ยุทธนาวีที่ซาลามิส
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ยุทธนาวีที่ซาลามิส | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย | |||||||||
ภาพวาดการสู้รบแนวโรแมนติกโดย วิลเฮิล์ม ฟ็อน เคาล์บัช | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
นครรัฐกรีก | จักรวรรดิอะคีเมนิด | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
กำลัง | |||||||||
เรือ 371–378 ลำ[i] | |||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
เรือ 40 ลำ | เรือ 200–300? ลำ | ||||||||
ยุทธนาวีที่ซาลามิส (กรีกโบราณ: Ναυμαχία τῆς Σαλαμῖνος, อักษรโรมัน: Naumachía tês Salamînos, เนามาเคีย แตส ซาลามินอส) เป็นยุทธนาวีระหว่างฝ่ายพันธมิตรนครรัฐกรีก ภายใต้การนำของเธมิสโตคลีส กับจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้จักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราช เมื่อ ปีที่ 480 ก่อนคริสต์ศักราช โดยฝ่ายกรีกที่จำนวนเรือรบน้อยกว่าได้รับชัยชนะแบบเด็ดขาด ยุทธนาวีนี้เกิดขึ้นที่ช่องแคบระหว่างดินแดนใหญ่ของกรีซ กับเกาะซาลามิสในอ่าวซาโรนิค ใกล้กรุงเอเธนส์ และถือเป็นจุดสูงสุดของการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย
ในการทัพรุกรานกรีกครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย กองกำลังเล็ก ๆ ของกรีก นำโดยทหารสปาร์ตา เข้าขวางทางเดินทัพของเปอร์เซียที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) ในขณะที่กองกำลังพันธมิตรทางนาวี ประกอบด้วยกองเรือของเอเธนส์เป็นหลัก เข้าปะทะกองเรือเปอร์เซียน ที่ช่องแคบอาร์เตมีเซียม (Artemisium) ห่างออกไปไม่ไกล กองกำลังระวังหลังของกรีกถูกสังหารหมดสิ้นในยุทธการที่เทอร์มอพิลี ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม ก็ได้รับความเสียหายหนัก และต้องถอยกลับไปเมื่อช่องเขาเทอร์มอพิลีเสียให้แก่ข้าศึก ทัพเปอร์เซียจึงสามารถเข้ายึดครองบีโอเชีย (อังกฤษ: Boeotia, กรีก: Βοιωτία, บอยยอเทีย) และแอตทิกาได้ เมืองเอเธนส์ถูกกองทัพเปอร์เชียเผาราบ ประชาชนต้องอพยพทิ้งเมือง แต่กำลังฝ่ายพันธมิตรกรีกสามารถเข้าป้องกันคอคอดคอรินท์ ซึ่งเชื่อมแอตทิกากับเพโลพอนนีสไว้ได้ ระหว่างนั้นทัพเรือของกรีกถูกถอยไปใช้เกาะซาลามิสเป็นฐานปฏิบัติการ
แม้ว่ากำลังทางนาวีของกรีกจะน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่เธมิสโตคลีสแม่ทัพชาวเอเธนส์ สามารถล่อให้กองกำลังพันธมิตรเข้าทำศึกกับทัพเรือเปอร์เซียอีกครั้ง โดยหวังว่าชัยชนะจะป้องกันคาบสมุทรเพโลพอนนีสอันเป็นแผ่นดินใหญของกรีกไว้ได้ พระเจ้าเซอร์ซีสกษัตริย์เปอร์เซีย ทรงกระหายจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเช่นกัน ทำให้ติดกับแผนลวงพรางของเธมิสโตคลีส ซึ่งล่อทัพเรือของเปอร์เซียให้ออกมาปิดกั้นทางเข้า-ออกของช่องแคบซาลามิส แต่ด้วยสภาพที่คับแคบของพื้นที่ ทัพเรือใหญ่ของเปอร์เซียไม่อาจแปรขบวนได้และตกอยู่ในสภาพขาดระเบียบ กองเรือพันธมิตรกรีกฉวยโอกาสจัดแถวเป็นแนวประจัญบานเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะแบบพลิกความคาดหมาย
ยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นการรบที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมกรีกในระดับเดียวกับ ยุทธการที่มาราธอน และยุทธการที่เทอร์มอพิลี โดยเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกรีก-เปอร์เซีย [7] หลังยุทธการซาลามิส คาบสมุทรเพโลพอนนีสและอารยธรรมกรีก ก็ปลอดภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย ในขณะที่อาณาจักรเปอร์เซียต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเสียความน่าเกรงขาม [8] หลังการศึกในยุทธการที่พลาตีอา (กรีก: Πλάταια) และยุทธการที่มิกาลี (กรีก: Μυκάλη) ทัพของเปอร์เซียก็ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป ฝ่ายพันธมิตรกรีกจึงรุกกลับได้ และยังส่งผลให้อาณาจักรมาเซดอนลุกฮือเพื่อปลดแอกตนเองจากการปกครองของเปอร์เซีย โดยเธรซ หมู่เกาะในทะเลอีเจียน และไอโอเนีย จะทยอยหลุดจากความควบคุมของเปอร์เซียในอีกสามสิบปีต่อมา เนื่องจากการเกิดขึ้นของสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำโดยเอเธนส์
ยุทธนาวีที่ซาลามิสจึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนสมการของอำนาจให้มาอยู่ที่ฝ่ายกรีก โดยลดอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลงอย่างเฉียบพลัน พร้อม ๆ กับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งความมั่งคั่ง และความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของจักรวรรดิเอเธนส์
ภูมิหลัง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กำลังรบ
[แก้]ฝ่ายกรีก
[แก้]เมือง | จำนวนเรือ | เมือง | จำนวนเรือ | เมือง | จำนวนเรือ |
---|---|---|---|---|---|
เอเธนส์[9] | 180 | โครินธ์[10][11] | 40 | Aegina[12] | 30 |
คัลซีส[12][10] | 20 | เมการา[10][13] | 20 | Sparta[11] | 16 |
Sicyon[11] | 15 | Epidaurus[11] | 10 | Eretria[12] | 7 |
Ambracia[13] | 7 | Troezen[11] | 5 | Naxos[12] | 4 |
Leucas[13] | 3 | Hermione[11] | 3 | Styra[12] | 2 |
Cythnus[12] | 1 (1) | Ceos[12] | 2 | Melos[2][12] | (2) |
Siphnus[2][12] | (1) | Serifos[2][12] | (1) | Croton[14] | 1 |
รวม | 371 หรือ 378 ลำ[2] (5) |
จำนวนเหล่านี้เป็นเรือ trireme; จำนวนในวงเล็บเป็นเรือ penteconter (fifty-oared galleys)
ฝ่ายจักรวรรดิอะคีเมนิด
[แก้]จำนวนที่เฮอรอโดทัสระบุไว้มีดังนี้:[15]
เชื้อชาติ | จำนวนเรือ | เชื้อชาติ | จำนวนเรือ | เชื้อชาติ | จำนวนเรือ |
---|---|---|---|---|---|
ฟินิเชีย | 300 | อียิปต์ | 200 | ไซปรัส | 150 |
Cilicia | 100 | ไอโอเนีย | 100 | Hellespontine Phrygia | 100 |
Caria | 70 | Aeolia | 60 | Lycia | 50 |
Pamphylia | 30 | Doria | 30 | Cyclades | 17 |
รวม | 1207 |
ความเป็นไปของการรบ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gongaki (2021) [1],
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Herodotus VIII, 48
- ↑ Ιστορία του Ελληνικού Έθνους 1971
- ↑ Demetrius, 1998
- ↑ Lazenby p.174
- ↑ Roisman, Joseph (2011). Yardley, J.C. (บ.ก.). Ancient Greece from Homer to Alexander: The Evidence. Wiley-Blackwell. p. 235. ISBN 978-1405127769.
Herodotus (7.89.1) estimates that the Persians altogether had 1,207 ships, which modern historians cut to between 400 and 700 ships.
- ↑ Lazenby 1993, p. 197.
- ↑ Holland 2005, pp. 333–335.
- ↑ Herodotus VIII, 44
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Herodotus VIII, 1
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 Herodotus VIII, 43
- ↑ 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 Herodotus VIII, 46
- ↑ 13.0 13.1 13.2 Herodotus VIII, 45
- ↑ Herodotus VIII, 47
- ↑ Romm, James (2014). Histories (ภาษาอังกฤษ). Hackett Publishing. p. 381. ISBN 9781624661150.
ข้อมูล
[แก้]สมัยโบราณ
[แก้]- Herodotus, The Histories Perseus online version
- Aeschylus, extract from The Persians เก็บถาวร 2013-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ctesias, Persica (excerpt in Photius's epitome)
- Diodorus Siculus, Bibliotheca Historica
- Thucydides, History of the Peloponnesian War
- Ephorus, Universal History
- Plutarch, Themistocles
- Cicero, On the Laws
สมัยใหม่
[แก้]- Blakesley, J. W. (1853) "On the Position and Tactics of the Contending Fleets in the Battle of Salamis (With a Map.)" in the Proceedings of the Philological Society.
- Burn, A. R. (1985). "Persia and the Greeks" in The Cambridge History of Iran, Volume 2: The Median and Achaemenid Periods, Ilya Gershevitch, ed. Cambridge University Press.
- Fehling, D. (1989). Herodotus and His "Sources": Citation, Invention, and Narrative Art. Translated by J.G. Howie. Leeds: Francis Cairns.
- Finley, Moses (1972). "Introduction". Thucydides – History of the Peloponnesian War (translated by Rex Warner). Penguin. ISBN 0-14-044039-9.
- Green, Peter (1970). The Year of Salamis, 480–479 BC. London: Weidenfeld and Nicolson (ISBN 0-297-00146-9).
- Green, Peter (1998). The Greco-Persian Wars. Berkeley: University of California Press (hardcover, ISBN 0-520-20573-1) (paperback, ISBN 0-520-20313-5).
- Hale, John R. (2009) Lords of the Sea. Viking Press. ISBN 978-0-670-02080-5
- Hanson, Victor Davis (2001). Carnage and Culture: Landmark Battles in the Rise of Western Power. New York: DoubleDay, 2001 (hardcover, ISBN 0-385-50052-1); New York: Anchor Books (paperback, ISBN 0-385-72038-6).
- Ιστορία του Ελληνικού Έθνους (History of the Greek nation) vol Β, Εκδοτική Αθηνών (Editorial Athens) 1971.
- Holland, Tom (2005). Persian Fire. London: Abacus (ISBN 978-0-349-11717-1).
- Köster, A. J. (1934). Studien zur Geschichte des Antikes Seewesens. Klio Beiheft 32.
- Lazenby, J. F. (1993). The Defence of Greece 490–479 BC. Aris & Phillips Ltd. (ISBN 0-85668-591-7).
- Lee, Felicia R. (2006). A Layered Look Reveals Ancient Greek Texts The New York Times, 27 November 2006.
- Morrison, John S., Coates, J.F. & Rankov, B.R. (2000) The Athenian Trireme: The History and Reconstruction of an Ancient Greek Warship Second Edition. Cambridge: CUP (ISBN 978-0521564564)
- Pipes, David (1998). "Herodotus: Father of History, Father of Lies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-01-18.
- Smith, Jeffrey A. (2021). Themistocles: The Powerbroker of Athens. Pen & Sword Military. ISBN 978-1526790453.
- Strauss, Barry (2004). The Battle of Salamis: The Naval Encounter That Saved Greece—and Western Civilization. New York: Simon and Schuster (hardcover, ISBN 0-7432-4450-8; paperback, ISBN 0-7432-4451-6).