ข้ามไปเนื้อหา

แอลเบเนียในอารักขาของอิตาลี (ค.ศ. 1939–1943)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย

Mbretënia e Shqipënisë (แอลเบเนีย)
Regno d'Albania (อิตาลี)
1939–1943
ธงชาติแอลเบเนียในอารักขาของอิตาลี (ค.ศ. 1939–1943)
ธงชาติ
เพลงชาติฮีมนี อี ฟลามูริท
("เพลงสรรเสริญแก่ธง")

แอลเบเนียใน ค.ศ. 1942
แอลเบเนียใน ค.ศ. 1942
สถานะรัฐร่วมประมุขกับราชอาณาจักรอิตาลี
เมืองหลวงติรานา
ภาษาทั่วไปแอลเบเนีย
อิตาลี
ศาสนา
อิสลาม
คริสต์ (โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์)
เดมะนิมชาวแอลเบเนีย
การปกครองลัทธิฟาสซิสต์ รัฐพรรคการเมืองเดียวรวบอำนาจเบ็ดเสร็จภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ 
• 1939–1943
วิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3
รองพระมหากษัตริย์ 
• 1939–1943
Francesco Jacomoni
• 1943
Alberto Pariani
นายกรัฐมนตรี 
• 1939–1941
Shefqet Vërlaci
• 1941–1943
Mustafa Merlika-Kruja
• 1943
Maliq Bushati
• 1943
Ekrem Libohova
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม · สงครามโลกครั้งที่สอง
12 เมษายน 1939
10 กรกฎาคม 1941
8 กันยายน 1943
พื้นที่
1939[1]27,538 ตารางกิโลเมตร (10,632 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1939[1]
1,063,893
สกุลเงินฟรังกา (1939–1941)
ลีราอิตาลี (1941–1943)
ก่อนหน้า
ถัดไป
1939:
ราชอาณาจักรแอลเบเนีย
1941:
มณฑลเซตา
มณฑลวาร์ดาร์
เยอรมนีเข้ายึดครอง

แอลเบเนียในอารักขาของอิตาลี บางครั้งรู้จักกันในชื่อ ราชอาณาจักรแอลเบเนีย หรือ เกรตเทอร์แอลเบเนีย[2][3] เป็นช่วงเวลาหนึ่งของประเทศแอลเบเนียในฐานะรัฐในอารักขาของราชอาณาจักรอิตาลี ซึ่งทางปฏิบัติแล้วถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งกับอิตาลี มีประมุขแห่งรัฐคือพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี และมีรัฐบาลของตนเองอย่างเป็นทางการ จากการที่แอลเบเนียตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ว่าการอิตาลีนับตั้งแต่การยึดครองทางทหารใน ค.ศ. 1939 จนถึง ค.ศ. 1943 ทำให้แอลเบเนียในช่วงเวลานี้ยุติสถานะความเป็นรัฐเอกราชลงและกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตปกครองตนเองของจักรวรรดิอิตาลี รัฐบาลอิตาลีพยายามหลอมรวมแอลเบเนียตามแนวคิดเกรตเทอร์อิตาลี โดยการเปลี่ยนชาวแแอลเบเนียเป็นพลเมืองอิตาลี และเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของชาวอิตาลีในแอลเบเนียมากขึ้นเพื่อเปลี่ยนแอลเบเนียให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอิตาลีทีละน้อย[4]

ตามสนธิสัญญาลอนดอนในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไตรภาคีได้ให้สัญญาการยกดินแดนแอลเบเนียตอนกลางและใต้แก่อิตาลีเพื่อตอบแทนสำหรับการเข้าร่วมต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง[5] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1917 เมื่อทหารอิตาลีเข้ายึดครองพื้นที่จุดสำคัญของแอลเบเนีย อิตาลีได้ประกาศให้แอลเบเนียตอนกลางและใต้เป็นรัฐในอารักขาของตน อย่างไรก็ตาม สัญญาที่ให้ไว้กับอิตาลีถูกระงับลงในเดือนกันยายน ค.ศ. 1920 เมื่ออิตาลีได้รับแรงกดดันให้ถอนกำลังออกจากดินแดนดังกล่าว[5] อิตาลีไม่พอใจต่อผลตอบแทนที่ได้รับเพียงเล็กน้อยจากการเจรจาสันติภาพ ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสนธิสัญญาลอนดอน นักฟาสซิสต์อิตาลีได้อ้างว่าชาวแอลเบเนียมีความเชื่อมโยงทางชาติพันธุ์กับชาวอิตาลีจากการโยงใยกับประชากรอิตาริค อิลลิเรีย และโรมโบราณ และได้กล่าวถึงอิทธิพลของจักรวรรดิโรมันและเวนิสที่มีต่อแอลเบเนีย ซึ่งทำให้อิตาลีมีสิทธิในการครองครองดินแดนนี้[6] นอกจากนี้ ชาวแอลเบเนียหลายแสนคนยังถูกบังคับอพยพไปยังภาคใต้ของอิตาลี เพื่อใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการผนวกแอลเบเนียเป็นรัฐเดียว[7] อิตาลีให้การสนับสนุนอุดมการณ์เรียกร้องดินแดนของชนชาติเดียวกันของชาวแอลเบเนีย โดยมุ่งต่อต้านดินแดนคอซอวอของยูโกสลาเวีย และอิไพรัสของกรีซที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นแอลเบเนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวพรมแดนชาเมเรีย (Chameria) ที่มีชนกลุ่มน้อยแอลเบเนียชาติพันธุ์ชาม (Cham Albania) อาศัยอยู่[8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Soldaten-Atlas (Tornisterschrift des Oberkommandos der Wehrmacht, Heft 39). Leipzig: Bibliographisches Institut. 1941. p. 32.
  2. Micheletta, Luca (2007), "Questioni storiche: Italy, Greater Albania and Kosovo 1939–1943", Nuova Rivista Storica, 2/2013, Universita degli studi di Roma La Sapienza: 521–542
  3. Papa Pandelejmoni, Enriketa (2012), Doing politics in Albania doing World War II: The case of Mustafa Merlika Kruja fascist collaboration, Založba ZRC, ZRC SAZU, pp. 67–83, ISBN 978-9612544010
  4. Lemkin, Raphael; Power, Samantha (2008), Axis Rule in Occupied Europe, The Lawbook Exchange, Ltd., pp. 99–107, ISBN 978-1584779018
  5. 5.0 5.1 Nigel Thomas. Armies in the Balkans 1914–18. Osprey Publishing, 2001. p. 17.
  6. Rodogno., Davide (2006). Fascism's European empire: Italian occupation during the Second World War. Cambridge University Press. p. 106. ISBN 0521845157.
  7. Owen Pearson. Albania in the twentieth century: a history, Volume 3. London; New York: I.B. Taurus Publishers, 2004. p. 389.
  8. Fischer, Bernd Jürgen (1999), Albania at War, 1939–1945, C. Hurst & Co. Publishers, pp. 70–73, ISBN 978-1850655312

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]