ตะกวด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตะกวด
ตะกวด
ภาพแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างส่วนหัวของตะกวด (A) กับเหี้ย (B)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptile
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Sauria
วงศ์: Varanidae
สกุล: Varanus
สกุลย่อย: Empagusia
สปีชีส์: V.  bengalensis
ชื่อทวินาม
Varanus bengalensis
(Daudin, 1802)
ชื่อพ้อง
  • Lacerta molitor Linnaeus, 1758
  • Tupinambis bengalensis Daudin, 1802

ตะกวด, จะกวด หรือ จังกวด (อีสาน, ลาว, ใต้, เหนือ: แลน; เขมร: ตฺรอกวต; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus bengalensis) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง

มีรูปร่างคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน โดยมักจำสับสนกับเหี้ยหรือเรียกสลับกัน แต่ตะกวดมีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก และตำแหน่งของโพรงจมูก โดยโพรงจมูกของตะกวดจะอยู่ไม่ใกล้กับปลายปากเหมือนกับเหี้ย รวมถึงมีปลายปากที่มนทู่กว่า อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจากเหี้ยที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัยมักจะไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือนเหี้ย และไม่ดุร้าย ตะกวดมักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ พบในหุบเขา แม่น้ำทางตะวันออกของอิหร่าน อัฟกานิสถาน อินเดีย เนปาล ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ พม่า เวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย [1] ในนิทานชาดก พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นตะกวดเช่นกัน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. ตะกวด, ตะกวดเบงกอล
  2. สุจิตต์ วงษ์เทศ. สยามประเทศไทย: แลน-คำลาว, ตะกวด-คำเขมร ไม่ใช่เหี้ย-คำบาลี. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11449 ออนไลน์ เก็บถาวร 2009-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตะกวด แปลมาจากคำบาลีว่า โคธา ปัจจุบันชาวอินเดียหมายถึงสัตว์ในตระกูล กิ้งก่า อิกัวนา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus bengalensis ที่วิกิสปีชีส์