ไดโลโฟซอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไดโลโฟซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Early Jurassic, 193Ma
Dilophosaurus skull and neck, Royal Tyrrell Museum
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับย่อย: Theropoda
วงศ์: Dilophosauridae
สกุล: Dilophosaurus
Welles, 1970
ชื่อทวินาม
Dilophosaurus wetherilli
(Welles, 1954)
ชื่อพ้อง

ไดโลโฟซอรัส (อังกฤษ: Dilophosaurus) หงอนของมันจะมีเฉเพาะตัวผู้เท่านั้น สันนิษฐานว่ามีไว้อวดตัวเมียเวลาผสมพันธุ์คล้ายกับของสัตว์ปีกในปัจจุบัน ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ามีหงอน พบที่ทวีปอเมริกาเหนือ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคตอนต้นเมื่อประมาณ 208 ล้านปีก่อน ยาวประมาณ 6-7 เมตร มันมีฟันหน้าอันแหลมคมที่นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่ามีไว้สำหรับฉีกเนื้อมากกว่าการขย้ำหรือขบกัดเพราะมีกระโหลกที่ค่อนข้างจะเปราะบาง

ไดโลโฟซอรัส เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปจากการปรากฏตัวใน ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค โดยภายในภาพยนตร์ได้มีการแสดงว่า ไดโลโฟซอรัส สามารถกางแผงคอและ สามารถพ่นพิษออกจากปากได้ คล้ายงูเห่าพ่นพิษที่พบในทวีปเอเชียและแอฟริกา แต่เป็นเพียงเพื่อการเพิ่มอรรถรสในการชมเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า ไดโลโฟซอรัสสามารถพ่นพิษหรือกางแผงคอได้

ภายหลังมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าแพงคอนั้นไม่มีอยู่จริงตามซากดึกดำบรรพ์

ใน วันที่ 8 กรกฎาคม ปี 2020 จากการศึกษาล่าสุดโดยนักบรรพชีวินวิทยา อดัม มาร์ช ได้นำตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์โครงกระดูกที่สมบูรณ์ที่สุดของไดโลโฟซอรัส 3 โครง และโครงกระดูกชุดใหม่ของไดโลโฟซอรัสจำนวน 2 โครง มาศึกษา หนึ่งในลักษณะสำคัญที่พบคือรูปร่างของหงอนด้านบนกะโหลกของไดโลโฟซอรัส จากการศึกษาโดยละเอียดครั้งใหม่ แผ่นหงอนกลับแสดงลักษณะเป็นโพรงคล้ายรวงผึ้ง จึงสามารถอนุมานได้ว่าหงอนของไดโลโฟซอรัสอาจประกอบด้วยถุงลมที่ช่วมลดน้ำหนักของกะโหลกคล้ายกับหงอนของนกปัจจุบันอย่างนกแคสโซแวรี และนกเงือก ทำให้มันอาจมีหงอนที่หนาและเต็มไปด้วยเนื้อเยื่อ แตกต่างจากภาพลักษณ์เดิมที่เคยมีหงอนเป็นแผ่นกระดูกบาง นอกจากนี้ในโครงกระดูกของไดโลโฟซอรัสโครงใหม่ยังพบกระดูกหุ้มสมอง(braincase)ชิ้นใหม่เพิ่มเติม ซึ่งถุงลมนี้ได้กระจายตัวตั้งแต่หงอนไปจนถึงส่วนกระดูกหุ้มสมองอีกด้วย ซึ่งทำให้หงอนของไดโลโฟซอรัส นอกจากมีไว้ใช้โอ้อวดเพื่อความสวยงามแล้ว ยังสามารถใช้ลดน้ำหนักและเป็นแหล่งกักเก็บถุงลมอีกเช่นกัน

โครงกระดูกชุดใหม่ประกอบด้วยขาหลังที่สมบูรณ์ กระดูกหุ้มสมอง และกระดูกเชิงกราน การค้นพบกะโหลกเพิ่มเติมได้ทำให้เกิดการศึกษาใหม่ และพบว่าไดโลโฟซอรัสมีกล้ามเนื้อกรามที่แข็งแรง ทำให้มีแรงกัดมาก แตกต่างจากที่เคยสันนิษฐานไว้ว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีแรงกัดอ่อน ดังนั้น ด้วยลักษณะนี้ จึงทำให้ไดโลโฟซอรัส จัดเป็นนักล่าขนาดใหญ่จากต้นยุคจูราสสิกที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีทั้งรูปร่างที่ปราดเปรียว ว่องไว เพราะมีโครงกระดูกที่เบา และยังมีแรงกัดที่สูง และด้วยโครงสร้างที่เบา ทำให้สามารถเพิ่มขนาดได้มากยิ่งขึ้น

ลักษณะทางกายวิภาคของไดโลโฟซอรัส คือกุญแจสู่การวิวัฒนาการของไดโนเสาร์เทอโรพอด และได้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญให้เราได้ทราบถึงวิวัฒนาการของไดโนเสาร์นักล่าในช่วงต้นยุคจูราสสิก ที่สามารถเพิ่มขนาดจนมีขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]