เจ้าอุบลวรรณา
เจ้าอุบลวรรณา | |
---|---|
เจ้าหญิงนครเชียงใหม่ | |
ประสูติ | พ.ศ. 2385 |
พิราลัย | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427 (ราว 42 ปี) |
สามี | เจ้ามหาวงศ์ ณ เชียงใหม่ ชายสามัญชนไม่ปรากฏนาม เจ้าราชบุตร (ดวงคำ ณ ลำปาง) พระยาปาจิน ชายพม่าไม่ปรากฏนาม หม่องบอง |
บุตร | เจ้ารสสุคนธ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าแพร ณ เชียงใหม่ เจ้าสุขเกษม ณ เชียงใหม่ เจ้าธรรมวงษา ณ เชียงใหม่ เจ้ากรรณนิกา ณ เชียงใหม่ เจ้าคำใต้ ณ เชียงใหม่ เจ้าบุษบัน ณ เชียงใหม่ |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ |
พระบิดา | พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ |
พระมารดา | เจ้าอุษา |
ศาสนา | พุทธ |
เจ้าอุบลวรรณา หรือสะกดว่า อุบลวัณณา (ไทยถิ่นเหนือ: ; พ.ศ. 2385–2429)[1] เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ เป็นพระธิดาในพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ประสูติแต่เจ้าอุษา[2] เป็นน้องสาวของเจ้าทิพเกสร พระชายาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าอุบลวรรณาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นนักธุรกิจหญิงผู้เฉียบแหลม[3] ที่มีบทบาททางด้านเศรษฐกิจอันโดดเด่นเคียงคู่กับเจ้าทิพเกสร พระภคินี ที่มีความโดดเด่นด้านการปกครอง[4] ทั้งนี้เจ้าอุบลวรรณายังเป็นผู้อุปการะเจ้าดารารัศมี พระราชชายา หลังจากการเสียชีวิตของเจ้าทิพเกสร จนกระทั่งเสด็จมายังกรุงเทพฯ เพื่อรับราชการฝ่ายในของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกสองปีต่อมา
ประวัติ
[แก้]เจ้าอุบลวรรณาเป็นธิดาองค์เล็กของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 กับเจ้าอุษา เป็นขนิษฐาร่วมอุทรกับเจ้าทิพเกสร ทั้งนี้ไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับวันเกิดของนางอย่างแน่ชัด สรัสวดี อ๋องสกุล ระบุว่าเกิดใน พ.ศ. 2385[1] ส่วนเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดในปี พ.ศ. 2388[5] ขณะอายุได้ 5 ปี เจ้าอุบลวรรณาได้ติดตามเจ้าบิดา และเจ้าทิพเกสรลงไปเข้าเฝ้าถวายบรรณาการที่กรุงเทพมหานคร และลงไปกรุงเทพฯ หลายครั้ง ครั้งหนึ่งก็ใช้เวลาอาศัยอยู่ที่นั่นหลายเดือน ถือเป็นสตรีสูงศักดิ์จากเมืองเหนือที่เปิดโลกอันทันสมัยมาตั้งแต่ยังเยาว์[1]
เจ้าอุบลวรรณาสั่งสมความรู้และประสบการณ์จากการพบปะผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะหมอสอนศาสนาชาวต่างประเทศ ทำให้เธอมีความฉลาดหลักแหลม สนใจข่าวสารจากโลกภายนอก มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ทั้งนี้เจ้าอุบลวรรณามีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา และศาสนา รวมทั้งยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษดี สามารถสื่อสารกับชาวตะวันตกและพม่าได้โดยไม่ต้องใช้ล่าม[1] ฮอลต์ ฮัลเลต (Holt Hallett) เคยกล่าวยกย่องเจ้าอุบลวรรณาไว้ว่า "นักประวัติศาสตร์แห่งราชวงศ์เชียงใหม่"[1]
ใน ราชกิจจานุเบกษา ระบุว่าเจ้าอุบลวรรณาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427 ด้วยโรคฝีรำมะนาด[6] บางแห่งก็ว่าเจ้าอุบลวรรณาเสียชีวิตราว พ.ศ. 2429[1] ซึ่ง ดร. มาเรียน อาลอนโซ ชีก หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน สหายคนสนิทของเจ้าอุบลวรรณาระบุว่า นางเสียชีวิตด้วยยาพิษ แต่มิได้ระบุว่าถูกลอบสังหารหรืออัตวินิบาตกรรม[5]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อุปนิสัย
[แก้]เจ้าอุบลวรรณาเป็นสตรีที่มีรูปร่างหน้าตางดงาม มีความสามารถในการดนตรี, เย็บปักถักร้อย[7] และสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี เธอคบค้าสมาคมกับนักธุรกิจ จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็น "นักธุรกิจหญิงผู้เฉลียวฉลาด"[3] ดังปรากฏในบันทึกของคาร์ล บอค (Carl Bock) นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ได้บันทึกเนื้อความกล่าวถึงเจ้าอุบลวรรณา ไว้ตอนหนึ่งความว่า[8][7]
…เจ้าอุบลวรรณาเป็นผู้สนับสนุนมิชชันนารีเป็นอย่างดี ทั้งนี้มิใช่เพราะเธอเลื่อมใส หากแต่เธอฉลาด มองเห็นข้อได้เปรียบในการคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศ…
เจ้าอุบลวรรณามีคุณสมบัติในเรื่องความเมตตา ใจกว้าง ทั้งยังอุปการะเจ้าดารารัศมีด้วยกำพร้าพระมารดาตั้งแต่พระชันษา 11 ปี[7] ครั้นเมื่อเจ้าดารารัศมีถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ากรุงสยาม เจ้าอุบลวรรณาก็ได้มอบค่าตอไม้อันเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของท่านเองถวายแด่เจ้าดารารัศมีเพื่อเป็นของขวัญ และประดับพระเกียรติยศ[9] นอกจากนี้เจ้าอุบลวรรณายังเป็นผู้บูรณะวัดบุคคโล เขตธนบุรี ในช่วงที่ติดตามบิดาไปราชการที่กรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนชื่อวัดตามนามของเธอว่า "วัดอุบลวรรณาราม"[10]
ครอบครัว
[แก้]เจ้าอุบลวรรณา มีบุตรธิดา 7 คน ได้แก่[9][8][11]
- เจ้ารสสุคนธ์ (ห่าน) ณ เชียงใหม่ (ญ.) สมรสกับเจ้าสิงห์คำ ณ เชียงใหม่ มีโอรสธิดา 2 คน และสมรสอีกครั้งกับพิณ บูรณศิลปิน มีบุตร 2 คน เป็นเจ้ามารดาของเจ้าจันทร ณ เชียงใหม่ พระชายาในเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่)[12]
- เจ้าแพร ณ เชียงใหม่ (ญ.)
- เจ้าสุขเกษม (กบ) ณ เชียงใหม่ (ช.)
- เจ้าน้อยธรรมวงษา (น้อยคำวงษา) ณ เชียงใหม่ (ช.) เจ้าบิดาของเจ้าศิริมา ณ เชียงใหม่
- เจ้ากรรณนิกา (เต่า) ณ เชียงใหม่ (ญ.) สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (ชมชื่น ณ เชียงใหม่)[13] เป็นเจ้าย่าของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่
- เจ้าคำใต้ ณ เชียงใหม่ (ญ.)
- เจ้าบุษบัน ณ เชียงใหม่ (ญ.)
ทั้งนี้เจ้ารสสุคนธ์ เกิดแต่เจ้ามหาวงศ์ ณ เชียงใหม่[5] ส่วนเจ้าน้อยธรรมวงษา และเจ้ากรรณิกา เกิดกับเจ้าราชบุตร (ดวงคำ ณ ลำปาง)[14]
เจ้าอุบลวรรณาเป็นสุภาพสตรีที่เพียบพร้อมไปด้วยจรรยามารยาท มีชั้นเชิงด้านธุรกิจ แต่มีเรื่องอื้อฉาวด้านคู่ครอง เธอโต้ตอบท้าทายเจ้าราชบุตรว่าตนมีเสรีภาพในการเลือกคู่ครองหรือคบหากับใครก็ได้ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์[15] ทั้งนี้เจ้าอุบลวรรณาสมรสครั้งแรกกับเจ้ามหาวงศ์ ณ เชียงใหม่ แต่เลิกรากันเมื่อใดไม่ปรากฏ ตามรายงานของเดเนียล แมคกิลวารี ระบุว่าเมื่อแรกรู้จักกับพระนางในปี พ.ศ. 2425 เจ้าอุบลวรรณาก็ตกพุ่มหม้ายเสียแล้ว[5] ส่วนฮอลต์ ฮัลเลต (Holt Hallett) วานิชชาวอเมริกันได้ระบุเรื่องราวของพระนางในหนังสือ "เดินทางหนึ่งพันไมล์บนหลังช้างในรัฐฉาน" (A Thousand Miles on an Elephant in the Shan States) ว่า เจ้าอุบลวรรณามีบุตรชื่อ เจ้าสุขเกษมบุตรหัวปี และหลานสาวคือเจ้าดารารัศมี ซึ่งกำพร้ามารดา เด็กทั้งสองมีอายุห่างกันสองปี ฮัลเลตได้บันทึกอีกว่าบิดาของเจ้าสุขเกษมเป็นเพียงสามัญชนไม่มีเชื้อเจ้าจึงไม่เป็นที่ยอมรับของพระชายาพระเจ้าเชียงใหม่ (คือ เจ้าเทพไกรสร) เท่าใด[5]
เจ้าอุบลวรรณาสมรสกับเจ้าราชบุตร (หนานดวงคำ ณ ลำปาง) มีบุตรธิดาคือ เจ้าน้อยธรรมวงษา (น้อยคำวงษา) และเจ้ากรรณิกา (เต่า) ซึ่งเจ้าราชบุตร (หนานดวงคำ ณ ลำปาง) เป็นหลานตาของพระยาชมภู (เจ้าน้อยจิตวงศ์) บุตรของพระยาเพชรเม็ง (เจ้าน้อยจิตตะ) เจ้าฟ้าเชียงราย กับเจ้านางสมนา[16] นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับพระยาปาจิน ขุนนางในกรุงเทพมหานคร[17][18]
ต่อมาเจ้าอุบลวรรณาสมรสอย่างลับ ๆ กับพ่อค้าไม้สักชาวพม่าซึ่งเป็นคนในบังคับอังกฤษผู้หนึ่ง แต่พระประยูรญาติใช้กฎเหล็กแห่งฐานันดรศักดิ์กีดกันทั้งสอง[5] ต่อมาเจ้าอุบลวรรณาก็ทรงสมัครรักใคร่กับพ่อค้าพม่าสามัญชนอีกคนหนึ่ง ชื่อหม่องบอง แต่เมื่อนัดพบกันในคืนเดือนมืด พม่าผู้นั้นก็ถูกวิสามัญฆาตกรรมเสียก่อน[5] เจ้าอุบลวรรณาเสียใจมากและได้สืบหาฆาตกรอยู่หลายปี ท้ายที่สุดเจ้าอุบลวรรณาก็ครองโสดเป็นหม้ายจนสิ้นชีวิต[5]
การทำงาน
[แก้]เจ้าอุบลวรรณาเล็งเห็นอนาคตทางธุรกิจการค้า ดังปรากฏเมื่อครั้งที่ชาวจีนขอผูกขาดการต้มเหล้า ระหว่างการพิจารณานั้นแม่เจ้าทิพเกสรได้ล้มป่วย และมีการจัดพิธีทรงเจ้าตามความเชื่อในอดีตโดยเจ้าอุบลวรรณารับเป็น "ม้าขี่" หรือร่างทรง เมื่อวิญญาณที่มาเข้าร่างทรงได้แสดงความไม่พอใจอย่างมากที่จะอนุญาตให้คนจีนผูกขาดการต้มเหล้า ทั้งยังได้ขู่สำทับด้วยว่า หากมีการอนุญาตจะเกิดเหตุใหญ่ร้ายแรงกว่านี้ และการที่แม่เจ้าทิพเกสรเจ็บป่วยครั้งนี้เป็นเพียงการสั่งสอนเท่านั้น แม้จะไม่ทราบว่าการทรงเจ้าดังกล่าวเป็นจริงหรือเป็นอุบายของเจ้าอุบลวรรณาเอง แต่อย่างไรก็ตามก็ทำให้ล้มเลิกการผูกขาดการต้มเหล้าไป[9][8][7]
เจ้าอุบลวรรณาเป็นผู้ขอให้พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ซื้อป่าไม้ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายไปจรดแดนพม่า และป่าไม้จังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้งหมด แล้วให้ชาวต่างชาติเช่าทำกิจการป่าไม้ ดังปรากฏในบันทึกของเจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี ความว่า "...ณ เชียงใหม่สายพระเจ้ากาวิโรรสจึงได้รับค่าตอไม้มากกว่าสายอื่น...ข้าพเจ้าจำได้ว่าเจ้ายายของข้าพเจ้าเปนธิดาของเจ้าหญิงอุบลวรรณามารับค่าตอไม้ เอากระบุงขนาดใหญ่อย่างใช้หาบข้าวมาโกยเงินจากบนโต๊ะที่นับไว้เปนกอง ๆ ลงกระบุงเต็มสองกระบุง เอากระด้งปิดปากกระบุง..."[19]
นอกจากนี้ยังเป็นกำลังสำคัญในการตั้งโรงงานต่าง ๆ เช่น โรงงานทอผ้า โรงทำเครื่องเงิน โรงแกะสลักไม้ โรงต้มเหล้า ฯลฯ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ และมีเงินภาษีบำรุงบ้านเมือง[3][7] โดยใช้ความเป็นเจ้าและอำนาจทางการเมืองของตนในการปกป้องธุรกิจของตนไม่ถูกกระทบกระเทือน รวมทั้งพยายามต่อต้านอำนาจรัฐบาลสยามที่มีแนวโน้มในการลิดรอนอำนาจท้องถิ่น[1]
ลำดับสาแหรก
[แก้]พงศาวลีของเจ้าอุบลวรรณา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 สรัสวดี อ๋องสกุล (26 เมษายน 2562). "บทบาทของขัตยนารีในประวัติศาสตร์ล้านนา". วารสารประวัติศาสตร์. หน้า 27-29
- ↑ "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-10-11.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "แม่ญิงศรีล้านนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-09. สืบค้นเมื่อ 2012-10-11.
- ↑ ภูเดช แสนสา. "คติแนวคิดและพัฒนาการของการก่อ "กู่" อัฐิในล้านนา ธรรมเนียมจาก "ราช" สู่ "ราษฎร์"" (PDF). เวียงท่ากาน. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555). "เจ้าอุบลวรรณา เมื่อคิดจะรัก ต้องกล้าหักด่านฐานันดร". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1666, หน้า 76
- ↑ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๕ ชุดสมุดพิเศษ. ร.๕ รล.-พศ. เล่ม ๒๘.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "เจ้าอุบลวรรณา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "บุคคลสำคัญ: เจ้าอุบลวรรณา". เชียงใหม่ไทยแลนด์ดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 9.0 9.1 9.2 "เจ้าอุบลวรรณา". เชียงใหม่ไทยแลนด์ดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วัดบุคคโล ประกายศรัทธาแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา". Goodlifeupdate. 17 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เจ้าราชบุตร. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร. 2516. p. 316.
- ↑ "แม่เจ้าจามรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2013-03-15.
- ↑ รายพระนามเหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ. ชั้น ๕ (ชั้นหลาน) สาย ๑ - สายพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ เก็บถาวร 2007-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 16 มีนาคม 2556
- ↑ วงศ์จันทร์ คชเสนี. "ประวัติเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง)". อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2540, ภาคผนวก
- ↑ จิระนันท์ พิตรปรีชา. ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก. 2552 , หน้า 109-110
- ↑ ภูเดช แสนสา. "เจ้าเชื้อเชียงราย" ในเมืองนครลำปาง
- ↑ "ตามรอย "เจ้านายสตรีล้านนา" เครื่องมือทางการเมือง? ? และความรักที่ไม่สมหวัง…". ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ฮิมวัง (10 กันยายน 2565). "สัมพันธ์ เจ้านายสตรีล้านนา กับเจ้านาย-ขุนนางสยาม ความรัก ผลประโยชน์ การเมือง?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ วงศ์จันทร์ คชเสนี. "บันทึกความทรงจำ". อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2540, หน้า 20
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- กราบอฟสกี้, ฟอลเกอร์. "เจ้าอุบลวรรณา." ใน เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บก.), ขัตติยานีศรีล้านนา (น. 268-78). เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, 2547.
- เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. "เจ้าอุบลวรรณา เมื่อคิดจะรัก ต้องกล้าหักด่านฐานันดร". บทความดี ๆ เพื่อชีวิตเสรี&เวทียุติธรรม. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - วราภรณ์ เรืองศรี. “อุบลวัณณา: ผู้หญิงในประวัติศาสตร์เปลี่ยนผ่านของยุคสมัย.” วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 10, 2 (2566): 1-34.
- อดิศร ศักดิ์สูง. “สตรีในสังคมเชียงใหม่สมัยวงศ์เจ้าเชื้อเจ็ดตน พ.ศ. 2339-2476.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539.