ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนประชาสงเคราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนประชาสงเคราะห์ หัวไผ่
ละติน: Prachasongkhrao School
Prachasongkhao School
ที่ตั้ง
71 หมู่ 1 ตำบลโคกขี้หนอน
อำเภอพานทอง ชลบุรี
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.ส. หรือ P.S.
ประเภทสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สถาปนา1 พฤษภาคม 2488 (83 ปี 200 วัน)
ผู้ก่อตั้งแจง เกิดสว่าง
หน่วยงานกำกับโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี (รสจ.)
โรงเรียนสังกัด สช. ประเภทสามัญศึกษา
ผู้อำนวยการซิสเตอร์นิภา รักผกาวงศ์ [1]
สี   น้ำเงิน-ขาว

ศิษย์เก่าสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนประชาสงเคราะห์ หัวไผ่
ดอกไม้ประจำโรงเรียนดอกเฟื้องฟ้า
เว็บไซต์http://www.prachasongkhrao.ac.th

โรงเรียนประชาสงเคราะห์ หัวไผ่ (อังกฤษ: Prachasongkhrao School) อักษรย่อ ป.ส. เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก ตั้งอยู่เลขที่ 71 หมู่ 1 ตำบลโคกขี้หนอน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เดิมชื่อโรงเรียนราษฎร์วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของโบสถ์คาทอลิกนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ และสังกัดโรงเรียนคาทอลิกเขตมิสซังจันทบุรี เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นเตรียมอนุบาล ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยทำการเปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 โดยพระคุณเจ้ายาโกเบ แจง เกิดสว่าง เป็นผู้ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนหลังจากเกิดกรณีพิพาทอินโดจีน ปัจจุบ้นมี ซิสเตอร์นิภา รักผกาวงศ์ เป็นผู้อำนวยการ บาทหลวงอิทธิพล หางสลัด เป็นผู้จัดการ และ บาทหลวงทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต เป็นผู้แทนรับใบอนุญาต [2]

ประวัติ

[แก้]

บุกเบิก

[แก้]

โรงเรียนประชาสงเคราะห์ หัวไผ่ ก่อตั้งแบบไม่เป็นทางการขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2448 โดยบาทหลวงเรอเน แปร์รอส เจ้าอาวาสโบสถ์คาทอลิกนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่[3] บาทหลวงแปร์รอสมีการแบ่งฝั่งโรงเรียนเป็นฝ่ายชาย และหญิง โดยได้เชิญครูเณรจากสามเณราลัยพระหฤทัย บางช้าง ที่ราชบุรีมาช่วยสอนฝั่งนักเรียนชาย และได้เชิญครูชีถวายตัวมาสอนฝั่งนักเรียนหญิง
เวลาเรียนของเด็กนั้นจะเริ่มเรียนในช่วงฤดูร้อนไปถึงฤดูการทำนา หลังจากนั้นก็จะหยุดเรียนชั่วคราว เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้รับใช้บิดามารดาของตนในการดูแลวัวบ้าง ควายบ้าง ช่วยงานบ้างและอื่น ๆ หลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการทำนาแล้ว ก็จะเรียนหนังสือต่อไป เด็กนักเรียนในสมัยของคุณพ่อแปรรอสมีประมาณ 60 คน

การขอเปิดโรงเรียนหลังสงคราม

[แก้]

การเรียนการสอนดำเนินการมาเรื่อย ๆ จนมาถึงสมัยของ บาทหลวงยาโกเบแจง เกิดสว่าง ได้เกิดสงครามอินโดจีนขึ้นทำให้โรงเรียนต้องปิดตัวลงนักเรียนบางส่วนไม่ได้รับการศึกษาต่อ และนักเรียนบางส่วนได้คุณพ่อจากพนัสนิคมชักชวนไปเรียนต่อที่บ้านเณรศรีราชา จนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการอนุญาตให้โรงเรียนกลับมาเปิดการเรียนการสอนอีกครั้งโดยให้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประชาสงเคราะห์ หัวไผ่ โดยมีการแยกฝั่งของโรงเรียนเช่นเดิมคือ ฝั่งประถม มีมาสเซอร์เกษร ทองเหลือง เป็นครูใหญ่ และฝั่งมัธยม มีมาสเซอร์เพิ่ม ศรีวิจารณ์ เป็นครูใหญ่ มีบาทหลวงสนิท วรศิลป์ เป็นผู้จัดการของโรงเรียน และมี ฯพณฯ ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง เป็นเจ้าของโรงเรียน มีการเก็บค่าเล่าเรียนฝั่งประถมปีการศึกษาละ 15 บาท ฝั่งมัธยมปีการศึกษาละ 30 บาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 บาทหลวงสนิท วรศิลป์ ได้ทำการรวมทั้ง 2 โรงเรียเข้าด้วยกัน โดยมีนายเจริญ ยุ่นประยงค์ เป็นครูใหญ่ [4]

ปัจจุบัน

[แก้]

ในปัจจุบันโรงเรียนประชาสงเคราะห์หัวไผ่มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาลถึงระดับมันธยมศึกษาตอนต้นมีนักเรียนทั้งสิ้น 496 คน [5] มีอาคารเรียน 3 ชั้นหนึ่งอาคารชื่อ อาคารประชาสงเคราะห์ โดยมีซิสเตอร์นิภา รักผากวงศ์ เป็นผู้อำนวยการ

อาคารเรียน

[แก้]

เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2528 พระสังฆราชลอเรนซ์เทียนชัย สมานจิตอนุมัติให้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นอาคารสามชั้น ขนาด 64 × 9 เมตร พร้อมทั้งโถงเอนกประสงค์ ขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 40 เมตร (ปัจจุบันคือโรงอาหาร) และห้องน้ำของโรงเรียน[6] งบประมาณในการสร้างประมาณห้าล้านบาท ซึ่งโบสถ์คาทอลิกหัวไผ่เป็นผู้จัดหาทุนเอง โดยให้ คุณพิเชษฐ์ ศุภกิจจานุสันต์ บริษัท P.A. DESIGN เป็นผู้ออกแบบ และผู้รับเหมาก่อสร้าง สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529

13 ธันวาคม พ.ศ. 2529 พระสังฆราชลอเรนซ์เทียนชัย สมานจิต ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดเสกอาคารเรียนหลังใหม่ และมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตประธานรัฐสภา มาเป็นประธานร่วมเปิดอาคารเรียนหลังใหม่หลังนี้ด้วย [7]

สัญลักษณ์

[แก้]

ตราประจำโรงเรียน

[แก้]
  • คบเพลิง หมายถึง ความรู้แสงสว่างของปัญญาที่รุ่งโรจน์
  • รัศมี หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ที่แผ่กระจายดังรัศมี คือนักเรียนโรงเรียนประชาสงเคราะห์ได้นำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
  • อักษรย่อ ป.ส. หมายถึง นักเรียนโรงเรียนประชาสงเคราะห์
  • โล่ หมายถึง คุณธรรม จริยธรรม นักเรียนโรงเรียนประชาสงเคราะห์เป็นบุคลที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาเปรียบเสมือนโล่ที่ป้องกันตนเองให้พ้นจากอันตรายจากสิ่งต่าง ๆ [8]

สีประจำโรงเรียน

[แก้]

สีประจำโรงเรียนคือ สีน้ำเงิน และ สีขาว หมายถึงความเข้มแข็ง และอดทน [9]

ดอกไม้ประจำโรงเรียน

[แก้]

ดอกไม้ประจำโรงเรียนคือ ดอกเฟื้องฟ้า [10]

ต้นไม้ประจำโรงเรียน

[แก้]

ต้นไม้ประจำโรงเรียนคือ ต้นประดู่ [11]

ทำเนียบผู้อำนวยการ

[แก้]

รายนามครูใหญ่โรงเรียนประชาสงเคราะห์ ฝั่งประถมศึกษา

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 มาสเซอร์เกษร ทองเหลือง (มีการรวมฝั่งของโรงเรียนในปี พ.ศ. 2495) 2488 – 2495

รายนามครูใหญ่โรงเรียนประชาสงเคราะห์ ฝั่งมัธยมศึกษา

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 มาสเซอร์เพิ่ม ศรีวิจารณ์ 2488 - 2490
2 มาสเซอร์ประเชิญ สิงหเสนี 2490 - 2492
3 มาสเซอร์สุเจนต์ แซ่ตั๊น 2492 - 2494
4 มาสเซอร์เจริญ ยุ่นประยงค์ 2494 - 2506
5 มาสเซอร์ศักดิ์ ทองเหลือง 2506 - 2508
6 บาทหลวงวาณิช คุโรวาท 2508 - 2512
7 บาทหลวงพิพัฒน์ ทนุพันธ์ 2512 - 2519
8 มาสเซอร์ศักดิ์ ทองเหลือง (รักษาการ) 2519
9 ซิสเตอร์ฉวีวรรณ เชาวน์ดี 2519 - 2525
10 ซิสเตอร์มุกดา วิจิตรวงศ์ 2525 - 2528
11 ซิสเตอร์บุญศรี วิสุทธิอุทัยกุล 2528 - 2534
12 ซิสเตอร์สาลี่ ตันติกุล 2534 - 2536
13 ซิสเตอร์รุ่งทิพย์ พัฒนภิรมย์ 2536 - 2537
14 ซิสเตอร์ลำยงค์ อุ้นวุ้น 2537 - 2541
15 ซิสเตอร์จำเนียร บุญทัน 2541 - 2543
16 ซิสเตอร์วันเพ็ญ ไชยเผือก 2543 - 2547
17 ซิสเตอร์วันทา สิทธิพล 2547 - 2548
18 ซิสเตอร์บุญเลิศ โยธารักษ์ 2548 - 2551
19 ซิสเตอร์กัลยา ยุติธรรม 2551 - 2556
20 ซิสเตอร์วันเพ็ญ ไชยเผือก 2556 - 2558
21 ซิสเตอร์ลัดดา เชยบุญ 2558 - 2561
22 ซิสเตอร์นิภา รักผกาวงศ์ 2561 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่า

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
อ้างอิง
  1. http://www.prachasongkhrao.ac.th/ เก็บถาวร 2020-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. http://cfbt.or.th/pb/index.php/article/46-chonburi เก็บถาวร 2021-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บรรณานุกรม
  1. http://chandiocese.org/2020/notis-04-24-20.pdf
  2. http://chandiocese.org/2020/notis-04-08-20.pdf
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
  4. อนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนประชาสงเคราะห์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 1941 - 2001. ชลบุรี : มปท., 2544. หน้า 60.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
  6. พิทักษ์ โยธารักษ์. 1880 - 1990 ศตสมโภชชุมชนแห่งความเชื่อ 110 ปี หิรัญสมโภช โบสถ์หลังปัจจุบัน. ชลบุรี : มปท., 2533. หน้า 74.
  7. พิทักษ์ โยธารักษ์. 1880 - 1990 ศตสมโภชชุมชนแห่งความเชื่อ 110 ปี หิรัญสมโภช โบสถ์หลังปัจจุบัน. ชลบุรี : มปท., 2533. หน้า 63.
  8. อนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนประชาสงเคราะห์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 1941 - 2001. ชลบุรี : มปท., 2544. หน้า 55.
  9. อนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนประชาสงเคราะห์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 1941 - 2001. ชลบุรี : มปท., 2544. หน้า 54.
  10. อนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนประชาสงเคราะห์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 1941 - 2001. ชลบุรี : มปท., 2544. หน้า 56.
  11. อนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนประชาสงเคราะห์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 1941 - 2001. ชลบุรี : มปท., 2544. หน้า 57.