ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Office of National Digital Economy and Society Commission
ตราสัญลักษณ์ชองสำนักงาน
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง16 กันยายน พ.ศ. 2559; 8 ปีก่อน (2559-09-16)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 7 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณต่อปี2,416,301,300 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • เวทางค์ พ่วงทรัพย์, รักษาการเลขาธิการ
  • ธีรวุฒิ ธงภักดิ์, รองเลขาธิการ
  • อำไพ จิตรแจ่มใส, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักงานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักงาน

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[2] (อังกฤษ: Office of National Digital Economy and Society Commission) หรือสดช (อังกฤษ: ONDE) หน่วยงานระดับกรมในสังกัด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่จัดทำร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ประวัติ

[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559 ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 พร้อมการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและต่อมาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 ที่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานในฐานะที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

อำนาจหน้าที่

[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 มาตรา 17 ให้สำนักงานรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการเฉพาะด้าน และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามเป้าหมายที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
  2. จัดทำร่างนโยบายและแผนเฉพาะด้านตามแนวทางที่คณะกรรมการเฉพาะด้านกำหนดและสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเฉพาะด้าน
  3. ประสานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
  4. เป็นศูนย์กลางประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งนโยบายและแผนเฉพาะด้าน
  5. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามสถานการณ์ด้านการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และแนวโน้มการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งวิเคราะห์และวิจัยประเด็นทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะด้าน
  6. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แผนปฏิบัติการ แผนงาน รวมทั้งมาตรการที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลต่อคณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะด้าน
  7. ร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  8. ศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณา หรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ หรือคณะกรรมการเฉพาะด้านมอบหมาย
  9. อำนาจหน้าที่อื่นที่คณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมาย หรือตามที่มีกฎหมายกำหนด

ทำเนียบผู้บริหาร

[แก้]
รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1. วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา[3] 28 เมษายน พ.ศ. 2560 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ.​ 2561
2. ปิยนุช วุฒิสอน[4] 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ.​ 2562
1. วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา[5] 9 พฤศจิกายน พ.ศ.​ 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564
3. ภุชพงค์ โนดไธสง[6] 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

คณะกรรมการ

[แก้]

คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

[แก้]

ตามมาตรา 7 ได้กำหนดให้มี คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบไปด้วย

  1. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
  2. รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ (ปัจจุบันมอบหมายให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองประธานกรรมการ)
  3. กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย
  1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินแปดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
  2. ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการและเลขานุการ
  3. เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

และตามมาตรา 11 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการให้จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

[แก้]

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565[7] อนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 6 คน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้

  1. ชัยชนะ มิตรพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  2. อุดมเกียรติ บุญวรเศรษฐ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  3. พีรเดช ณ น่าน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  4. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเศรษฐศาสตร์)
  5. ภัทรา โชติวิทยะกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านบริหารธุรกิจ)
  6. ปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมาย)

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๘๐ ก หน้า ๑ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙
  3. ราชกิจจานุเบกษา https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2105666.pdf
  4. ราชกิจจานุเบกษา https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17064404.pdf
  5. ราชกิจจานุเบกษา https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17111630.pdf
  6. ราชกิจจานุเบกษา https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17185275.pdf
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/035/T_0006.PDF