อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

พิกัด: 8°41′54″N 98°16′49″E / 8.69833°N 98.28028°E / 8.69833; 98.28028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่
ที่ตั้งจังหวัดพังงา ประเทศไทย
พิกัด8°41′54″N 98°16′49″E / 8.69833°N 98.28028°E / 8.69833; 98.28028
พื้นที่125 km2 (48 sq mi)
จัดตั้งสิงหาคม พ.ศ. 2534
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ เป็นอุทยานแห่งชาติในจังหวัดพังงาของประเทศไทย ตั้งชื่อตามยอดเขาสองลูก คือ เขาหลักและเขาลำรู่ เป็นอุทยานที่มีภูมิลักษณ์หลากหลายทั้งป่าและชายหาด

ภูมิศาสตร์[แก้]

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ อยู่ห่างจากเทศบาลนครภูเก็ตไปทางทิศเหนือ 115 กิโลเมตร (71 ไมล์) และห่างจากเทศบาลเมืองตะกั่วป่าไปทางทิศใต้ 30 km (19 mi) พื้นที่ชายฝั่งของอุทยานเป็นที่ตั้งของเขาหลัก

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ มีพื้นที่ 125 ตารางกิโลเมตร (48 ตารางไมล์) ครอบคลุมพื้นที่สี่อำเภอในจังหวัดพังงา ได้แก่ อำเภอกะปง อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง[1] จุดที่สูงที่สุดมีความสูง 1,077 เมตร (3,530 ฟุต).[2][3]

ประวัติ[แก้]

เดิมทีอุทยานเป็นพื้นที่ป่าริมชายฝั่ง ต่อมาใน พ.ศ. 2527 ได้มีการสำรวจพื้นที่ป่าและภูเขาและมีการเสนอให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนของจังหวัดพังงา สุดท้ายในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2534 เขาหลัก-ลำรู่ กลายเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 66 ของประเทศไทย[2]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 คลื่นสึนามิได้สร้างความเสียหายต่อเขาหลัก โดยเขาหลักเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิครั้งนี้มากที่สุด มีผู้เสียชีวิต 4,000 ราย

จุดท่องเที่ยว[แก้]

อุทยานมีน้ำตกใหญ่หลายแห่ง โดยน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดคือน้ำตกลำรู่ มี 5 ชั้นและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี น้ำตกอื่น ๆ ได้แก่ น้ำตกลำพราว น้ำตกหินลาด และน้ำตกต้นช่องฟ้า[4] ส่วนพื้นที่ชายฝั่งของเขาหลักมีน้ำทะเลที่ใสสะอาด[5]

หาดนางทอง เมื่อน้ำทะเลลดลงต่ำสุดจะมองเห็นเป็นหาดทรายสีดำ ซึ่งคือแร่ดีบุกที่ถูกน้ำทะเลซัดขึ้นมา[6]

ความหลากหลายทางชีวภาพ[แก้]

พื้นที่ป่าลึกในเขตอุทยาน

ป่าไม้ในเขตอุทยานเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ พืชพันธุ์ที่พบได้แก่ ตะเคียน ยาง ตีนเป็ด จำปา กระบาก กล้วยไม้ และเฟิร์น[2] ส่วนในพื้นที่ชายฝั่ง พบมะม่วงหิมพานต์และจิกทะเล[2]

สัตว์ขนาดเล็กที่พบได้แก่ บ่าง หมีกระรอก และเพียงพอนมลายู สัตว์ขนาดใหญ่ได้แก่ เลียงผาใต้และสมเสร็จมลายู นอกจากนี้ ยังพบสัตว์เลื้อยคลาน อาทิ ตะกวดและงูมลายู[2]

นกที่อาศัยในเขตอุทยานได้แก่ เหยี่ยวรุ้ง อินทรีทะเลปากขาว นกพิราบมรกต นกเงือกปากดำ และนกแก๊ก[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Khao Lak-Lam Ru National Park". Tourism Authority of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2013. สืบค้นเมื่อ 2 Apr 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Khao Lak-Lam Ru National Park". Department of National Parks (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2013. สืบค้นเมื่อ 31 Mar 2013.
  3. Williams, China; Beales, Mark; Bewer, Tim (Feb 2012). Lonely Planet Thailand (14th ed.). Lonely Planet Publications. pp. 654. ISBN 978-1-74179-714-5.
  4. "National Parks in Thailand: Khao Lak-Lam Ru National Park" (PDF). Department of National Parks (Thailand). pp. 225–226. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  5. Nam, Suzanne (Feb 2012). Moon Handbooks Thailand (5th ed.). Avalon Travel. p. 218. ISBN 978-1-59880-969-5.
  6. อันซีนพังงา “หาดนางทอง” ธรรมชาติสุดแปลกตา หาดทรายสีดำพบไม่กี่แห่งในโลก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • คู่มือการท่องเที่ยว เขาหลัก จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)