ข้ามไปเนื้อหา

โฆเซ อันโตนิโอ กามาโช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฆเซ อันโตนิโอ กามาโช
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม โฆเซ อันโตนิโอ กามาโช อัลฟาโร
วันเกิด (1955-06-08) 8 มิถุนายน ค.ศ. 1955 (69 ปี)
สถานที่เกิด สเปน ซิเอซา, แคว้นมูร์เซีย, ประเทศสเปน
ส่วนสูง 1.74 m (5 ft 8 12 in)
ตำแหน่ง แบ็คซ้าย
สโมสรเยาวชน
อัลบาเซเต
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
ค.ศ. 1972–1973 อัลบาเซเต
ค.ศ. 1973–1974 กัสติยา
ค.ศ. 1974–1989 เรอัลมาดริด 414 (9)
ทีมชาติ
ค.ศ. 1973 สเปน ยู-18 ปี 3 (0)
ค.ศ. 1975–1976 สมัครเล่นสเปน 2 (0)
ค.ศ. 1975–1988 ทีมชาติสเปน 81 (0)
จัดการทีม
ค.ศ. 1992–1993 ราโยบาเยกาโน
ค.ศ. 1994–1996 อัสปัญญ็อล
ค.ศ. 1996–1997 เซบิยา
ค.ศ. 1997–1998 อัสปัญญ็อล
ค.ศ. 1998–2002 ทีมชาติสเปน
ค.ศ. 2002–2004 ไบฟีกา
ค.ศ. 2004 เรอัลมาดริด
ค.ศ. 2007–2008 ไบฟีกา
ค.ศ. 2008–2011 โอซาซูนา
ค.ศ. 2011–2013 ทีมชาติจีน
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

โฆเซ อันโตนิโอ กามาโช อัลฟาโร (สเปน: José Antonio Camacho Alfaro; 8 มิถุนายน ค.ศ. 1955 – ) เป็นนักฟุตบอลผู้เกษียณตัวชาวสเปนซึ่งเล่นในตำแหน่งกองหลัง และปัจจุบันทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ

เขาลงแข่งขันเป็นระยะเวลา 15 ปีในระดับอาชีพร่วมกับสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด โดยปรากฏตัวกว่า 500 นัดในการแข่งขันอย่างเป็นทางการและมีส่วนช่วยให้ทีมดังกล่าวชนะใน 19 รายการที่สำคัญ รวมถึงการแข่งขันลาลิกา ต่อจากนั้น เขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน รวมถึงสองช่วงเวลาสั้น ๆ กับสโมสรหลักของเขา

กามาโชได้ลงเล่นมากกว่า 80 นัดให้แก่ทีมชาติสเปน เป็นตัวแทนในฟุตบอลโลกสองสมัยและในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปหลายครั้ง นอกจากนี้ เขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา โดยได้พาทีมดังกล่าวเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลโลก 2002

ผลงานระดับอาชีพ

[แก้]

กามาโชเกิดที่ซิเอซา แคว้นภูมิภาคมูร์เซีย ภายหลังจากที่เล่นฟุตบอลเยาวชนให้แก่อัลบาเซเตบาลอมปิเอ เขาก็ได้ย้ายไปอยู่กับทีมยักษ์ใหญ่ของลาลิกาอย่างเรอัลมาดริดขณะที่มีอายุได้ 18 ปี ซึ่งเกือบจะได้เข้าทีมชุดใหญ่ในทันที การเปิดตัวครั้งแรกของเขามาจากการส่งมอบโดยผู้จัดการทีมชื่อลุยส์ โมโลว์นิ

ในช่วงที่ย้ายมาอยู่กับเรอัลมาดริดของเขา กามาโชได้ลงเล่นในเกือบ 600 นัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ (414 นัดในลีกเพียงอย่างเดียว) โดยเข้าขาได้อย่างช่ำชองกับเพื่อนร่วมทีมปีกซ้ายที่มีชื่อว่าราฟาเอล กอร์ดิลโล ผู้ซึ่งเล่นเป็นกองกลางเป็นส่วนใหญ่ภายหลังจากนั้น ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1978 เขาได้รับบาดเจ็บสาหัสในการฝึกซ้อม ซึ่งทำให้อาชีพของเขาต้องหยุดชะงักลงเป็นเวลาสองปี แต่แล้ว เขาก็กลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง โดยเป็นฝ่ายช่วยให้ทีมจากเมืองหลวงเป็นฝ่ายชนะยูฟ่าคัพแบบติดต่อกัน[1]

กามาโชยังได้ลงเล่น 81 ครั้งให้แก่ทีมชาติสเปน เขาปรากฏตัวครั้งแรกตั้งแต่ตอนอายุยังไม่ถึง 20 ปี โดยได้เปิดตัวครั้งแรก ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 และเป็นฝ่ายเสมอต่อทีมชาติสกอตแลนด์ที่ 1–1 ประตูในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1976 รอบคัดเลือก ที่บาเลนเซีย[2]

เป็นระยะเวลา 13 ปี ที่กามาโชทำหน้าที่เป็นกองหลังหลักสำคัญให้แก่ทีมชาติ โดยได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นตัวจริงอยู่ตลอดเวลาสำหรับฟุตบอลโลก 1982 และ 1986 ตลอดจนฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 และ 1988 หลังจากการเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมชาติเยอรมนีตะวันตกในการแข่งขันครั้งหลังที่ 0–2 ประตู เขาก็ได้อำลาออกจากการแข่งขันระหว่างประเทศขณะอายุได้ 33 ปี

ผลงานการฝึกสอน

[แก้]

ช่วงเริ่มต้น

[แก้]

หลังจากการเกษียณในฐานะผู้เล่นใน ค.ศ. 1989 กามาโชเริ่มต้นการฝึกสอนด้วยการเป็นสตาฟฟ์โค้ชของเรอัลมาดริด ประสบการณ์อาชีพครั้งแรกของเขาคือการใช้เวลาอยู่ร่วมกับทีมราโยบาเยกาโนและแอร์ราเซเด อัสปัญญ็อล ซึ่งเขาเป็นผู้มีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้แก่ทั้งสองทีมในการแข่งขันดิวิชันแรก

ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1998 กามาโชเข้ารับทำหน้าที่ให้แก่เรอัลมาดริดชุดใหญ่ แต่ก็ออกจากทีมในช่วงเพียง 22 วันหลังจากนั้นเนื่องด้วยความขัดแย้งกับผู้บริหารของสโมสร[1]

สเปน

[แก้]

กามาโชได้รับช่วงต่อจากคาเบียร์ เคลเมนเต ในการทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 หลังจากเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมชาติไซปรัสที่ 2–3 ประตูในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 รอบคัดเลือก และทีมสามารถปรับเข้ากับผู้นำคนใหม่ได้อย่างรวดเร็วโดยสามารถเข้าสู่รอบสุดท้าย แต่ก็ได้ตกรอบไปเมื่อได้พบกับแชมป์อย่างทีมชาติฝรั่งเศสในรอบก่อนรองชนะเลิศ

สองปีต่อมา ทีมชาติของกามาโชได้เป็นฝ่ายแพ้ในรอบเดียวกันนี้ต่อทีมชาติเกาหลีใต้ในฟุตบอลโลก 2002 และตามมาซึ่งข้อถกเถียงจากความพ่ายแพ้[3] เขาได้ประกาศถึงการลาออกของเขาเอง และได้รับการแทนที่โดยอีญากี ซาเอซ

ไบฟีกาและเรอัลมาดริด / โอซาซูนา

[แก้]

หลังจากนั้น กามาโชกลับไปร่วมงานกับสโมสร โดยได้รับการแต่งตั้งจากสปอร์ลิชบัวอีไบฟีกาของประเทศโปรตุเกสเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 เนื่องด้วยการปลดเชซูอัลโด แฟร์เรรา ออกจากสโมสร สองปีต่อมา ทีมของเขาก็ชนะการแข่งพอร์ชุกีสคัพโดยได้พบกับโชเซ มูรีนโย ผู้นำทีมสโมสรฟุตบอลโปร์ตูในช่วงทดเวลาพิเศษ รวมถึงได้อันดับสองในลีก ซึ่งจัดว่าเอาชนะได้ยากในวันที่เขาแสดงผลงาน นอกจากนี้เขายังได้แสดงให้เห็นตัวตนความเป็นมนุษย์ในอีกด้าน เมื่อเขาร่ำไห้รำลึกถึงหลังจากที่มิครอส เฟเฮอร์ ได้เสียชีวิตในสนาม ไม่นานหลังจากการแข่งขันระหว่างไบฟีกากับวีตอรียาดือกีมาไรช์

สำหรับฤดูกาล 2004–05 กามาโชได้กลับไปยังเรอัลมาดริดด้วยข้อตกลงเป็นระยะเวลาสองปี เพื่อเข้ารับหน้าที่แทนการถูกปลดของกาลูซ กายลอซ

ทีมชาติจีน

[แก้]

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2011 กามาโชเข้ารับหน้าที่คุมทีมชาติจีน โดยเซ็นสัญญาข้อตกลงเป็นระยะเวลาสามปีด้วยค่าจ้างรายปีที่ 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] หัวหน้าสมาคมฟุตบอลจีนชื่อเหวยตี๋ได้อธิบายว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวที่จะช่วยให้ฟุตบอลทีมชาติมีความทัดเทียมกับทีมชาติญี่ปุ่นและทีมชาติเกาหลีใต้ โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่า "เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านของเราอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ วงการฟุตบอลจีนยังคงตามหลังอยู่ห่างไกล เราจำเป็นต้องทำงานด้วยวิสัยทัศน์ในระยะยาวและเริ่มที่จะกวดขันกับวิธีการปฏิบัติ แฟน ๆ จำนวนมากของเราคาดหวังว่าจีนจะผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 2014 รอบชิงชนะเลิศที่ประเทศบราซิล พวกเขากลัวว่าการเปลี่ยนผู้ฝึกสอนในช่วงเวลาสุดท้ายอาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อโอกาสในการผ่านเข้ารอบของทีม ผมเข้าใจต่อสิ่งดังกล่าวทั้งหมด ซึ่งเราจะไม่ให้มีการสูญเสียเวลาแต่อย่างใด"[5]

รองประธานศูนย์บริหารฟุตบอลจีนชื่อหยู ฮงเฉิน ยังได้เพิ่มเติมอีกด้วยว่า: "ในรอบคัดเลือกสู่ฟุตบอลโลก 2014 เป็นเพียงหน้าที่ชั่วคราวสำหรับเขา ถึงจะล้มเหลว กามาโชก็จะไม่สูญเสียงาน เมื่อเราเริ่มที่จะหาผู้ฝึกสอนคนใหม่ให้แก่ทีมชาติ เราได้มุ่งเน้นไปยังประเทศในทวีปยุโรปเป็นส่วนใหญ่ เช่น ประเทศเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์ และสเปน ประการแรก พวกเขามีแนวความคิดต่อฟุตบอลในระดับสูง และประการที่สอง พวกเขามีระบบการฝึกอบรมเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเราสามารถเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้ได้ เราหวังว่าเขาจะสามารถหารูปแบบที่เหมาะสมแก่เราได้"[5]

อย่างไรก็ตาม ทีมชาติจีนก็ล้มเหลวในการคัดเลือกเข้าสู่ฟุตบอลโลก 2014 หลังจากการได้เพียงอันดับสามของกลุ่มในการคัดเลือกรอบที่สามด้วยการเป็นฝ่ายชนะสามครั้งและแพ้สามครั้ง กามาโชยังมีส่วนเกี่ยวข้องต่อความพ่ายแพ้ของทีมหนุ่มจีนให้แก่ทีมชาติบราซิลที่ 0–8 ประตู ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2012 ของการแข่งขันกระชับมิตร ซึ่งนับเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่หลวงที่สุดของทีมชาติเท่าที่เคยมีมา ทั้งยังส่งผลให้อันดับของทีมลดลงมาอยู่ที่ 109 ของอันดับโลกฟีฟ่า[6]

ในเกมแรกของการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก กามาโชกับทีมชาติจีนเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมชาติซาอุดีอาระเบียที่ 1–2 ประตู[7] ตามมาด้วยความพ่ายแพ้สุดช็อกเมื่อพบกับทีมชาติไทยในนัดอุ่นเครื่องเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ที่ 1–5 ประตู ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่ง[8] และได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ฝึกสอนที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการฟุตบอลจีน[9]

เกียรติประวัติ

[แก้]

ผู้เล่น

[แก้]

สโมสร

[แก้]
เรอัลมาดริด

ทีมชาติ

[แก้]

ผู้จัดการทีม

[แก้]
ไบฟีกา

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]