สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์
สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ | |
---|---|
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 70 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | สามัคคีธรรม (2535) ชาติพัฒนา (2535—2547) ไทยรักไทย (2547—2550) พลังประชาชน (2550) ชาติไทย (2550—2551) กิจสังคม (2551—2554) ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (2554—2555) ภูมิใจไทย (2555—2557, 2562—ปัจจุบัน) |
สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ เเป็นนักการเมืองชาวไทย ตําเเหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (อนุทิน ชาญวีรกูล) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคภูมิใจไทย [1]
ประวัติ
[แก้]สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 จบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนเซนต์จอห์น ระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด) จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ เป็นบุตรชายของ นายสมชาติ ลิมปะพันธุ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสวรรคโลก และเป็นหลานชายของร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยหลายสมัย
การทำงาน
[แก้]สมเจตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในนามพรรคไทยรักไทย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในนามพรรคชาติไทย หลังจากนั้นได้ย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค โดยมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตหัวหน้าพรรคได้นำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลับมาฟื้นฟูพรรคกิจสังคมอีกครั้ง โดยนายสุวิทย์ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค[3] และเข้าร่วมฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมา สมเจตน์ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จึงย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย[5] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย[6] แต่ในปี 2566 เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับประภาพร ทองปากน้ำ จากพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ผลเลือกตั้งซ่อมพท.-ภท.เข้าวิน
- ↑ "สุวิทย์ โผล่นั่งประธานที่ปรึกษาพรรคกิจสังคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
- ↑ การเมืองสุโขทัยเดือด!อารยะโต้ภท.ลวงโลก
- ↑ ""ลิมปะพันธุ์" ตระกูลเก่าสุโขทัย ร่วม ภูมิใจไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-05. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
- ↑ เอ็กซเรย์ "สมศักดิ์" ยึดสุโขทัยไม่สำเร็จ
- ↑ ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2511
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองจากจังหวัดสุโขทัย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.