อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง

พิกัด: 12°57′N 101°44′E / 12.95°N 101.74°E / 12.95; 101.74
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง
ทิวทัศน์ของภูเขา
แผนที่
ที่ตั้งอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และอำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
พิกัด12°57′N 101°44′E / 12.95°N 101.74°E / 12.95; 101.74
พื้นที่83.68 ตารางกิโลเมตร (52,300 ไร่)
จัดตั้ง1 มกราคม พ.ศ. 2519
ผู้เยี่ยมชม218,430 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
น้ำตกเขาชะเมา (คลองน้ำใส)

อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ใน จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 52,300 ไร่ หรือ 83.68 ตารางกิโลเมตร[1]

ประวัติ[แก้]

ที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 มีมติให้กำหนดบริเวณเขาชะเมา-เขาวงเป็นอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากมีสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารของจังหวัดระยอง และมีสัตว์ป่าชุกชุม โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาชะเมาในท้องที่ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และตำบลแก่งหางแมว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และป่าเขาวงในท้องที่ตำบลกองดิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และตำบลนายายอาม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 267 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2518 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 13 ของประเทศไทย[2]

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

บริเวณเขาชะเมาส่วนใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขาสูงชัน เป็นสันเขา (Ridgetops) มีความลาดเทปานกลาง และพื้นที่ไหล่เขาค่อนข้างชัน มียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาแผนที่ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,024 เมตร และจุดต่ำสุดสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 51 เมตร ส่วนลักษณะภูมิประเทศบริเวณเขาวงเป็นแบบ Karst Topography เป็นลักษณะเขาลูกโดดหรือมียอดเขาหลายยอด เกิดจากการละลายตัวของหินปูน มีลักษณะแอ่งหินปูน หลุมยุบ และถ้ำ มียอดเขาสูงสุด อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 162 เมตร และจุดต่ำสุด สูงจากระดับน้ำทะเล 96 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง ตั้งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม จะมีฝนตกชุก ความชื้นสูง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 2,900 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อากาศเย็นสบาย ท้องฟ้าโปร่ง
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี 26-27 องศาเซลเซียส

ทรัพยากรสัตว์ป่า[แก้]

จากการศึกษาและสำรวจข้อมูลด้านสัตว์ป่าในพื้นที่พบว่ามีจำนวนของสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 137 ชนิด จาก 113 สกุล ใน 70 วงศ์ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้[3][4]

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

ด้านธรรมชาติ[แก้]

ชั้นที่ 1 วังหนึ่ง

ชั้นที่ 2 วังมัจฉา

ชั้นที่ 3 วังมรกต

ชั้นที่ 4 วังไทรงาม

ชั้นที่ 5 ผากล้วยไม้

ชั้นที่ 6 ช่องแคบ

ชั้นที่ 7 หกสาย

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุบกษา 133 แห่ง". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022, no 13{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  2. "อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง". 6 March 2018.
  3. "Khao Chamao - Khao Wong National Park". Thai National Parks. สืบค้นเมื่อ 5 December 2019.
  4. Elliot, Stephan; Cubitt, Gerald (2001). THE NATIONAL PARKS and other Wild Places of Thailand. New Holland Publishers (UK) Ltd. ISBN 9781859748862.
  5. "น้ำตกเขาชะเมา-ระยอง". 13 March 2018. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]