สเปนภายใต้การนำของฟรังโก
รัฐสเปน Estado Español (สเปน) | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1936–1975 | |||||||||||
ธงชาติสเปน
(1945–1977) ตราแผ่นดิน
(1945–1977) | |||||||||||
ดินแดนและอาณานิคมของรัฐสเปน:
| |||||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | มาดริด[a] | ||||||||||
ภาษาราชการ | สเปน | ||||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก (ทางการ) | ||||||||||
เดมะนิม | ชาวสเปน | ||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบพรรคการเมืองเดียวภายใต้ลัทธิบุคคลนิคมเผด็จการของฟรังโก | ||||||||||
เกาดิโย | |||||||||||
• ค.ศ. 1936–1975 | ฟรันซิสโก ฟรังโก | ||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||
• ค.ศ. 1938–1973 | ฟรันซิสโก ฟรังโก | ||||||||||
• ค.ศ. 1973 | ลุยส์ การ์เรโร บลังโก | ||||||||||
• ค.ศ. 1973–1975 | การ์โลส อาเรียส นาบาร์โร | ||||||||||
เจ้าชาย | |||||||||||
• ค.ศ. 1969–1975 | เจ้าชายฆวน การ์โลส | ||||||||||
สภานิติบัญญัติ | กอร์เตสเอสปัญโญลัส | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยระหว่างสงคราม • สงครามโลกครั้งที่สอง • สงครามเย็น | ||||||||||
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1936 | |||||||||||
1 เมษายน ค.ศ. 1939 | |||||||||||
6 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 | |||||||||||
14 ธันวาคม ค.ศ. 1955 | |||||||||||
1 มกราคม ค.ศ. 1967 | |||||||||||
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 | |||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
ค.ศ. 1940[1] | 856,045 ตารางกิโลเมตร (330,521 ตารางไมล์) | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• ค.ศ. 1940[1] | 25,877,971 | ||||||||||
สกุลเงิน | เปเซตาสเปน | ||||||||||
รหัสโทรศัพท์ | +34 | ||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อิเควทอเรียลกินี โมร็อกโก สเปน เวสเทิร์นสะฮารา | ||||||||||
สเปนภายใต้การนำของฟรังโก (สเปน: España franquista) หรือ ระบอบเผด็จการฟรังโก (สเปน: dictadura franquista) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐสเปน (สเปน: Estado Español)[a] เป็นช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์สเปนที่เริ่มขึ้นตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของนายพลฟรันซิสโก ฟรังโก หลังฝ่ายชาตินิยมมีชัยชนะเหนือฝ่ายนิยมสาธารณรัฐในสงครามกลางเมืองในเดือนเมษายน ค.ศ. 1939 จนกระทั่งฟรังโกถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1975 แม้ว่าการรื้อฟื้นระบอบเผด็จการจะลากยาวไปจนถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติใน ค.ศ. 1978
หลังสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง นายพลฟรังโกได้จัดตั้งระบอบเผด็จการฟาสซิสต์[7] หรือระบอบกึ่งฟาสซิสต์[8] ที่เป็นการรวมเอาอิทธิพลที่เห็นได้ชัดของลัทธิเผด็จการเยอรมันและอิตาลีในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านแรงงานสัมพันธ์ นโยบายเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง ด้านสุนทรียศาสตร์ การใช้สัญลักษณ์[9] หรือระบบพรรคการเมืองเดียว[10] เป็นต้น ในช่วงท้ายของการปกครอง ระบอบได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเผด็จการแบบพัฒนานิยมมากขึ้น[11] แม้ว่าจะยังรักษาความเป็นฟาสซิสต์ที่หลงเหลืออยู่เสมอ[8] ทั้งนี้ ระบอบฟรังโกไม่มีอุดมการณ์ที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน นอกเหนือจากโรมันคาทอลิกแห่งชาติ (National Catholicism)
ในช่วงทศวรรษ 1940 เผด็จการทหารเริ่มแข็งแกร่งขึ้นจากการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า "ความน่าสะพรึงสีขาว" (terror blanco) มีผู้คนราว 485,000 คน ได้หลบหนีออกนอกประเทศ[12] แหล่งข้อมูลบางส่วนกล่าวว่ามีผู้อพยพประมาณ 9,000-15,000 คน ที่ถูกจับกุมในค่ายกักกันนาซี ซึ่งมีจำนวนครึ่งหนึ่งที่รอดชีวิตมาได้[13][14] ส่วนบุคคลอื่น ๆ ถูกจับเข้าค่ายกักกันของฟรังโก โดยคาดว่ามีจำนวนไม่ต่ำกว่า 367,000 คน ที่ถูกกักกันในค่ายกักกันที่มีประมาณ 150-188 แห่ง[13] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 มีชายหญิงอีก 280,000 คน ที่ถูกคุมตัวอยู่ในเรือนจําของรัฐ[15][16] นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งประมาณการไว้ว่า ผู้คนตั้งแต่ 23,000-46,000 คนถูกประหารชีวิตในช่วงหลังสงคราม[17]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าประเทศจะดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด[18] แต่ก็มีส่วนสนับสนุนนาซีเยอรมนีต่อการบุกครองสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการส่งกองพลน้ำเงิน ซึ่งเป็นหน่วยทหารอาสาเข้าร่วมกับกองทัพเยอรมันในแนวรบด้านตะวันออกเป็นเวลาสองปี ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะนี้ทำให้ประเทศถูกโดดเดี่ยวในระดับนานาชาติหลังจากความพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945 ซึ่งได้รับการส่งเสริมโดยพันธมิตรภายในองค์การสหประชาชาติที่สร้างขึ้นใหม่
ในช่วงทศวรรษ 1950 ภายใต้กรอบของสงครามเย็น ตําแหน่งทางภูมิศาสตร์และการปกครองแบบเผด็จการทหารของสเปนกลายเป็นยุทธศาสตร์สําหรับสหรัฐและพันธมิตรในยุโรปเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต พันธมิตรระหว่างสเปนกับสหรัฐได้ยุติการถูกโดดเดี่ยวของประเทศ และสนับสนุนการเปิดเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นไปในระดับการพัฒนาที่ต่ำกว่าเศรษฐกิจของประเทศยุโรปตะวันตกอื่น ๆ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 จนถึงต้นทศวรรษ 1970 ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ แม้ว่าจะไม่เท่าเทียมกันก็ตาม มาตรฐานการครองชีพของประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นชนชั้นกลางแทบจะไม่มีอยู่จริง ระดับเสรีภาพส่วนบุคคลและการเมืองไม่ได้เพิ่มขึ้นไปในทางเดียวกัน เริ่มเกิดการระดมกำลังต่อต้านระบอบเผด็จการของคนงานและนักศึกษา
เจ้าชายฆวน การ์โลส แห่งบูร์บง ได้รับการแต่งตั้งจากฟรังโกให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ในฐานะเจ้าชายแห่งสเปน และเมื่อฟรังโกถึงแก่อสัญกรรม เจ้าชายฆวน การ์โลส ทรงให้คำสัตย์ว่าจะปฏิบัติตามหลักการของขบวนการแห่งชาติที่มุ่งทําให้ระบอบฟรังโกคงอยู่ตลอดไป ทว่าในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงอาศัยกรอบสถาบันของฟรังโกเพื่อส่งเสริมกฎหมายเพื่อการปฏิรูปการเมือง ซึ่งให้สัตยาบันในการลงประชามติ โดยผลลัพธ์ที่ได้คือ ร้อยละ 94 เห็นด้วยกับการปฏิรูป จึงมีการเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1976
เชิงอรรถ
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ (ในภาษาสเปน) "Resumen general de la población de España en 31 de Diciembre de 1940". INE. Retrieved 11 October 2014.
- ↑ Instrumento de ratificación de España del acuerdo entre el gobierno del Estado Español y el gobierno de la República Popular de Polonia sobre el desarrollo de los intercambios comerciales, la navegación y la cooperación económica, industrial y tecnológica (1974).
- ↑ Acuerdo entre el gobierno del Estado Español y el gobierno del Reino de Suecia sobre transportes internacionales por carretera (1974).
- ↑ Instrumentos de Ratificación del Convenio sobre intercambio comercial entre el Estado Español y la República Oriental del Uruguay (1957).
- ↑ Convenio entre España y el Reino de Marruecos sobre Transporte Aéreo, hecho en Madrid el 7 de julio de 1970
- ↑ Instrumento de Ratificación del Convenio relativo a Servicios Aéreos entre España y el Reino Unido de la Gran Bretaña e Irlanda del Norte
- ↑ Saz Campos 2004, p. 90.
- ↑ 8.0 8.1 จากวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการปกป้องของ Payne ในเอกสารดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้:
» Glicerio Sanchez Recio. En torno a la Dictadura franquista Hispania Novaในระหว่าง ค.ศ. 1937 ถึง ค.ศ. 1943 ระบอบฟรังโกประกอบขึ่นเป็นระบอบ "กึ่งฟาสซิสต์" แต่ไม่เคยเป็นระบอบฟาสซิสต์ร้อยเปอร์เซ็นต์ จากนั้นก็ใช้เวลา 32 ปีในการพัฒนาเป็นระบบเผด็จการ "หลังฟาสซิสต์" แม้ว่าจะไม่สามารถกําจัดร่องรอยที่เหลือทั้งหมดของลัทธิฟาสซิสต์ได้อย่างสมบูรณ์ก็ตาม
- ↑ Cabrera & Rey 2017.
- ↑ Moradiellos 2000, p. 20.
- ↑ Tusell 1999.
- ↑ González Madrid 2012, p. 11.
- ↑ 13.0 13.1 González Madrid 2012, p. 12.
- ↑ Domínguez, Hugo (20 มกราคม 2015). "Un libro revela que Franco colaboró con Hitler en las deportaciones de españoles y judíos a campos de concentración". El Diario. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2016.
- ↑ Ruiz 2005, p. 7.
- ↑ González Madrid 2012, p. 14.
- ↑ Carrascal 2015, p. 293.
- ↑ Russell, Roberto; Tokatlian, Juan Gabriel (2001). "Relaciones internacionales y política interna: los neutrales en la Segunda Guerra Mundial, un estudio de caso". Foro Internacional. 41 (1): 63.
Por último, la tercera parte estudia comparativamente los factores de orden internacional e interno que llevaron a los gobiernos de Argentina, Chile, España, Irlanda, Portugal, Suecia, Suiza y Turquía a asumir una posición de neutralidad durante la Segunda Guerra Mundial
บรรณานุกรม
[แก้]- Barciela, Carlos (2002). "Guerra civil y primer franquismo (1936-1959)". ใน Francisco Comín; Mauro Hernández; Llopis, Enrique (บ.ก.). Historia económica de España. Siglos X-XX. Barcelona: Crítica. ISBN 84-8432-366-8.
- Cabrera, Mercedes; Rey, Fernando del (2017). Harold James; Jakob Tanner (บ.ก.). "Spanish Entepreneurs in the Era of Fascism: From the Primo de Rivera Dictatorship to the Franco Dictatorship, 1923-1945". Enterprise in the Period of Fascism in Europe. Routledge. ISBN 978-0-7546-0077-0.
- Carrascal, José María (2015). "El franquismo, la revolución pendiente". La historia de España que no nos contaron. Mitos y realidades (3.ª ed.). Barcelona: Espasa. ISBN 978-84-670-4482-9.
- De Riquer, Borja (2010). La dictadura de Franco. Vol. 9 de la Historia de España, dirigida por Josep Fontana y Ramón Villares. Barcelona-Madrid: Crítica/Marcial Pons. ISBN 978-84-9892-063-5.
- Equipo de Estudios (1975). "Panorámica de la educación desde la Guerra Civil". Cuadernos de Pedagogía (9): 24-40.
- Fusi, Juan Pablo (2000). "La cultura". ใน José Luis García Delgado (บ.ก.). Franquismo. El juicio de la historia. Madrid: Temas de Hoy. ISBN 84-8460-070-X.
- Gallardo Romero, Juan José (2006). Contra Franco: testimonios y reflexiones. Editorial Vosa, S.L. p. 380. ISBN 84-8218-055-X.
- Gallo, Max (1971). Historia de la España franquista [Histoire de l'Espagne franquiste]. Dépôt légal: 52.657 (Premier trimestre 1972). Paris: Ruedo ibérico.
- García Delgado, José Luis (2000). "La economía". ใน José Luis García Delgado (บ.ก.). Franquismo. El juicio de la historia. Madrid: Temas de Hoy. ISBN 84-8460-070-X.
- Gil Pecharromán, Julio (2008). Con permiso de la autoridad. La España de Franco (1939-1975). Madrid: Temas de Hoy. ISBN 978-84-8460-693-2.
- González Madrid, Damián (2012). Violencia política y dictadura franquista. Dissidences. Hispanic Journal of Theory and Criticism. Vol. 2. Iss. 3, artículo 3.
- Heine, Hartmut (1983). La oposición política al franquismo. De 1939 a 1952. Barcelona: Crítica. ISBN 84-7423-198-1.
- Juliá, Santos (1999). Un siglo de España. Política y sociedad. Madrid: Marcial Pons. ISBN 84-9537903-1.
- Juliá, Santos (2000). "La sociedad". ใน José Luis García Delgado (บ.ก.). Franquismo. El juicio de la historia. Madrid: Temas de Hoy. ISBN 84-8460-070-X.
- Mateos, Abdón; Soto, Álvaro (1997). El final del franquismo, 1959-1975. La transformación de la sociedad española. Madrid: Historia 16-Temas de Hoy. ISBN 84-7679-326-X.
- Molinero i Ruiz, Carme; Ysàs i Solanes, Pere (1998). Productores disciplinados y minorías subversivas: clase obrera y conflictividad laboral en la España franquista. Siglo XXI de España Editores, S.A. p. 296. ISBN 84-323-0970-2.
- Monés, Jordi (1976). "Cuatro décadas de educación franquista. Aspectos ideológicos". Cuadernos de Pedagogía (Suplemento nº 3): 11-16.
- Moradiellos, Enrique (2000). La España de Franco (1939-1975). Política y sociedad. Madrid: Síntesis. ISBN 84-7738-740-0.
- Payne, Stanley G. (1997). El primer franquismo. Los años de la autarquía. Madrid: Historia 16-Temas de Hoy. ISBN 84-7679-325-1.
- Payne, Stanley G. (2007). "Gobierno y oposición (1939-1969)". ใน Raymond Carr และคณะ (บ.ก.). 1939/1975 La época de Franco. Madrid: Espasa Calpe. ISBN 978-84-670-2627-6.
- Preston, Paul (1998). Franco «Caudillo de España» [Franco. A Biography]. Primera edición en Mitos Bolsillo. Barcelona: Grijalbo Mondadori. ISBN 84-397-0241-8.
- Rodríguez Jiménez, José Luis (1997). La extrema derecha española en el siglo XX. Madrid: Alianza Editorial. ISBN 84-206-2887-5.
- Ruiz, Julius (2005). Franco's Justice: Repression in Madrid After the Spanish Civil War. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-928183-1.
- Sánchez Soler, Mariano (2003). Los Franco, S. A. Oberon. p. 294. ISBN 84-96052-24-9.
- Sartorius Álvarez de las Asturias Bohorques, Nicolás; แม่แบบ:Versalita, Javier (2002). La memoria insumisa: sobre la dictadura de Franco. Editorial Crítica. p. 504. ISBN 84-8432-318-8.
- Saz Campos, Ismael (2004). Fascismo y franquismo. Valencia: Publicacions de la Universitat de València. ISBN 84-370-5910-0.
- Suárez Fernández, Luis (2007). Franco. Crónica de un tiempo. VI. Los caminos de la instauración. Desde 1967 a 1975. Madrid: Actas. ISBN 978-84-9739-063-7.
- Subirats, Marina (1976). "La mujer domada". Cuadernos de Pedagogía (Suplemento nº 3): 43-44.
- Thomàs i Andreu, Joan María (2001). La Falange de Franco: fascismo y fascistización en el régimen franquista (1937-1945). Plaza & Janés Editores, S.A. p. 400. ISBN 84-01-53052-0.
- Tuñón de Lara, Manuel (1976). "La interpretación 'policial' de la historia". Cuadernos de Pedagogía (Suplemento nº 3): 35-37.
- Tusell, Javier (1997). Historia de España. Vol. XIII. La época de Franco. Desde el fin de la Guerra Civil a la muerte de Franco (1939-1975). Madrid: Espasa Calpe. ISBN 84-239-8946-1.
- Tusell, Javier (1999). (III) La Dictadura de Franco. Historia de España del siglo XX. Madrid: Editorial Taurus.