เรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ 2 – โคด: เวโรนิกา
เรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ 2 – โคด: เวโรนิกา | |
---|---|
ภาพกล่องสำหรับเพลย์สเตชัน 2 ของทวีปยุโรป | |
ผู้พัฒนา | แคปคอม, นัมโค, เนกซ์เทค, บริษัท ซิมส์ จำกัด |
ผู้จัดจำหน่าย | แคปคอม, นัมโค |
แต่งเพลง | ฮิโรชิ อิงาราชิ |
ชุด | เรซิเดนต์อีวิล |
เครื่องเล่น | อาร์เคด, เพลย์สเตชัน 2 |
วางจำหน่าย | อาร์เคด
|
แนว | ไลต์กันชูตเตอร์ |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
ระบบอาร์เคด | เซกา นาโอมิ |
เรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ 2 – โคด: เวโรนิกา (อังกฤษ: Resident Evil Survivor 2 – Code: Veronica)[a] เป็นวิดีโอเกมไลต์กันชูตเตอร์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทแคปคอมโดยเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์เรซิเดนต์อีวิล โดยเวอร์ชันอาร์เคดได้รับการพัฒนาร่วมกับบริษัทนัมโคสำหรับเครื่องอาร์เคด เกมดังกล่าววางจำหน่ายสำหรับเซกา นาโอมิ และเพลย์สเตชัน 2 ซึ่งวางจำหน่ายสำหรับเพลย์สเตชัน 2 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ในประเทศญี่ปุ่น[1] และในทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2002[2] แม้ว่าเพลย์สเตชัน 2 จะเป็นไลต์กันชูตเตอร์ แต่เกมอาร์เคดของนาโอมิไม่มีเทคโนโลยีไลต์กันแต่อย่างใด ซึ่งแทนที่เลื่อนการควบคุมของผู้เล่นแต่ละคนไปโดยสิ้นเชิงโดยใช้ก้านควบคุมสามแกนที่มีรูปร่างเหมือนปืน[3] เกมนี้เป็นภาคที่สองของซีรีส์เซอร์ไวเวอร์ และภาคต่อของเรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ โดยเกมนี้ดัดแปลงมาจากเรซิเดนต์อีวิล – โคด: เวโรนิกา ซึ่งมีศัตรูและตัวละครจากเกมดังกล่าว ตลอดจนศัตรูจากเรซิเดนต์อีวิล 2 และ 3[4] กระทั่งมีเกมไดโนสตอล์กเกอร์ซึ่งเป็นภาคแยกของไดโนไครซิสตามมา และไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรซิเดนต์อีวิล
โครงเรื่อง
[แก้]แคลร์ เรดฟิลด์ ยังคงตามหาพี่ชายของเธอต่อไปหลังจากเหตุการณ์ในแร็กคูนซิตี และเธอได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่รู้จักเกี่ยวกับโรงงานของอัมเบรลลาในปารีส เมื่อเธอพยายามแทรกซึมเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว เธอก็ถูกจับได้ หลังจากนั้นเธอก็ถูกนำตัวไปที่คุกอัมเบรลลาในเกาะร็อกฟอร์ต เธอร่วมมือกับเพื่อนนักโทษที่ชื่อสตีฟ เบิร์นไซด์ และวางแผนที่จะหลบหนีในขณะที่การระบาดของที-ไวรัส แพร่ระบาดบนเกาะ เหตุการณ์ในเกมนี้ได้รับการเปิดเผยว่าเป็นความฝันหลังจากจบโหมดอาร์เคด ซึ่งแคลร์ประสบหลังจากหนีจากแอนตาร์กติกาพร้อมกับคริส เรดฟิลด์ ผู้เป็นพี่ชายของเธอในตอนท้ายของภาคโคด: เวโรนิกา[b]
รูปแบบการเล่น
[แก้]ในเกม ผู้เล่นจะได้ควบคุมแคลร์ เรดฟิลด์ หรือสตีฟ เบิร์นไซด์ ในโหมดการเล่นที่แตกต่างกันสองโหมด ได้แก่ ดันเจียนและอาร์เคด ทั้งสองโหมดรองไลต์กัน รวมถึงกันคอน 2 จากบริษัทนัมโค แม้ว่าเกมจะสามารถเล่นได้โดยใช้คอนโทรลเลอร์ดูเอิลช็อก 2 แบบมาตรฐานได้เช่นกัน[5]
ในโหมดอาร์เคด เป้าหมายคือการหลบหนีจากเกาะร็อกฟอร์ต เส้นทางดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นหลายสเตจ โดยแต่ละส่วนจะสำเร็จลุล่วงขึ้นอยู่กับการค้นหากุญแจและการกำจัดตัวละครบอสที่ซุ่มซ่อนอยู่ในแอเรียดังกล่าว นอกจากบอสแล้ว ผู้เล่นยังต้องเผชิญหน้ากับศัตรูอีกหลายประเภท ทั้งนี้ โหมดอาร์เคดยังให้ความช่วยเหลือผ่านระบบพันธมิตรเช่นกัน สิ่งนี้ทำให้ผู้เล่นสามารถร่วมทีมกับตัวละครที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ให้ความคุ้มครอง เช่น หากผู้เล่นเลือกเล่นเป็นแคลร์ คู่หูของพวกเขาก็คือสตีฟ เกมดังกล่าวดำเนินไปตามเวลาที่นับถอยหลังเมื่อเข้าสู่แอเรีย และหากเวลาหมด เนเมซิสจากเรซิเดนต์อีวิล 3: เนเมซิส จะเริ่มไล่ตามผู้เล่นและจะสังหารตัวละครของผู้เล่นอย่างรวดเร็วหากพวกเขาไม่รีบออกไปทางออก[5]
ส่วนโหมดดันเจียนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรจะทำให้ผู้เล่นต้องต่อสู้กับศัตรูที่มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทียบได้กับโหมดเอาชีวิตรอด ความสำเร็จของภารกิจจะถูกกำหนดอีกครั้งโดยการกำจัดบอส แต่ยิ่งกำจัดซอมบีและสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ได้มากเท่าใด คะแนนภารกิจโดยรวมก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ส่วนเวลาก็มีความสำคัญในโหมดนี้เช่นกัน เพราะทุกครั้งที่ศัตรูถูกกำจัด เกจคอมโบจะปรากฏขึ้น และผู้เล่นจะต้องกำจัดศัตรูอื่นก่อนที่เกจจะหมดเพื่อรับคะแนนคอมโบเพิ่มเติม หากผู้เล่นเร็วและแม่นยำเพียงพอ คอมโบก็จะทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ได้คะแนนมากขึ้น ในโหมดนี้ ตัวละครของผู้เล่นสามารถเลือกอาวุธได้สามชนิดเพื่อทำภารกิจดังกล่าว ซึ่งอาวุธบางชนิดสามารถใช้ได้ทั้งแคลร์และสตีฟ ในขณะที่อาวุธอื่น ๆ เช่น แมกนัมและเครื่องยิงลูกระเบิดนั้นจำกัดไว้สำหรับตัวละครแต่ละตัว[5]
การพัฒนา
[แก้]เกมดังกล่าวได้รับการประกาศในชื่อไบโอฮาซาร์ด: ไฟร์โซน โดยบริษัทแคปคอมในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับบริษัทนัมโคในการพัฒนาเกมอาร์เคดที่เชื่อมโยงกับซีรีส์เรซิเดนต์อีวิล และย้อนกลับไปใน ค.ศ. 1998 แคปคอมเคยเล่นกับแนวคิดในการพัฒนาเกมอาร์เคดหลังจากการสร้างแฟรนไชส์นี้อย่างเหมาะสม นี่เป็นทั้งเกมก่อนภาคไฟร์โซนหรือโครงการที่ไม่เกี่ยวข้อง "อยู่ในการพัฒนาอย่างล้ำลึก" สำหรับเซกา นาโอมิ ที่รวมเข้ากับเรซิเดนต์อีวิล – โคด: เวโรนิกา เฉพาะของดรีมแคสต์ในตอนนั้น (นาโอมิและดรีมแคสต์ได้รับการออกแบบให้มีส่วนประกอบฮาร์ดแวร์เหมือนกัน)[6]
ขณะยังอยู่ในการทดสอบเบตา ได้มีกำหนดจะปรากฏที่อีเวนต์เอโอยู อะมิวส์เมนต์เอกซ์โป ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 จากคลิปภาพยนตร์ที่มีอยู่ เห็นได้ชัดว่าในเวลานั้นไม่มีเสียงพากย์ในฉากคัตซีนของเกมนี้ โดยบทสนทนาทั้งหมดระหว่างสตีฟ เบิร์นไซด์ และแคลร์ เรดฟิลด์ มีคำบรรยายแทน รวมทั้งบริษัทแคปคอมยืนยันแล้วว่าพวกเขาไม่มีแผนที่จะเปิดตัวเครื่องอาร์เคดดังกล่าวสู่ตลาดอเมริกาเหนือ[7] และเพียงสองเดือนต่อมา เกมดังกล่าวก็เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็นกันเซอร์ไวเวอร์ 2 ไบโอฮาซาร์ด โคด: เวโรนิกา[8]
การตอบรับ
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2001 ได้จัดอันดับเรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ 2 – โคด: เวโรนิกา ในฐานะเกมเฉพาะอาร์เคดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดประจำเดือนดังกล่าว[9]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่นในชื่อ ญี่ปุ่น: กันเซอร์ไวเวอร์ 2 – ไบโอฮาซาร์ด – โคด: เวโรนิกา; โรมาจิ: ガンサバイバー2 バイオハザード コード:ベロニカ; ทับศัพท์: Gan Sabaibā Tsū Baiohazādo Kōdo: Beronika
- ↑ แคลร์ไม่เคยพบเนเมซิส-ที ไทป์ ในภาคโคด: เวโรนิกา ตามที่ปรากฎในความฝันของเธอ ซึ่งไฟล์ลับที่สามารถอ่านได้หลังจากรวบรวมอัญมณีที่ซ่อนอยู่ในโหมดอาร์เคดเผยให้เห็นว่าอัมเบรลลาได้ส่งแบบจำลองของเนเมซิสไปยังเกาะร็อกฟอร์ต และเนื่องจากการโจมตีเชิงรุกของอัลเบิร์ต เวสเกอร์ บนเกาะดังกล่าว เนเมซิสจึงถูกปล่อยเป็นอิสระและตั้งโปรแกรมให้โจมตีเมื่อตรวจพบเหตุฉุกเฉิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Gun Survivor 2 Biohazard Code: Veronica". Sony. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2017. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
- ↑ "Resident Evil Survivor 2 (PS2) on Amazon.com". Amazon UK. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
- ↑ "Gun Survivor 2 Operator's Manual (page 29)" (PDF). Arcade Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 December 2022. สืบค้นเมื่อ 28 May 2023.
- ↑ "Capcom and Namco team up for Gun Survivor 2". IGN. j2 Global. April 19, 2001. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Axel Stohm (November 16, 2001). "Resident Evil Survivor 2 – Code: Veronica update". GameSpot. CBS Corporation. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
- ↑ "Evil is good for Dreamcast". IGN. j2 Global. September 18, 1998. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
- ↑ "Hands-on: Resident Evil: Fire Zone". GameSpot. CBS Corporation. February 6, 2001. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
- ↑ "Biohazard Fire Zone renamed". GameSpot. CBS Corporation. April 19, 2001. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
- ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25 - 完成品夕イプのTVゲーム機 (Dedicated Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 640. Amusement Press, Inc. 15 August 2001. p. 17.