เธมิสโตคลีส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เธมิสโตคลีส หรือ เธมิสโตเคลส
ประติมากรรมเฉพาะหัว(herm)ของ เธมิสโตคลีส
ชื่อพื้นเมือง
Θεμιστοκλής
เกิดc.524 BC
เฟรอาร์ริออย (Feriza ในปัจจุบันใกล้กับ Anavyssos)
เสียชีวิต459 BC
แมกนีเซีย ณ มีอันเดอร์
รับใช้เอเธนส์ (to c. 471 BC)
เปอร์เซีย (469-459 BC)
ชั้นยศนายพล (สตราเตกอส)
การยุทธ์การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

เธมิสโตคลีส หรือ เธมิสโตเคลส (อังกฤษ: Themistocles; กรีก: Θεμιστοκλῆς เธ-มิส-ตอ-แคลส; "ชัยชนะแห่งกฎหมาย")[1] c. 524-459 BC) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพชาวเอเธนส์ เธมิสโตคลีสเป็นนักการเมืองสายพันธ์ใหม่ของเอเธนส์ในยุคที่ประชาธิปไตยก่อตัว โดยไม่ได้มาจากครอบครัวชนชั้นสูง โดยเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองประชานิยมที่มีฐานเสียงเป็นพลเมืองชั้นล่างของเอเธนส์ และมักขัดแย้งกับอภิสิทธิชนในเอเธนส์ เธมิสโตคลีสถูกเลือกให้เป็น อาร์คอน (กรีก: ἄρχων) หรือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของเมือง ในปี 493 ก่อนคริสตกาล[2] เขามีทัศนะวิสัยเห็นว่าเอเธนส์มีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ที่จะเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ และเกลี้ยกล่อมให้สภาของเอเธนส์เพิ่มกำลังรบทางเรือ ในระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เธมิสโตคลีสเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกรีกที่สมรภูมิมาราธอน และน่าเชื่อว่าคงจะเป็นหนึ่งในสิบนายพลของเอเธนส์ หรือ สตราเตกอส ในยุทธการนั้น

หลังจากกลายเป็นฮีโร่ของยุทธการที่มาราธอน จนถึงการรุกรานครั้งที่สองของเปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480-490 กอ่นคริสต์ศักราช เธมิสโตคลีสกลายเป็นแม่ทัพที่โดดเด่นที่สุดของเอเธนส์ และยังคงสนับสนุนให้เอเธนส์จัดหากำลังทางน้ำเพิ่ม โดยในปีที่ 483 กอ่นคริสต์ศักราช เขาอ้างคำทำนายของเทพพยากรณ์เดลฟี ซึ่งแนะนำให้ชาวเอเธนส์สร้าง "กำแพงไม้" (wooden wall) และโน้มน้าวให้ชาวเมืองอนุมัติทุนเพื่อสร้างกองเรือไม้ ไตรรีม (triremes) สองร้อยลำ สำหรับต้านทานการบุกรุกของกองทัพเปอร์เซียที่กำลังจะมาถึง; เธมิสโตคลีสนำทัพเรือเอเธนส์และพันธมิตรกรีก เข้าสู้ทัพเรือของเปอร์เซียในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม และที่ซาลามิส ในปีที่ 480 BC. โดยการล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบซาลามิส ชัยชนะของทัพเรือกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิส เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามและในไปสู่ความพ่ายแพ้ของทัพเปอร์เซียในยุทธการที่พลาตีอา (Battle of Plataea)

หลังสงครามสงบ เธมิสโตคลีสกลายเป็นรัฐบุรุษที่โดดเด่นในสังคมเอเธนส์ ชัยชนะทางยุทธนาวีของฝ่ายพันธมิตรกรีก นำไปสู่การก่อตั้งสันนิบาตดีเลียน ในปีที่ 478 BC และทำให้เอเธนส์ผงาดขึ้นในฐานะมหาอำนาจทางทะเล (thalassocratic empire) แต่นโยบายที่หยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เช่นการสั่งให้สร้างป้อมปราการรอบเอเธนส์ เป็นการยั่วยุให้สปาร์ตาขุ่นเคือง ชาวเมืองเอเธนส์เองก็เบื่อหน่ายในความหยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เขาโดนสปาร์ต้าวางแผนใส่ร้ายข้อหากบฏ ในปี 478 และถูกประชาชนลงเสียงขับไล่ (ostracise) ออกจากเมืองในปีที่ 471 และไปเสียชีวิตที่แม็กนีเซีย ในปีที่ 459 ก่อนคริสต์ศักราช

เธมิสโตคลีสยังคงเป็นที่จดจำในฐานะบุรุษผู้กู้อารยธรรมกรีกจากอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซีย นโยบายการสั่งสมกำลังทางทะเลของเขาเป็นจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ของนครรัฐเอเธนส์ในศตวรรษที่ 5 เพราะอำนาจทางทะเลเป็นหลักศิลาของจักรวรรดิเอเธนส์ ทิวซิดิดีสกล่าวว่าเธมิสโตคลีสเป็น "ผู้ที่เปล่งประกายของอัจฉริยภาพโดยอย่างไม่ต้องสงสัย"

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

ปฐมภูมิ[แก้]

ทุติยภูมิ[แก้]

  • Butler, Howard (2005). The Story of Athens. Kessinger Publishing. ISBN 1-4179-7092-8.
  • Hanson, Victor Davis (2001). Carnage and Culture: Landmark Battles in the Rise of Western Power. DoubleDay. ISBN 0-385-50052-1.
  • Frost, Frank J. (1980). Plutarch's Themistocles, An Historical Commentary. Princeton University Press.
  • Behmel, Albrecht (2000). Themistokles: Sieger von Salamis. Herr von Magnesia. Ibidem. ISBN 3-932602-72-2.
  • Holland, Tom (2005). Persian Fire. Abacus. ISBN 978-0-349-11717-1.
  • Simon Hornblower, Anthony Spawforth (1996). The Oxford Classical Dictionary. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-866172-6..
  • Green, Peter (2007). Alexander the Great and the Hellenistic Age. Orion. ISBN 978-0-7538-2413-9.
  • Lazenby, JF (1993). The Defence of Greece 490-479 BC. Aris & Phillips Ltd. ISBN 0-85668-591-7.
  •  Mitchell, John Malcolm (1911). "Themistocles" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 26 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
  • Strauss, Barry (2004). The Battle of Salamis: The Naval Encounter That Saved Greece—and Western Civilization. Simon and Schuster. ISBN 0-7432-4450-8.

ลิงก์ข้อมูลภายนอก[แก้]

  1. "Themistocles". Behind the Name. สืบค้นเมื่อ 2014-12-12.
  2. Holland 2005, p. 164.