คาร์โนทอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คาร์โนทอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ครีเทเชียสตอนปลาย (มาสทริเชียน),[1] 71Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับย่อย: Theropoda
วงศ์: Abelisauridae
วงศ์ย่อย: Carnotaurinae
เผ่า: Carnotaurini
สกุล: Carnotaurus
Bonaparte, 1985
Species

C. sastrei Bonaparte, 1985 (type)

คาร์โนทอรัส (อังกฤษ: En:Carnotaurus) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ถูกค้นพบที่อเมริกาใต้ โดยมันมีชีวิตอยูในช่วงยุคครีเทเชียสตอนปลาย ระหว่าง 71 - 69 ล้านปีก่อน โดยในตอนนี้ยังค้นพบพวกมันแค่เพียงสปีชีส์เดียวคือ Carnotaurus Sastrei โดยมันเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์จากซีกโลกใต้ที่มีคนรู้จักมากที่สุด จากสื่อภาพยนตร์หรือสารคดี อีกทั้งมันยังเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่ต่างจากเทอโรพอดชนิดอื่นๆ อย่างชัดเจน เพราะมันมีเขาทั้งสองข้างตรงบริเวณเหนือตาที่เป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของมัน จึงทำให้มันดูเตะตาสำหรับกลุ่มคนที่เป็นเด็กอย่างมาก

คาร์โนทอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่เรารู้ข้อมูลมันค่อนข้างเยอะ เนื่องจากมีการค้นพบฟอสซิลโครงกระดูกของมันที่มีความสมบูรณ์มากถึง 70% จึงทำให้นักบรรพชีวินวิทยามีความรู้เกี่ยวกับมันมาก โดยมันถูกค้นพบที่รัฐชูบุต ประเทศอาร์เจนตินา ทวีปอเมริกาใต้ เมื่อปี 1984 โดยถูกค้นพบในหมวดหิน La Colonia Formation โดย คาร์โนทอรัส ถูกจัดอยู่ในวงศ์ของไดโนเสาร์ Abelisauridae (เอบิลิซอริดี) ซึ่งเป็นวงศ์ของไดโนเสาร์เทอโรพอดขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของไดโนเสาร์วงศ์นี้ คือมีขาหน้าที่เล็กจิ๋วจนเหมือนจะใช้การไม่ได้ และมีรูปร่างที่ปราดเปรียวเหมาะสำหรับการวิ่ง แต่ไม่เหมาะกับการวิ่งแบบเลี้ยวไปเลี้ยวมาจะทำให้ตัวของพวกมันล้มทันที

ภาพที่กระดูกปรากฏอยู่บนภาพโครงสร้างร่างกายของ คาร์โนทอรัส คือกระดูกที่นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบ ณ เวลานั้น

คาร์โนทอรัส เป็นเทอโรพอดขนาดกลาง โดยมันเป็นนักล่าที่มีน้ำหนักเบามาก มีความยาวลำตัวอยู่ที่ 7.4 - 8 เมตร และมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 1.3 - 2.1 ตัน คาร์โนทอรัสนับเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างมาก และคงจะหลีกไม่พ้นเขาทั้งสองข้างที่อยู่บนหัวของมันที่ทำให้มันดูมีเอกลักษณ์ขึ้นมา นักบรรพชีวินวิทยาหลายต่อหลายคนยังมีการศึกษากันอยู่ว่าพวกมันมีเขาไว้ใช้ทำสิ่งใด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะสันนิษฐานกันว่าเขาของคาร์โนทอรัสมีไว้ใช้ในการป้องกันตัวและการหาคู่ ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับโครงสร้างร่างกายส่วนอื่นๆของพวกมันโดยเฉพาะแผ่นหลัง บริเวณหลังของพวกมันมีการค้นพบตุ่มเกล็ดขนาด 5 มิลลิเมตร เรียงเป็นแถวตรงกระจัดกระจายอยู่ตามแนวกระดูกสันหลัง โดยหลักฐานนี้ มีการค้นพบจากรอยประทับของผิวหนังที่กลายเป็นฟอสซิล และยังเป็นการยืนยันได้อีกว่าตัวของคาร์โนทอรัสนั้นไม่มีขน

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Cerroni2020