สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (87 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 3 ประโยค นักธรรมชั้นเอก พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ด) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | 3 เมษายน พ.ศ. 2491 |
อุปสมบท | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 |
พรรษา | 66 |
ตำแหน่ง | กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี |
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ นามเดิมชื่อ ประสิทธิ์ (ภายหลังเปลี่ยนเป็น ปสฤทธ์) สุทธิพันธุ์ ฉายา เขมงฺกโร (เกิด 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ[1] ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
ชาติภูมิ
[แก้]สมเด็จพระมหาธีราจารย์ มีนามเดิมว่า ประสิทธิ์ สุทธิพันธุ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นปสฤทธ์)[2]เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปีฉลู ที่บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ ขุนก่อเอ้อุกฤษ (ผา สุทธิพันธุ์) มารดาชื่อ นางก่อเอ้อุกฤษ (ตา สุทธิพันธุ์)
บรรพชา อุปสมบท
[แก้]วันที่ 3 เมษายน 2491 บรรพชา ที่ วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พระครูพินิฐศีลคุณ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน วัดทุ่งสว่าง บ้านโนนใหญ่ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์
วันที่ 20 กรกฎาคม 2501 อุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พระธรรมธีรราชมหามุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส (ภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยกิจโกศล (อิน ติสฺสสโร ป.ธ.๖) (ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชปัญญามุนี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระมหาบุญมา ทีปธมฺโม ป.ธ.6 (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระพุทธิวงศมุนี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมงฺกโร โดยมีคุณหญิงบุรีนวราษฐ์ (เนื่อง สิงหเสนี) ภริยาจางวางโท พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) องคมนตรี ราชเลขานุการในพระองค์ และเลขานุการกองเสือป่า ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 [3]และหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ หม่อมเสมอ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สิงหเสนี) เป็นเจ้าภาพ[4]
การศึกษา/วิทยาฐานะ
[แก้]- แผนกธรรม-บาลี
- พ.ศ. 2491 สอบนักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2492 สอบนักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2497 สอบนักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2501 สอบประโยค ป.ธ.3 สำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2503 จบชั้นบาลีอบรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร วิทยฐานะพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนา
- แผนกสามัญศึกษา
- พ.ศ. 2491 จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนประชาบาล (พรหมพิทยา) บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
การปกครองคณะสงฆ์
[แก้]- พระอุปัชฌาย์ประเภทวิสามัญ (สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. 2527
- กรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์การบริหารสูงสุดของคณะสงฆ์แห่งประเทศไทย (สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. 2544
- เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ พ.ศ. 2567
- เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร (สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง) พ.ศ. 2564
- ผู้รักษาการแทนเจ้าวัดยานนาวา (พระอารามหลวง) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564
- ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2557
- ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ พ.ศ. 2562 - 2567
- ประธานคณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) พ.ศ. 2562
- ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ฝ่ายศาสนศึกษา)
- เป็นประจำกองงานเจ้าคณะตรวจการภาค 3 (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย) พ.ศ. 2521 – 2510
- เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในหนเหนือของประเทศไทย พ.ศ. 2508 – 2510
- เป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก (สนองงานบริหารคณะสงฆ์ในหนตะวันออกของประเทศไทย พ.ศ. 2510 – 2530
- เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร พ.ศ. 2516 – 2544
งานการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2516 เป็นผู้ช่วยเจ้าสำนักเรียนวัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2544 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
- องค์อุปถัมภ์โรงเรียนพระปริยัติธรรมพรหมวชิรญาณ
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
- ประธานกรรมการอุปถัมภ์ “สำนักเรียนและสำนักปฏิบัติธรรม” วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
การเผยแผ่
[แก้]- เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๑ วัดยานนาวา
- ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
- ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดธัมมาราม นครชิคาโก และเป็นเจ้าอาวาสวัดธัมมาราม รูปแรก
- เป็นคณะผู้ก่อตั้งสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาฯ และได้รับเลือกให้เป็นประธานสมัชชาฯ รูปแรก (ติดต่อกัน ๖ สมัย)
- ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดพุทธาวาส นครฮิวสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และเป็น เจ้าอาวาสรูปแรก
- ประธานกรรมการโครงการสร้างวัดพุทธรังษี นครไมอามี่ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
- เป็นประธานโครงการสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน และศูนย์วัฒนธรรมอเมริกัน-ไทย ณ นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60ปี พ.ศ. 2549 และเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม
ตำแหน่งหน้าที่พิเศษ
[แก้]- ประธานกรรมการอุปถัมภ์ “สำนักเรียนและสำนักปฏิบัติธรรม” วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ประธานกรรมการ “มูลนิธิพระพุทธโลกนาถสุโขทัย” วัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- กรรมการร่างหลักสูตรอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย (โดยสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการ่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดำเนินการในนามของคณะสงฆ์ไทย)
- ประธานที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ประธานที่ปรึกษากองทุน “เทพประสิทธิ์” เพื่อโครงการส่งเสริมศิลปาชีพใน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดการศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับ
- เยาวชนไทยในต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ
- กรรมการอุปถัมภ์โครงการอบรมพระธรรมทูต สายต่างประเทศ
- ที่ปรึกษามูลนิธิกาญจนบารมี ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- ประธานที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิตมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช
- ประธานโครงการโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ
- ประธานกรรมการโครงการพัฒนาการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ และการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม วัดยานนาวา เฉลิมพระเกียรติฯ
- ประธานมูลนิธิโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ
- ประธานมูลนิธิพระรัตนตรัย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- รองประธานสภาธรรมกถึกแห่งคณะสงฆ์ไทย เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- ที่ปรึกษาสมาคมความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
- กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัดอุบลราชธานี
- ที่ปรึกษาสมาคมพัฒนาแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย
- ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2548
- ประธานกรรมการอำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติฯ (WBTV)
เกียรติคุณที่ได้รับ
[แก้]เกียรติคุณที่ได้รับในประเทศ
[แก้]- พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรและเกียรติบัตร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่าง ประเทศ ในวันวิสาขบูชา 2535
- พ.ศ. 2538 ได้รับ ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ (พธ.ด.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ 7 พฤษภาคม
- พ.ศ. 2543 ได้รับ ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัญฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษาศาสตร์ (ค.ด.) โดยสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี(อนุมัติปริญญาประจำปีการศึกษา 2542) (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระราชานุเคราะห์ การจัดพิธีถวายปริญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อ 19 มิถุนายน 2543)
- พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษาศาสตร์ (ปร.ด.) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 22ธันวาคม 2543
- พ.ศ. 2550 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา (ศศ.ด.) จากมหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร
เกียรติคุณที่ได้รับในต่างประเทศ
[แก้]- พ.ศ. 2529 ได้รับโล่ห์เกียรติคุณDistinguished Award สังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย จาก The Board Of Directors Of Asian Human Service Of Chicago
- พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติบัตรยกย่องให้ เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์แห่งมหานครชิคาโก มีศักดิ์และสิทธิในด้านการเผยแผ่ศาสนาประเพณี และวัฒนธรรมไทยอันดีงาม ในมหานครชิคาโกและมลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา จากมหานครชิคาโก (City Of Chicago) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม
- พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความขอบคุณจาก Richard M. Daleyนายก เทศมนตรีมหานครชิคาโก ที่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ ต่อชุมชนชาวเอเชีย และชาวอเมริกันในมหานครชิคาโก พร้อมกับได้ให้เกียรตินำเกียรติบัตรดังกล่าวมามอบ ที่วัดธัมมาราม อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม
- พ.ศ. 2534 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความยกย่องเชิดชูจาก Mr.Paul Simon วุฒิสมาชิกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ผู้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ในสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอย่างยิ่ง” เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2540 ได้รับเกียรติบัตรจาก Richard M. Daley นายกเทศมนตรีมหานครชิคาโก ลงวันที่ 24 พฤษภาคม * 2540 ประกาศยกย่องให้ วันที่ 24พฤษภาคมทุกปี (ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระพรหมวชิรญาณ) เป็น “วันเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีไทย ในมหานครชิคาโก สหรัฐอเมริกา”
- พ.ศ. 2542 ได้รับเกียรติบัตรแสดงความยกย่องชมเชยจาก George H.Ryan ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ผู้ทำการ
เผยแผ่ศาสนาและสงเคราะห์ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกา ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง” เมื่อวันที่ 13 กันยายนซึ่งเกียรติคุณตามความในข้อ 10.2 ที่ พระพรหมวชิรญาณ ได้รับ ตั้งแต่ปี 2529เป็นต้นมานั้นเป็นเกียรติคุณที่พระสงฆ์ไทยและคนไทยคนแรกได้รับจากสถาบันและบุคคลสำคัญดังกล่าว
- พ.ศ. 2549 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Doctor of Philosophy in Social Science, New Port University U.S.A.,
เกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมยศของ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ | |
---|---|
ตราประจำตัว | |
การเรียน | ขอกราบเรียน,ขอกราบนมัสการ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระราชาคณะ |
การแทนตน | กระผม/ดิฉัน |
การขานรับ | ครับ/ค่ะ |
สมณศักดิ์
[แก้]- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ธีร์ ปุณณโก) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระสุธีรัตนาภรณ์,(สป.)[5]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชรัตนาภรณ์ บวรธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพประสิทธิมนต์ วิเทศธรรมโกศล ญาณโสภณวิจิตร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวชิรญาณ ปฏิภาณธรรมวาที ศรีวิเทศธรรมโกศล วิมลสาธุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมวชิรญาณ ไพศาลศาสนกิจสิทธิปริณายก ธรรมวิเทศดิลกสุทธิกวีปาพจนโสภณ วิมลสีลาจารวินิฐ ราชวิสิฐวชิราลงกรณ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ดิลกธรรมวิเทศโกศล วิมลปาพจนกวีวราลังการ ไพศาลอรรถธรรมานุสิฐ พิพิธกิจจานุกิจสาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[10]
อ้างอิง
[แก้]- พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร). ทำเนียบพระราชาคณะ ฉบับสมบูรณ์ พุทธศักราช 2557. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด, 2557. 344 หน้า. หน้า 75. ISBN 978-616-11-2142-6
- ↑ chanhena, Bandit. "'สมเด็จพระสังฆราช' มอบพระบัญชาแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ". เดลินิวส์.
{{cite web}}
: zero width space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 19 (help) - ↑ มงคลข่าวสด (20 พฤษภาคม 2561). "อายุวัฒนมงคล 81 ปี พระพรหมวชิรญาณ". สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี)", วิกิพีเดีย, 2024-09-28, สืบค้นเมื่อ 2024-10-27
- ↑ chanhena, Bandit. "เปิดประวัติ 'สมเด็จพระมหาธีราจารย์' เจ้าคณะใหญ่หนเหนือรูปใหม่". เดลินิวส์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์ เป็น พระสุธีรัตนาภรณ์) เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 90, ตอนที่ 177, 28 ธันวาคม 2516, ฉบับพิเศษ หน้า 8.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระสุธีรัตนาภรณ์ เป็น พระราชรัตนาภรณ์) เล่ม 102, ตอนที่ 17, 8 กุมภาพันธ์ 2528, ฉบับพิเศษ หน้า 2.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระราชรัตนาภรณ์ เป็น พระเทพประสิทธิมนต์) เล่ม 109, ตอนที่ 101, 12 สิงหาคม 2535, ฉบับพิเศษ หน้า 3.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระเทพประสิทธิมนต์ เป็น พระธรรมวชิรญาณ) เล่ม 117, ตอนที่ 28 ข, 28 ธันวาคม 2543, หน้า 22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ (พระธรรมวชิรญาณ เป็น พระพรหมวชิรญาณ) เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 118, ตอนที่ 24 ข, 7 ธันวาคม 2544, หน้า 19-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมศักดิ์ (พระพรหมวิชรญาณ เป็น สมเด็จพระมหาธีราจารย์)เล่ม 136, ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 4.
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (28 กรกฎาคม 2562- ปัจจุบัน) |
ยังดำรงอยู่ในสมณศักดิ์ |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระธรรมรัตนากร (สีนวล ปญฺญาวชิโร) |
เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน) |
ยังดำรงตำแหน่ง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมเด็จพระมหาธีราจารย์
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- เปรียญธรรม 3 ประโยค
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- ผู้ได้รับประทานโล่รางวัลเสาอโศก
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสยาม
- บุคคลจากอำเภอเขื่องใน
- ภิกษุจากจังหวัดอุบลราชธานี
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี