ลาเวนเดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาเวนเดอร์
ดอกลาเวนเดอร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไฟลัม: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Lamiaceae
วงศ์ย่อย: Nepetoideae
เผ่า: Lavanduleae
สกุล: Lavandula
L.
ชนิดต้นแบบ
Lavandula spica
L.

ลาเวนเดอร์ (Lavandula) เป็นสกุลของพืชดอก จากการรายงานในปัจจุบันมีทั้งหมด 41 ชนิด ในวงศ์กะเพรา,วงศ์มินต์ (Lamiaceae) เป็นพืชพื้นเมืองในยุคโบราณซึ่งถูกค้นพบจากเคปเวิร์ดและหมู่เกาะคานารี ทางตอนใต้ของยุโรปข้ามไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา เมดิเตอร์เรเนียน เอเชียตะวันตกเฉียงใต้จรดไปอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ จากหลักฐานพบว่ามีการใช้เป็นเครื่องหอมมาตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมียละอิยิปต์โบราณนานกว่า 2500 ปีก่อนหน้า เชื่อว่ามีการใช้ในกระบวนการ mummification ในขั้นตอนการพันเฝือกจะนำผ้าลินินชุบยางมะตอยที่มีส่วนผสมของลาเวนเดอร์ ซึ่งช่วยดับกลิ่นได้ดี ลาเวนเดอร์ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสหราชอาณาจักร โดยเชื่อว่าทหารโรมันเป็นกลุ่มแรกที่นำเข้ามา จากหลักฐานเชื่อว่าลาเวนเดอร์มีสรรพคุณหลายประการ เช่น เป็นสารค่าเชื้อในธรรมชาติ ไล่แมลง ใช้ผสมอาหารและการใช้ในการชำระล้าง อาบน้ำของราชวงศ์อังกฤษ จากบันทึกพบว่าในปี ค.ศ. 1500 Queen Elizabeth ที่ 1 ใช้ลาเวนเดอร์ในการเป็นเครื่องหอมส่วนพระองค์ และการชงชาเพื่อรักษาอาการไมเกรน และในโรคระบาดครั้งใหญในลอนดอน ปี 1665 ลาเวนเดอร์ถูกนำมาช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับการติดเชื้อต่าง ๆ

ศัพท์มูลวิทยา[แก้]

คำว่า "ลาเวนเดอร์" ในภาษาอังกฤษ เดิมถูกเข้าใจว่ามาจากคำภาษาฝรั่งเศสเก่าที่ว่า "lavandre" แต่ท้ายที่สุดคำว่าลาเวนเดอร์นั้นกลับมาจากภาษาละติน "lavare" (ชำระล้าง) ซึ่งอาจหมายถึงประโยชน์ของมันในการชำระล้างร่างกายและจิตใจ [1] ในสมัยก่อนการชำระล้างร่างกายยังไม่นิยมใช้น้ำ แต่จะใช้เครื่องหอมต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่นำมาใช้จากดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและลาเวนเดอร์เป็นหนึ่งในนั้น

ประโยชน์[แก้]

ด้านการแพทย์[แก้]

ลาเวนเดอร์ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางกับสมุนไพรและน้ำมันหอมระเหย และเชื่อว่าลาเวนเดอร์สามารถบรรเทาแมลงกัด แผลไหม้ และอาการปวดหัวได้ นอกจากนี้ ช่อลาเวนเดอร์ยังสามารถขับไล่แมลง ดอกและเมล็ดลาเวนเดอร์สามารถช่วยให้การนอนหลับนั้นผ่อนคลาย [2] การชงยอดอ่อนของลาเวนเดอร์ลงในถ้วยน้ำร้อนก็สามารถช่วยให้นอนหลับสบาย นอกจากนี้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบสารสำคัญในลาเวนเดอร์ ได้แก่ สาร Linalool, Linalyl acetate, Lavandulol และ Lavandulyl acetate โดยเฉพาะสาร Linalool คือสารที่ทำให้ลาเวนเดอร์มีกลิ่นหอม มีฤทธิ์ช่วยทำให้รู้สึกสงบและผ่อนคลายกล้ามเนื้อจึงเป็นที่นิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ด้านอุตสาหกรรม[แก้]

ในศตวรรษที่ 21 นี้ ลาเวนเดอร์นั้นเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมมากมาย จากประโยชน์ในเรื่องของกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของมันซึ่งช่วยให้ผ่อนคลาย หลากหลายอุตสาหกรรมใช้ลาเวนเดอร์ในผลิตภัณฑ์ของพวกเขา แต่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดเห็นจะเป็นอุตสาหกรรมน้ำหอมและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น สบู่ ครีม เป็นต้น

เศรษฐกิจ[แก้]

ลาเวนเดอร์ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในยุโรป จากข้มูล ประเทศที่มีการนำเข้าและส่งออกลาเวนเดอร์ (https://www.tridge.com/intelligences/lavender-oil/export) พบว่าประเทศโปแลนด์เป็นประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุดที่่ 142.9 USD และส่งออกมากที่สุดที่ 3.91 USD

ชนิดที่นิยมปลูก[แก้]

  1. English lavender (Common Lavender) - ชื่อวิทยาศาสตร์ Lavandula angustifolia Mill.
  2. Spanish lavender - ชื่อวิทยาศาสตร์ Lavandula stoechas L.
  3. Yellow lavender - ชื่อวิทยาศาสตร์ Lavandula viridis L'Hér.
  4. French lavender - ชื่อวิทยาศาสตร์ Lavandula dentata L.
  5. Wooly lavender - ชื่อวิทยาศาสตร์ Lavandula lanata Boiss.
  6. Portuguese lavender- ชื่อวิทยาศาสตร์ Lavandula latifolia Medik.
  7. Egyptian lavender - ชื่อวิทยาศาสตร์ Lavandula multifida L.

การเพาะปลูก[แก้]

การเตรียมตัวก่อนปลูก[แก้]

ลาเวนเดอร์มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีการกระจายพันธุ์ ความทนทานต่อสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ขั้นแรกควรเลือกชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมต่อสถานที่ปลูกและขนาดของต้นกล้าที่จะนำมาปลูกเพื่อเหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการปลูกลาเวนเดอร์คือเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าฤดูร้อนอย่างเต็มที่ ความชื้นในดินจากฤดูหนาวเริ่มลดลง

การดูแล[แก้]

ลาเวนเดอร์ชอบแดดจัดและดินที่ระบายน้ำได้ดี ดินที่เสื่อมโทรมและค่อนข้างเป็นเบส แต่ก็มีข้อควรระวังในช่วงเริ่มต้นควรควคุมน้ำในแปลงให้สม่ำเสมอก่อนเพื่อให้เวลาลาเวนเดอร์ได้ปรับตัวกับสถานที่ปลูก จากนั้นก็จะสามารถเลี้ยงในสภาวะที่แล้งมากขึ้นได้ ในบางประเทศและบางสวนอาจมีการตัดยอดนช่วงปลายฤดูร้อนเพื่อให้ฟอร์มต้นสวยงาม ส่วนมากจะนิยมทำกันในแปลงที่ส่งทั้งช่อเพื่อการค้าขาย

ข้อควรระวัง[แก้]

อย่าปลูกต้นอ่อนในช่วงฤดูหนาวเพราะความชื้นทั้งในดินและสภาพอากาศที่ชื้นจะทำให้รากและต้นเน่าตายได้ ส่วนในเรื่องแมลงที่เป็นศัตรูกับลาเวนเดอร์มีหลายชนิด เช่น rosemary beetle, sage and ligurian leafhopper, cuckoo spit และ Xylella sp.

การเก็บเกี่ยว[แก้]

การเก็บเกี่ยวลาเวนเดอร์นั้นระยะเวลา วิธีการเก็บ ส่วนของต้นที่เก็บจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ จะแบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้

  1. ช่อดอกแห้งเพื่อการตกแต่ง - ให้เก็บเกี่ยวลาเวนเดอร์ก่อนฤดูกาลที่ช่อดอกจะบาน
  2. นำไปทำอาหาร - ให้เก็บเกี่ยวลาเวนเดอร์ก่อนฤดูกาลที่ช่อดอกจะบานและเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล
  3. ช่อดอกสด - เก็บเกี่ยวต้นเมื่อดอกเริ่มบานประมาณครึ่งหนึ่งของช่อดอกทั้งหมด
  4. นำไปทำสารสกัด - รอจนกว่าดอกทั้งหมดจะบานบนช่อ

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Concise Oxford Dictionary
  2. Mrs. M. Grieve, A Modern Herbal, Vol. II (New York: Dover Publications, Inc., 1971; ISBN 0-486-22799-5) https://www.spiritualbotany.com/plant-profiles/english-lavender-lavandula-angustifolia-mill-botanical-versatility/ https://www.britannica.com/plant/lavender https://bleulavande.com/en/pages/la-lavande https://www.rhs.org.uk/plants/lavender/growing-guide https://www.bhg.com/how-to-harvest-lavender-7374019