สไปโนซอรัส
สไปโนซอรัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Early–Late Cretaceous, 112.03–93.5Ma Possible Campanian record[1] | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
เคลด: | ไดโนเสาร์ |
เคลด: | ซอริสเกีย |
เคลด: | เทโรพอด |
วงศ์: | †Spinosauridae |
เผ่า: | †Spinosaurini |
สกุล: | †Spinosaurus Stromer, 1915 |
ชนิดต้นแบบ | |
Spinosaurus aegyptiacus Stromer, 1915 | |
ชื่อพ้อง | |
|
สไปโนซอรัส (อังกฤษ: Spinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีกระโดง ถูกค้นพบครั้งแรกในทะเลทรายซาฮาร่าของอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ. 1915 โดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวบาวาเรีย นาม เอิร์ล สโตรเมอร์ โดยขุดค้นไปตามชายขอบด้านตะวันออกของระบบแม่น้ำโบราณซึ่งมีหินในชั้นแคมเบรียนก่อตัวเป็นพรมแดนด้านตะวันตก สไปโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อที่เดิน 2 ขาเป็นหลัก มีจุดเด่น คือกระดูกสันหลังสูงเป็นแผ่นคล้ายใบเรือ เป็นรูปทรงที่คล้ายกับตัว M มี 11 ชิ้น ชิ้นที่ยาวที่สุดมีความยาว 1.69 เมตร เนื่องจากถูกค้นพบฟอสซิลในบิรเวณใกล้แม่น้ำประเทศอียิปต์จึงได้ตั้งสันนิษฐานว่า อาหารของสไปโนซอรัสส่วนใหญ่อาจจะเป็นปลา พร้อมกับการที่มันมีกะโหลกที่คล้ายจะงอยปากแคบที่เต็มไปด้วยฟันรูปกรวยซึ่งสามารถใช้ในการจับเหยื่อตัวลื่นๆได้ มีหงอนเดี่ยวขนาดใหญ่อยู่ระหว่างดวงตาทั้งสองข้างดวงตา แขนมีความแข็งแรง มีนิ้วอยู่ทั้งหมด 3 นิ้ว สามารถใช้เป็นอาวุธและจับเหยื่อได้[2]
มีความสูงจากพื้นถึงสะโพกที่ 3 เมตร ความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจรดปลายหางประมาณ 15 เมตร ค้นพบฟอสซิลที่สมบูรณ์ที่สุดยาว 15 เมตร (ส่วนกะโหลก ยาว 1.75 ม.) น้ำหนัก 6-10 ตัน
อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเทเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว) ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลางมีไดโนเสาร์คาร์คาโรดอนโทซอริดส์ขนาดใหญ่ คือ คาร์คาโรดอนโทซอรัส ได้อาศัยอยู่ร่วมระบบนิเวศเดียวกันที่มีความยาวประมาณ 13 เมตร และเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่คู่แข่งของสไปโนซอรัสและไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลอื่นแต่อย่างใด สไปโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ในโลก , มันมีญาติอย่าง ซูโคไมมัส บารีออนนิกซ์
การค้นพบและข้อสันนิษฐาน
[แก้]สไปโนซอรัสถูค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1915 โดยนักบรรพชีวินวิมยาชาวบาวาเรีย เอิร์ล สโตรเมอร์ โดยค้นพบในบริเวณทะเลทรายซาฮาราทางตะวันออกของประเทศอียิปต์ ซึ่งในสมัยนั้นมันถูกวาดขึ้นและสันนิษฐานหน้าตาให้คล้ายกับ T-rex หรือ อัลโลซอรัส เพราะมีการค้นพบเพียงส่วนของกรามล่าง กระโดงหลัง และกระดูกส่วนอื่นๆเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ภาพจำของสไปโนซอรัสในยุคนั้นจึงเหมือนกับ T-rex มีกระโดง ที่เดินหางลากพื้นเป็นกิ้งก่าอุ้ยอ้าย[3]
ต่อมาในปี ค.ศ. 1943 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดลงในเมืองมิวนิก ทำให้หลักฐานฟอสซิลของสไปโนซอรัสที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์มิวนิกถูกทำลายจนหมดและตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีการค้นพบหลักฐานทางฟอสซิลของสไปโนซอรัสในแอฟริกาอีกเลย
จนกระที่งในปี ค.ศ.1990 ได้มีการค้นพบญาติสนิทของสไปโนซอรัสอย่าง ซูโคไมมัส และ บาริออนนิกซ์ จึงทำให้รู้ว่าสไปโนซอรัสนั้นไม่ได้มีหน้าสั้นคล้ายกับพวกอัลโลซอรัส แต่มีปากยาวแคบ ทำให้สไปโนซอรัสในยุคนี้มีหน้าตาที่คล้ายกับญาติสนิทของมัน คือมีลำตัวยาว ปากยาวแคบ มีหงอนขนาดเล็กอยู่เหนือดวงตาทั้งสองข้าง และมันเดินได้ด้วยสองขาหลัง มีกระโดงเป็นรูปครึ่งวงกลมขนาดใหญ่บนหลัง
และต่อมาในปี ค.ศ.2014 นิซาร์ อิบราฮิม และ พอล เซเรโนได้เสนอทฤษฎีที่กล่าวว่า สไปโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่หากินอยู่ในน้ำเป็นหลัก โดยมีอาหารหลัก คือ ปลาและสัตว์น้ำ ด้วยรูจมูกซึ่งตั้งอยู่บนกะโหลกค่อนมาทางดวงตาช่วยให้หายใจได้แม้ส่วนใหญ่ของหัวจะจมลงในน้ำ และลำตัวทรงกระบอกที่คล้ายโลมาและวาฬ ส่วนความหนาแน่นของซี่โครงและกระดูกที่แขนก็คล้ายคลึงกับกระดูกของพะยูน ขาหลังที่สั้นและน่าจะเหมาะกับการว่ายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มีกรงเล็บเท้าแบน ๆ ในเท้าหลังที่กว้างมีพังผืดเชื่อมต่อกันเหมือนตีนเป็ด อีกทั้งยังมีขากรรไกรเรียวยาวและฟันรูปกรวยคล้ายกับฟันของจระเข้น่าจะใช้จับปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหลุมตรงปลายจมูกซึ่งปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นในสัตว์จำพวกจระเข้และอัลลิเกเตอร์ อาจมีตัวรับความดันสำหรับตรวจจับอาหารในน้ำขุ่น โดยเชื่อว่า เมื่อล่าเหยื่อ สไปโนซอรัสจะโน้มตัวไปข้างหน้าแล้วงับปลาด้วยปากที่ยาว และเชื่อว่าสไปโนซอรัสใช้เวลาว่ายน้ำหาอาหารมากถึงร้อยละ 80 ต่อวัน
หลังจากมีการค้นพบขาหลังของสไปโนซอรัสในปี ค.ศ.2014 ก็พบว่าขาหลังของสไปโนซอรัสนั้นสั้น ยืน2ขาได้ลำบาก ต่างจากในภาพยนตร์จูราสสิค พาร์ค 3ได้ และยังมีการพบว่าเท้านั้นเป็นผังผืดเหมือนตีนเป็ด ซึ่งไม่เหมาะที่จะวิ่งไล่จับเหยือบนบกได้ ดังนั้นจึงคาดว่าน่าจะมีไว้ใช้ในการว่ายน้ำมากกว่า
กระโดงบนหลังของสไปโนซอรัส เดิมทีแล้วนักบรรพชีวินวิทยาได้สันนิฐานว่า น่าจะใช้ในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย และใช้ในการทรงตัว จึงทำให้มันเป็นสัตว์ที่ตื่นตัวมาก
และต่อมา นิซาร์ อิบราฮัม และนักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษากระโดงอย่างละเอียดแล้วว่า กระโดงนั้นมีปริมาณหลอดเลือดน้อยมากจึงไม่สามารถใช้ในการปรับอุณหภูมิ จึงได้สันนิฐานใหม่ว่า กระโดงน่าจะใช้ในการดึงดูดเพศตรงข้ามหรือไม่ก็ใช้ในการข่มขวัญพวกเดียวกันเองหรือไดโนเสาร์นักล่าสายพันธุ์อื่นๆ และได้มีการย้ายชิ้นส่วนกระโดงที่ยาวสุดไปไว้ช่วงท้าย เพื่อให้หางเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระมากขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ในการว่ายน้ำ
และล่าสุดในปี 2020 ได้มีการค้นพบฟอสซิลส่วนปลายหางของสไปโนซอรัส ซึ่งมันคือหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีของนิซาร์และพอลเป็นอย่างดี ซึ่งโครงกระดูกส่วนนี้เป็นกระดูกที่แสดงให้เห็นว่าสไปโนซอรัสนั้นเป็นสัตว์ Semiaquatic (สัตว์ที่มีการหาอาหาร ความเป็นอยู่ รวมถึงการดำรงชีวิตต่างๆใกล้แหล่งน้ำ เช่น ตุ่นปากเป็ด แมวน้ำ จระเข้ เป็นต้น) จึงทำให้รูปร่างหน้าตาล่าสุดของสไปโนซอรัสนั้น มีหางเป็นใบพายคล้ายครีบปลาขนาดใหญ่ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง จึงทำให้มันสามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ทำการทดลองเกี่ยวกับหางของสไปโนซอรัส โดยใช้แบบจำลองสามมิติในการทดสอบประสิทธิภาพของหางสไปโนซอรัสแล้วพบว่าหางของมันนั้นมีความยืดหยุ่นมากเมื่อเทียบกับเทอโรพอดชนิดอื่นๆ มันจึงสามรถว่ายน้ำได้อย่างอิสระ ส่วนลักษณะการเดินนั้นยังเป็นข้อสันนิษฐานกันอยู่ซึ่งมันอาจจะเดินด้วยสองขาหลังและสามารถใช้ในการว่ายน้ำได้อีกด้วยเพราะขาหลังของมันมีเล็บเท้าที่แบนเหมาะแก่การว่ายน้ำ พร้อมทั้งยังมีการสันนิษฐานว่ามันอาจจะมีพังผืดระหว่างนิ้วของพวกมันด้วย[4]
ลักษณะเด่นและรายละเอียด
[แก้]ขนาด
[แก้]สไปโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา โดยมีขนาดโดยประมาณคือ 15 - 17 เมตร และน้ำหนัก 11 - 16 ตัน ซึ่งถือว่าใหญ่กว่า นักล่าจากแดนใต้อย่าง จิกแกนโนโตซอรัส ที่มีขนาดอยู่ที่ 13 เมตร หนัก 14 - 15 ตัน และ ทรราชแห่งไดโนเสาร์ ไทแรนโนซอรัส ก็ยังมีขนาดเพียงแค่ 12.3 เมตรเท่านั้น สไปโนซอรัสจึงถือว่าเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา แต่ก็ใช่ว่ามันจะเป็น Apex predator (สุดยอดนักล่า) เพราะมันมีคู่แข่งทางธรรมชาติอยู่มาก ทำให้มันต้องหันมากินปลาและสัตว์น้ำแทน เพื่อลดการเผชิญหน้ากับนักล่าขนาดใหญ่ตัวอื่น ซึ่งเป็นการสนับสนุนทฤษฎีของนิซาร์ได้เป็นอย่างดี
กะโหลก
[แก้]กะโหลกของสไปโนซอรัสนั้นเป็นกะโหลกทรงแคบจากด้านข้างและทรงสูงต่างจากจระเข้ตรงที่จระเข้จะมีกะโหลกทรงแคบจากด้านบน ทำให้สไปโนซอรัสมีความแตกต่างจากจระเข้ สไปโนซอรัสมีจมูกที่ยาวแคบและมีรูอยู่บริเวณปลายปากซึ่งรูเหล่านั้นเป็นประสาทสัมผัสที่ส่งตรงถึงสมองโดยตรง ประสาทสัมผัสเหล่านี้เป็นส่วนช่วยในการล่าเหยื่อในน้ำของสไปโนซอรัส ซึ่งใช้ในการจับการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยก็สามรถรู้ถึงตำแหน่งของเหยื่อได้ โดยเจ้าสไปโนซอรัสจะจุ่มปลายปากลงไปในน้ำและกวาดไปมา พอจับการเคลื่อนไหวได้มันจะโจมตีทันที
โครงสร้างของกระโดงหลัง
[แก้]อย่างที่รู้กันว่าสไปโนซอรัสนั้นเป็นไดโนเสาร์ที่มีกระดูกสันหลังสูงจนกลายเป็นกระโดงหลังที่มีลักษณะคล้ายใบเรือขนาดใหญ่ ที่เป็นรูปตัว M แต่ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์และนักบรรพชีวินวิทยาหลายต่อหลายคนยังถกเถียงกันอยู่ถึงหน้าที่ของกระโดงหลังของเจ้าสไปโนซอรัส เพราะในตอนแรกที่ค้นพบมัน สโตรเมอร์ ได้สันนิษฐานไว้ว่ากระโดงหลังของมันนั้นใช้ในการปรับอุณหภูมิของร่างกายคล้ายกับกระโดงหลังของ ไดเมโทรดอน ที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในยุคเพอร์เมียนตอนกลาง (เจ้าไดเมโทรดอนมักถูกหลายๆคนเข้าใจผิดว่าเป็นสไปโนซอรัสอยู่ตลอด)
แต่สุดท้ายทฤษฏีนี้ก็ถูกปัดตกไปเพราะไม่มีการค้นพบร่องรอยของเส้นเลือดในโครงกระกระดูกกระโดงหลังเลย ต่างจากเจ้าสเตโกซอรัสที่มีการค้นพบร่องรอยของเส้นในแผ่นหลังของพวกมัน หรือจะเป็นไดเมโทรดอนก็เช่นกัน... ทำให้ได้มีการสันนิษฐานขึ้นมาใหม่ว่ากระโดงหลังของมันนั้นอาจจะใช้ในการข่มขู่ศัตรูและดึงดูดเพศตรงข้ามคล้ายกับหงอนหรือหางของนกยูง
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]สไปโนซอรัสได้ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค 3 และกลายเป็นตัวชูโรงแทน T-REX ในภาพยนตร์ได้เปรียบเทียบการต่อสู้ของไดโนเสาร์นักล่า 2 พันธุ์มาประจันหน้ากัน ซึ่งท้ายที่สุด สไปโนซอรัส ซึ่งได้เปรียบที่ขนาดตัว และ น้ำหนักที่มากกว่า เป็นฝ่ายหักคอ T-REX ล้มไป ใน จูราสสิค เวิลด์ สไปโนซอรัสมาในรูปแบบโครงกระดูก และถูก ทีเร็กซ์พุ่งชนพังทลาย
สไปโนซอรัสยังปรากฏตัวในสารคดีของ BBC เรื่อง Planet dinosaurs ตอนที่ 1 lost world ซึ่งในตอนจบได้เข้าปะทะกับคาร์คาโรดอนโตซอรัสที่อยู่ในเขตเดียวกัน แม้ในตอนแรกสไปโนซอรัสจะขับไล่คาร์คาโรดอนโตซอรัสไปได้ แต่ในที่สุด ด้วยการกัดที่อันตรายกว่าของคาร์คาโรดอนโตซอรัสก็ทำให้สไปโนซอรัสพบจุดจบในที่สุด
ดูเพิ่ม
[แก้]- แบรีออนิกซ์ (Baryonyx walkeri)
- ซูโคไมมัส (Suchomimus tenerensis)
- อิริเทเทอร์ (Irritator challengeri)
- สยามโมซอรัส (Siamosaurus suteethorni)
- อิกทิโอเวเนเตอร์ (Ichthyovenator laosensis)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Churcher, C. S; De Iuliis, G (2001). "A new species of Protopterus and a revision of Ceratodus humei (Dipnoi: Ceratodontiformes) from the Late Cretaceous Mut Formation of eastern Dakhleh Oasis, Western Desert of Egypt". Palaeontology. 44 (2): 305–323. doi:10.1111/1475-4983.00181. ISSN 0031-0239.
- ↑ เอลเบน,แอชเชอร์ (26 มกราคม 2564)https://www.nytimes.com/2021/01/26/science/spinosaurus-underwater-dinosaur.html นิวยอร์กไทมส์
- ↑ Smith , J.B.; Lamanna , M.C.; Mayr, H.; และ Larcovara, K.J. (2006) "ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ spinosaurus aegyptiacus,Stromer,1915" วารสารบรรพชีวินวิทยา
- ↑ https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0195667120302068?via%3Dihub