ข้ามไปเนื้อหา

เอกโองการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"อิกโองการ" เขียนแบบลายมือ

เอกโองการ หรือ อิกโองการ (ละติน: Ik Onkar, คุรมุกขี: , ਇੱਕ ਓਅੰਕਾਰ)[1] เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนพระเป็นเจ้าสูงสุดพระองค์เดียวในศาสนาซิกข์[2][3] อิกโองการ สามารถพบได้เป็นหลักไปในมูลมนตร์ (Mul Mantar) และเป็นคำเริ่มเปิดในคุรุกรันตสาหิบ[1] คำว่า อิก (ਇੱਕ; จากรากคำว่า เอก) แปลว่า หนึ่งเดียว ไม่มีผู้ใดเปรียบได้[4] โองการ (ਓਅੰਕਾਰ) คือเสียงเรียกพระนามของพระเจ้าที่คงอยู่อย่างก้องกังวาล ไพเราะ ตลอดไป[5]

หรือหากมองในอีกมุมหนึ่ง "อิก" หมายถึงหนึ่งเดียว, "โอง" หมายถึงผู้สร้าง และ "การ" หมายถึงสิ่งสร้าง พระนามนี้จึงสื่อว่าพระเจ้าผู้สร้างนั้นทรงสถิตอยู่ในทุกสิ่งสร้าง และไม่ต่างจากสิ่งสร้างของพระองค์

อิกโองการใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกเทวนิยมของศาสนาซิกข์อย่างชัดเจน อันแปลความว่า "พระเจ้ามีองค์เดียว"[6] อักษรสัญลักษณ์นี้เป็นอักษรที่พัฒนามาจากภาษาปัญจาบ[7] และพบในอักษรคุรมุขี[8] นอกจากจะพบในมูลมนตร์, คุรุกรันตสาหิบ และในคุรุทวาราทั่วไปแล้ว ยังพบเป็นพระนามของพระผู้เป็นเจ้าในนิตนาม (Nitnem คือบทสวดยามเช้า) และ จัปจิสาหิบ (Japji Sahib)

สัญลักษณ์นี้ประกอบขึ้นมาจาก อักษรเลข (อ่านว่า เอก/อิก) แปลว่า หนึ่งเดียว และ อักษรของสระตัวแรกของคำว่า "โองการ" ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกในอักษรคุรมุขีเช่นกัน หากใส่เสียงวรรณยุกต์เข้าไปก็จะเป็นอักษร

ยูนิโคดของ "เอก องการ์" คือ U+0A74 (ੴ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Doniger, Wendy (1999). Merriam-Webster's encyclopedia of world religions. Merriam-Webster. p. 500. ISBN 978-0-87779-044-0. สืบค้นเมื่อ 2015-09-23.
  2. "Basic Articles". SGPC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2012. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.
  3. Rose, David (2012). Sikhism photpack. Fu Ltd. p. 10. ISBN 1-85276-769-3.
  4. "ਇੱਕ - meaning in English". Shabdkosh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.
  5. "Ek-Omkār / Ik-Omkār / Ekankār It is from the Sanskrit word Omkar. The mystic name of God. It is used at the beginning of prayers and holy recitations, and also at the beginning of writing respectful salutations. The unmanifest, God in power, the holy word, the primal manifestation of Godhead by which and in which all live, move and have their being and by which all find a way back to Absolute God. God is the Supreme Reality. His other name is 'Sat Nām'. The Sikhs meditate on God as Ek-Omkar, and not in any other way like worship of idols “Rām Nām Jap Ek-Omkar". (GGS, p. 185) Ek Omkar is the Transcendent Lord of entire creation, who existed before the creation and who alone will survive the creation. (GGS, pp. 296 and 930, and Bhai Gurdas Var, 4011.)" — Ramesh Chander Dogra & Gobind Singh Mansukhani, Encyclopaedia of Sikh Religion and Culture, pp 138–139
  6. Real Sikhism: Meaning of word Ik Onkar.
  7. Mayled, John (2002). Sikhism. Heinemann. p. 16. ISBN 0-435-33627-4.
  8. David Rose, Gill Rose (2003). Sacred Texts photopack. Folens Limited. p. 12. ISBN 1-84303-443-3.