปัจจุบัน

ความพยายามในการขยายอิทธิพลของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในคาบสมุทรบอลข่านนั้น เป็นหนึ่งสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงพัฒนาการทางการเมืองทั้งภายในและระหว่างประเทศได้อย่างชัดเจน[1] นักการเมืองมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย[1] ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มออสเตรียนิยมที่ถือครองอำนาจในช่วงแรกภายใต้การนำของราชวงศ์ออเบรนอวิชจนถึง ค.ศ. 1903 และกลุ่มรัสเซียนิยมภายใต้การนำของราชวงศ์คาราจอร์เจวิช โดยสมัยนี้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่กลับต้องเผชิญกับภาระหนี้มหาศาลและลัทธิชาตินิยมนอกรีต ซึ่งนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากประเทศชนะในสงคราม จึงมีการรวมชาติกับราชอาณาจักรมอนเตเนโกรและดินแดนส่วนใหญ่ของชาวสลาฟใต้ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่ล่มสลาย เพื่อก่อตั้งประเทศใหม่ในชื่อ "ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนเมื่อปลาย ค.ศ. 1918

แม้ว่าประเทศจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังการเปลี่ยนราชวงศ์ใน ค.ศ. 1903 แต่ประชากรส่วนใหญ่ยังคงรักษาจารีตดั้งเดิมในท้องที่ชนบท และการใช้จ่ายในระบบราชการและทหารที่เพิ่มขึ้น ทำให้หนี้ของประเทศเพิ่มพูนขึ้นเท่าจำนวนมาก[2] การทุจริตและการเมืองของประเทศถูกครอบงำโดยชนชั้นนำกลุ่มน้อย และสิทธิในการเลือกตั้งถูกจำกัดอย่างยิ่ง[3]

เศรษฐกิจ[แก้]

การคมนาคม[แก้]

เซอร์เบียตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าหลายเส้นทางที่เชื่อมโยงยุโรปตะวันตกและยุโรปกลางกับตะวันออกกลาง หุบเขาโมราวาอยู่ในเส้นทางบกที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ซึ่งเชื่อมโยงยุโรปกลางกับกรีซและคอนสแตนติโนเปิล ในช่วงศตวรรษที่ 19 มีความพยายามครั้งใหญ่ในการปรับปรุงการขนส่งในการเชื่อมต่อนี้ ที่การประชุมใหญ่เบอร์ลินในปี 1878 ออสเตรีย-ฮังการีได้ช่วยเหลือเซอร์เบียเพื่อให้ได้ดินแดนใหม่ อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขให้เซอร์เบียลงนามในอนุสัญญาฉบับใหม่ อนุสัญญานี้กำหนดให้เซอร์เบียสร้างเส้นทางรถไฟจากเบลเกรดไปยังวรันเย และพรมแดนตุรกีและบัลแกเรียภายในสามปี นอกจากนี้ ภาระหน้าที่ในการลงนามในสัญญาการค้าถูกกำหนดไว้กับเซอร์เบีย เช่นเดียวกับการเรียกร้องให้ดำเนินงานด้านกฎระเบียบในเดอร์แดป รัฐบาลเซอร์เบียอนุมัติสนธิสัญญานี้โดยการรับรองกฎหมายว่าด้วยการประกาศของอนุสัญญา ด้วยเหตุนี้ การรถไฟเซอร์เบียจึงถือกำเนิดขึ้นในปี 1881 การจราจรปกติบนเส้นทางรถไฟสายเบลเกรด–นีชเริ่มต้นในปี 1884[4]

การเมือง[แก้]

ในปี 1888 พรรค People's Radical นำโดย ซาวา กรูจิช และ นิกอลา ปาซิช เข้ามามีอำนาจและได้มีการแนะนำรัฐธรรมนูญใหม่ตามรัฐธรรมนูญเสรีนิยมของเบลเยียม สงครามที่พ่ายแพ้และชัยชนะในการเลือกตั้งทั้งหมดของพรรคหัวรุนแรงเป็นสาเหตุบางประการที่ทำให้กษัตริย์มีลานที่ 1 สละราชสมบัติในปี 1889 อเล็กซานเดอร์ที่ 1 พระราชโอรสของพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ในปี 1893 และในปี 1894 ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญ

ชาวยิวจากมาซิโดเนียเหนือในปัจจุบันได้รับสิทธิพลเมืองหลังจากภูมิภาคนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเซอร์เบีย[5]

วัฒนธรรม[แก้]

ราชอาณาจักรเซอร์เบียเข้าร่วมในนิทรรศการศิลปะนานาชาติปี 1911 โดยมีศิลปินจำนวนหนึ่งแสดงผลงานของตนเป็นส่วนหนึ่งของศาลาเซอร์เบีย รวมถึง มาร์โค มูรัต อีวาน เมสโทรวิช, โดเร โจวาโนวิช และศิลปินคนอื่นๆ[6]

รูปภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Stavrianos 1958, p. 448.
  2. Ponting 2002, p. 16.
  3. Ponting 2002, p. 15.
  4. History of Serbian railways เก็บถาวร 2019-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at serbianrailways.com, retrieved 26-10-2018
  5. Sekelj, Laslo (1981). "ANTISEMITIZAM U JUGOSLAVIJI (1918—1945)". Rev. Za Soc. XI.
  6. Elezović, Zvezdana (2009). "Kosovske teme paviljona Kraljevine Srbije na međunarodnoj izložbi u Rimu 1911. godine". Baština. 27.

บรรณานุกรม[แก้]