สมุลแว้ง
หน้าตา
สมุลแว้ง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Magnoliids |
อันดับ: | Laurales |
วงศ์: | Lauraceae |
สกุล: | Cinnamomum |
สปีชีส์: | C. bejolghotha |
ชื่อทวินาม | |
Cinnamomum bejolghota Wight |
สมุลแว้ง [สะ-หฺมุน-ละ-แว้ง], ขนุนมะแวง, อบเชยญวน หรือ ฝนแสนห่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum bejolghota) เป็นพืชในวงศ์ Lauraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกหอม หนา ลอกได้เป็นแผ่น ไม่ค่อยแตกกิ่ง เปลือกสีอมเทา ใบเดี่ยว เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ใบรูปรี ด้านบนของใบมีเส้นแขนงใบออกจากจุดโคนใบเป็นร่องลึกเด่นชัด 3 เส้น ก้านใบค่อนข้างใหญ่ ช่อดอกออกที่ปลายยอด ดอกออกเป็นช่อใหญ่ แตกแขนงใกล้ยอด ผลมีเนื้อ อวบน้ำ รูปรีหรือค่อนข้างกลม
สมุลแว้งใช้เป็นพืชสมุนไพร พบครั้งแรกในไทยที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 โดยหมอคาร์ ชาวไอริช พืชชนิดนี้เดิมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Temmodaphne thailandica ซึ่งชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย ส่วนชื่อสกุลตั้งเป็นเกียรติให้กับ ศ.ดร. เต็ม สมิตินันท์
อ้างอิง
[แก้]- ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 2 เครื่องยาพฤกษวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.หน้า 46
- ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 83