ข้ามไปเนื้อหา

เรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ 2 – โคด: เวโรนิกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ 2 – โคด: เวโรนิกา
ภาพกล่องสำหรับเพลย์สเตชัน 2 ของทวีปยุโรป
ผู้พัฒนาแคปคอม, นัมโค, เนกซ์เทค, บริษัท ซิมส์ จำกัด
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม, นัมโค
แต่งเพลงฮิโรชิ อิงาราชิ
ชุดเรซิเดนต์อีวิล
เครื่องเล่นอาร์เคด, เพลย์สเตชัน 2
วางจำหน่ายอาร์เคด
เพลย์สเตชัน 2
แนวไลต์กันชูตเตอร์
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว
ระบบอาร์เคดเซกา นาโอมิ

เรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ 2 – โคด: เวโรนิกา (อังกฤษ: Resident Evil Survivor 2 – Code: Veronica)[a] เป็นวิดีโอเกมไลต์กันชูตเตอร์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทแคปคอมโดยเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์เรซิเดนต์อีวิล โดยเวอร์ชันอาร์เคดได้รับการพัฒนาร่วมกับบริษัทนัมโคสำหรับเครื่องอาร์เคด เกมดังกล่าววางจำหน่ายสำหรับเซกา นาโอมิ และเพลย์สเตชัน 2 ซึ่งวางจำหน่ายสำหรับเพลย์สเตชัน 2 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ในประเทศญี่ปุ่น[1] และในทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2002[2] แม้ว่าเพลย์สเตชัน 2 จะเป็นไลต์กันชูตเตอร์ แต่เกมอาร์เคดของนาโอมิไม่มีเทคโนโลยีไลต์กันแต่อย่างใด ซึ่งแทนที่เลื่อนการควบคุมของผู้เล่นแต่ละคนไปโดยสิ้นเชิงโดยใช้ก้านควบคุมสามแกนที่มีรูปร่างเหมือนปืน[3] เกมนี้เป็นภาคที่สองของซีรีส์เซอร์ไวเวอร์ และภาคต่อของเรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ โดยเกมนี้ดัดแปลงมาจากเรซิเดนต์อีวิล – โคด: เวโรนิกา ซึ่งมีศัตรูและตัวละครจากเกมดังกล่าว ตลอดจนศัตรูจากเรซิเดนต์อีวิล 2 และ 3[4] กระทั่งมีเกมไดโนสตอล์กเกอร์ซึ่งเป็นภาคแยกของไดโนไครซิสตามมา และไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรซิเดนต์อีวิล

โครงเรื่อง[แก้]

แคลร์ เรดฟิลด์ ยังคงตามหาพี่ชายของเธอต่อไปหลังจากเหตุการณ์ในแร็กคูนซิตี และเธอได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่รู้จักเกี่ยวกับโรงงานของอัมเบรลลาในปารีส เมื่อเธอพยายามแทรกซึมเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว เธอก็ถูกจับได้ หลังจากนั้นเธอก็ถูกนำตัวไปที่คุกอัมเบรลลาในเกาะร็อกฟอร์ต เธอร่วมมือกับเพื่อนนักโทษที่ชื่อสตีฟ เบิร์นไซด์ และวางแผนที่จะหลบหนีในขณะที่การระบาดของที-ไวรัส แพร่ระบาดบนเกาะ เหตุการณ์ในเกมนี้ได้รับการเปิดเผยว่าเป็นความฝันหลังจากจบโหมดอาร์เคด ซึ่งแคลร์ประสบหลังจากหนีจากแอนตาร์กติกาพร้อมกับคริส เรดฟิลด์ ผู้เป็นพี่ชายของเธอในตอนท้ายของภาคโคด: เวโรนิกา[b]

รูปแบบการเล่น[แก้]

ในเกม ผู้เล่นจะได้ควบคุมแคลร์ เรดฟิลด์ หรือสตีฟ เบิร์นไซด์ ในโหมดการเล่นที่แตกต่างกันสองโหมด ได้แก่ ดันเจียนและอาร์เคด ทั้งสองโหมดรองไลต์กัน รวมถึงกันคอน 2 จากบริษัทนัมโค แม้ว่าเกมจะสามารถเล่นได้โดยใช้คอนโทรลเลอร์ดูเอิลช็อก 2 แบบมาตรฐานได้เช่นกัน[5]

ในโหมดอาร์เคด เป้าหมายคือการหลบหนีจากเกาะร็อกฟอร์ต เส้นทางดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นหลายสเตจ โดยแต่ละส่วนจะสำเร็จลุล่วงขึ้นอยู่กับการค้นหากุญแจและการกำจัดตัวละครบอสที่ซุ่มซ่อนอยู่ในแอเรียดังกล่าว นอกจากบอสแล้ว ผู้เล่นยังต้องเผชิญหน้ากับศัตรูอีกหลายประเภท ทั้งนี้ โหมดอาร์เคดยังให้ความช่วยเหลือผ่านระบบพันธมิตรเช่นกัน สิ่งนี้ทำให้ผู้เล่นสามารถร่วมทีมกับตัวละครที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ให้ความคุ้มครอง เช่น หากผู้เล่นเลือกเล่นเป็นแคลร์ คู่หูของพวกเขาก็คือสตีฟ เกมดังกล่าวดำเนินไปตามเวลาที่นับถอยหลังเมื่อเข้าสู่แอเรีย และหากเวลาหมด เนเมซิสจากเรซิเดนต์อีวิล 3: เนเมซิส จะเริ่มไล่ตามผู้เล่นและจะสังหารตัวละครของผู้เล่นอย่างรวดเร็วหากพวกเขาไม่รีบออกไปทางออก[5]

ส่วนโหมดดันเจียนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรจะทำให้ผู้เล่นต้องต่อสู้กับศัตรูที่มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทียบได้กับโหมดเอาชีวิตรอด ความสำเร็จของภารกิจจะถูกกำหนดอีกครั้งโดยการกำจัดบอส แต่ยิ่งกำจัดซอมบีและสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ได้มากเท่าใด คะแนนภารกิจโดยรวมก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ส่วนเวลาก็มีความสำคัญในโหมดนี้เช่นกัน เพราะทุกครั้งที่ศัตรูถูกกำจัด เกจคอมโบจะปรากฏขึ้น และผู้เล่นจะต้องกำจัดศัตรูอื่นก่อนที่เกจจะหมดเพื่อรับคะแนนคอมโบเพิ่มเติม หากผู้เล่นเร็วและแม่นยำเพียงพอ คอมโบก็จะทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ได้คะแนนมากขึ้น ในโหมดนี้ ตัวละครของผู้เล่นสามารถเลือกอาวุธได้สามชนิดเพื่อทำภารกิจดังกล่าว ซึ่งอาวุธบางชนิดสามารถใช้ได้ทั้งแคลร์และสตีฟ ในขณะที่อาวุธอื่น ๆ เช่น แมกนัมและเครื่องยิงลูกระเบิดนั้นจำกัดไว้สำหรับตัวละครแต่ละตัว[5]

การพัฒนา[แก้]

เกมดังกล่าวได้รับการประกาศในชื่อไบโอฮาซาร์ด: ไฟร์โซน โดยบริษัทแคปคอมในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับบริษัทนัมโคในการพัฒนาเกมอาร์เคดที่เชื่อมโยงกับซีรีส์เรซิเดนต์อีวิล และย้อนกลับไปใน ค.ศ. 1998 แคปคอมเคยเล่นกับแนวคิดในการพัฒนาเกมอาร์เคดหลังจากการสร้างแฟรนไชส์นี้อย่างเหมาะสม นี่เป็นทั้งเกมก่อนภาคไฟร์โซนหรือโครงการที่ไม่เกี่ยวข้อง "อยู่ในการพัฒนาอย่างล้ำลึก" สำหรับเซกา นาโอมิ ที่รวมเข้ากับเรซิเดนต์อีวิล – โคด: เวโรนิกา เฉพาะของดรีมแคสต์ในตอนนั้น (นาโอมิและดรีมแคสต์ได้รับการออกแบบให้มีส่วนประกอบฮาร์ดแวร์เหมือนกัน)[6]

ขณะยังอยู่ในการทดสอบเบตา ได้มีกำหนดจะปรากฏที่อีเวนต์เอโอยู อะมิวส์เมนต์เอกซ์โป ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 จากคลิปภาพยนตร์ที่มีอยู่ เห็นได้ชัดว่าในเวลานั้นไม่มีเสียงพากย์ในฉากคัตซีนของเกมนี้ โดยบทสนทนาทั้งหมดระหว่างสตีฟ เบิร์นไซด์ และแคลร์ เรดฟิลด์ มีคำบรรยายแทน รวมทั้งบริษัทแคปคอมยืนยันแล้วว่าพวกเขาไม่มีแผนที่จะเปิดตัวเครื่องอาร์เคดดังกล่าวสู่ตลาดอเมริกาเหนือ[7] และเพียงสองเดือนต่อมา เกมดังกล่าวก็เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็นกันเซอร์ไวเวอร์ 2 ไบโอฮาซาร์ด โคด: เวโรนิกา[8]

การตอบรับ[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2001 ได้จัดอันดับเรซิเดนต์อีวิลเซอร์ไวเวอร์ 2 – โคด: เวโรนิกา ในฐานะเกมเฉพาะอาร์เคดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดประจำเดือนดังกล่าว[9]

หมายเหตุ[แก้]

  1. เป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่นในชื่อ ญี่ปุ่น: กันเซอร์ไวเวอร์ 2 – ไบโอฮาซาร์ด – โคด: เวโรนิกาโรมาจิガンサバイバー2 バイオハザード コード:ベロニカทับศัพท์: Gan Sabaibā Tsū Baiohazādo Kōdo: Beronika
  2. แคลร์ไม่เคยพบเนเมซิส-ที ไทป์ ในภาคโคด: เวโรนิกา ตามที่ปรากฎในความฝันของเธอ ซึ่งไฟล์ลับที่สามารถอ่านได้หลังจากรวบรวมอัญมณีที่ซ่อนอยู่ในโหมดอาร์เคดเผยให้เห็นว่าอัมเบรลลาได้ส่งแบบจำลองของเนเมซิสไปยังเกาะร็อกฟอร์ต และเนื่องจากการโจมตีเชิงรุกของอัลเบิร์ต เวสเกอร์ บนเกาะดังกล่าว เนเมซิสจึงถูกปล่อยเป็นอิสระและตั้งโปรแกรมให้โจมตีเมื่อตรวจพบเหตุฉุกเฉิน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Gun Survivor 2 Biohazard Code: Veronica". Sony. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2017. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  2. "Resident Evil Survivor 2 (PS2) on Amazon.com". Amazon UK. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  3. "Gun Survivor 2 Operator's Manual (page 29)" (PDF). Arcade Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 December 2022. สืบค้นเมื่อ 28 May 2023.
  4. "Capcom and Namco team up for Gun Survivor 2". IGN. j2 Global. April 19, 2001. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  5. 5.0 5.1 5.2 Axel Stohm (November 16, 2001). "Resident Evil Survivor 2 – Code: Veronica update". GameSpot. CBS Corporation. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  6. "Evil is good for Dreamcast". IGN. j2 Global. September 18, 1998. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  7. "Hands-on: Resident Evil: Fire Zone". GameSpot. CBS Corporation. February 6, 2001. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  8. "Biohazard Fire Zone renamed". GameSpot. CBS Corporation. April 19, 2001. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  9. "Game Machine's Best Hit Games 25 - 完成品夕イプのTVゲーム機 (Dedicated Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 640. Amusement Press, Inc. 15 August 2001. p. 17.