ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาพุทธแบบกรีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซ้าย: ปัญจิกะและหารีตีถือกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ตามคติกรีก
ขวา: พระวัชรปาณีในรูปลักษณ์เฮราคลีส เทพเจ้ากรีก คอยคุ้มกันพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าบนเสาแบบคอรินเทียนลายใบอะแคนทัส

ศาสนาพุทธแบบกรีก (อังกฤษ: Greco-Buddhism) เป็นการผสานวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมเฮเลนิสต์กับศาสนาพุทธ ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงคริสต์ศักราชที่ 5 ในแคว้นคันธาระ[1][2][3][4] ปัจจุบันคือบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศปากีสถาน และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน[5][6][7] พระพุทธศาสนาเเบบกรีกนับถือนิกายมหายานเเละนิกายสรวาสติวาทเป็นหลัก อันสืบเนื่องมาจากรุกรานอินเดียโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นต้นมา[8] หลังการสวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ก็มีการตั้งนิคมชาวกรีกในแบกเตรียและคันธาระ โดยมีแม่ทัพกรีกหรือมาซีโดเนียปกครองสืบต่อมา[9] ครั้นพระเจ้าจันทรคุปตะแห่งจักรวรรดิเมารยะมีอำนาจในบริเวณนี้ และทรงปราบปรามเจ้าผู้ครองชาวมาซีโดเนียได้สำเร็จ ในเวลาต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิของเมารยะทรงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ[10] พร้อมกับเผยแผ่ปรัชญาศาสนาพุทธไปอย่างแพร่หลายแถบซีเรีย อียิปต์ และกรีซ[11] เช่นเมืองไซรีนี (Κυρήνη, ปัจจุบันอยู่ในประเทศลิเบีย) ในขณะนั้นเป็นเมืองของกรีก ก็ได้รับอิทธิพลพุทธปรัชญาจากคณะพระสงฆ์ของพระเจ้าอโศกที่เข้าไปเผยแผ่[12] หลังการล่มสลายของจักรวรรดิเมารยะ ศาสนาพุทธแบบกรีกยังรุ่งเรืองในแถบแบกเตรียและกุษาณะ แพร่หลายไปถึงเอเชียกลาง ประเทศจีน ไซบีเรีย เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม

เอกสารของทอเลมีระบุว่าเมืองสาคละ (Σάγγαλα, ปัจจุบันคือเมืองซิอัลโกต ประเทศปากีสถาน) ก่อตั้งโดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 กษัตริย์ชาวกรีก กลายเป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธในบริเวณนั้น[13][14] ปรากฏเอกสารทางศาสนาคือ มิลินทปัญหา อ้างถึงบทบันทึกการสนทนาระหว่างพระนาคเสนกับพระเจ้าเมนันเดอร์[15][16] ในคัมภีร์ มหาวงศ์ ระบุว่าในรัชกาลพระเจ้าเมนันเดอร์มีพระสงฆ์ชาวกรีกนามพระมหาธรรมรักษิตะ นำพระสงฆ์ 30,000 รูป จากเมืองอลสันทะหรืออะเล็กซานเดรียแห่งคอเคซัส (Αλεξάνδρεια στον Καύκασο, 150 กิโลเมตรทางเหนือของกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน) ไปสร้างสถูปที่ศรีลังกา แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธแบบกรีกในช่วงเวลานั้น[17] มีผู้ว่าราชการจังหวัดชาวกรีกคนหนึ่งนามเทออดอรุส (Θεόδωρος) สร้างสถูปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ[18]

ตามคติศาสนาพุทธแบบกรีก จะมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามอย่างการสร้างเทวรูปกรีก คือเป็นรูปธรรมอย่างมนุษย์ เน้นกล้ามเนื้อ สัดส่วนเหมาะสมตามหลักกายวิภาค มีริ้วจีวรปลิวไสวสวยงาม[19] และนำเทพเจ้ากรีกเข้ามาในพุทธศิลป์ ยกตัวอย่างเช่นเฮราคลีสทรงอาภรณ์หนังราชสีห์ เทพประจำพระองค์ของพระเจ้าเดเมทริอุสที่ 1 แห่งแบกเตรีย "ทำหน้าที่เป็นวัชรปาณีผู้พิทักษ์พุทธองค์"[20][21] ศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่นซึ่งได้รับอิทธิพลไปอีกทอดหนึ่งก็รับเอาเทพเจ้ากรีกไปด้วย เช่น ฟูจิง รับจากเทพบอเรียส (Βορέας) และหารีตี รับจากเทพีไทคี (Τύχη)[22]

แม้ศาสนาพุทธและคริสต์จะมีปรัชญาที่ต่างกัน แต่ระบบศีลธรรมนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันบางประการ เช่น ให้ความเคารพต่อชีวิต อาทรผู้อ่อนแอ ปฏิเสธความรุนแรง ให้อภัยแก่คนบาป และความอดทน[23] นักวิชาการบางส่วนระบุว่าชาวกรีกเป็นตัวกลางในการนำคำสอนของศาสนาพุทธเข้าสู่โลกตะวันตก[24] การประสูติของพระพุทธเจ้าเป็นที่รู้จักดีในโลกตะวันตกและส่งอิทธิพลต่อเรื่องราวเบื้องประสูติของพระเยซู นักบุญเจอโรมระบุถึงการประสูติของพระพุทธเจ้าว่า "ประสูติด้วยความบริสุทธิ์" ส่วนนักบุญคลีเมนต์แห่งอะเล็กซานเดรียบันทึกเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในหนังสือ สโตรมาตา ไว้ว่า "บรรดานักปราชญ์ชาวอินเดียมีผู้ที่ปฏิบัติตนตามคำสอนของพุทธะ ผู้ทรงคุณเหนือมนุษย์ ซึ่งได้รับการเคารพนับถือดุจพระเป็นเจ้า" (εἰσὶ δὲ τῶν Ἰνδῶν οἱ τοῖς Βούττα πειθόμενοι παραγγέλμασιν. ὃν δι’ ὑπερβολὴν σεμνότητος ὡς θεὸν)[25][26] และเรื่องราวของนักบุญบาร์ลามและโยซาฟัต นักบุญในตำนานของศาสนาคริสต์ ก็เป็นเรื่องราวมาจากพุทธประวัติ[27]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Yasuda, Shin; Raj, Razaq; Griffin, Kevin (2018-11-05). Religious Tourism in Asia: Tradition and Change Through Case Studies and Narratives (ภาษาอังกฤษ). CABI. p. 129. ISBN 978-1-78639-234-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-15. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18. During the Kushan period, Gandhara became one of the two major strongholds of Mahayana Buddhism (another was India's Mathura). It was also where Greco-Buddhist art prospered, which integrated the Greco-Roman art and the local art into a new artistic genre known as Greco-Buddhist syncretism. The first Buddha effigy was believed to have been created in Gandhara. During the Kushan period, Buddhism started to spread to central Asia from where it further expanded to China and other east Asian countries.
  2. Mahajan, V. D. (2019). Ancient India (ภาษาอังกฤษ). S. Chand Publishing. p. 302. ISBN 978-93-5283-724-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-15. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
  3. Higham, Charles (2014-05-14). Encyclopedia of Ancient Asian Civilizations (ภาษาอังกฤษ). Infobase Publishing. p. 116. ISBN 978-1-4381-0996-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-15. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
  4. Bhaskar, V. S. (2009). Faith & Philosophy of Buddhism (ภาษาอังกฤษ). Gyan Publishing House. ISBN 978-81-7835-722-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-15. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
  5. Ray, Himanshu Prabha (2017-12-01). Buddhism and Gandhara: An Archaeology of Museum Collections (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. ISBN 978-1-351-25274-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-17. Gandhara is a name central to Buddhist heritage and iconography. It is the ancient name of a region in present-day Pakistan, bounded on the west by the Hindu Kush mountain range and to the north by the foothills of the Himalayas.
  6. Richard, Salomon (2018-04-17). Buddhist Literature of Ancient Gandhara: An Introduction with Selected Translations (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 978-1-61429-185-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-17. In what is now northern Pakistan, the civilizations in the region called Gandhara became increasingly important centers for the development of Buddhism
  7. Behrendt, Kurt (2007). The Art of Gandhara in the Metropolitan Museum of Art. Metropolitan Museum of Art. p. 83. ISBN 9781588392244. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-17.
  8. ดาวสยาม วชิรปัญโญ, พระมหา. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง, พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 88
  9. ผาสุข อินทราวุธ, ศ.ดร. (9 กันยายน 2562). "อัฟกานิสถานแหล่งผลิต "พระพุทธรูป" องค์แรกในโลก". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. Draper, Gerald (1995). "The Contribution of the Emperor Asoka Maurya to the Development of the Humanitarian Ideal in Warfare". International Review of the Red Cross. 35 (305): 192–206. doi:10.1017/S0020860400090604.
  11. Will Durant (7 June 2011). Our Oriental Heritage: The Story of Civilization. Simon and Schuster. pp. 711–. ISBN 978-1-4516-4668-9. สืบค้นเมื่อ 27 August 2012.
  12. "The philosopher Hegesias of Cyrene (nicknamed Peisithanatos, "The advocate of death") was a contemporary of Magas and was probably influenced by the teachings of the Buddhist missionaries to Cyrene and Alexandria. His influence was such that he was ultimately prohibited from teaching." Lafont, Jean-Marie (2000). "La découverte du bouddhisme par le monde européen". Les Dossiers d'Archéologie (ภาษาฝรั่งเศส). No. 254: 78–85 [p. 78]. ISSN 1141-7137.
  13. Srivastava, Balram (1968). Trade and commerce in ancient India, from the earliest times to c. A.D. 300 (ภาษาอังกฤษ). Chowkhamba Sanskrit Series Office. p. 67.
  14. Khan, Ahmad Nabi (1977). Iqbal Manzil, Sialkot: An Introduction. Department of Archaeology & Museums, Government of Pakistan. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
  15. ส. สีมา (9 ธันวาคม 2559). "เมแนนเดอร์-พระยามิลินท์". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "มิลินทปัญหา ตอนที่ ๑". ธรรมะไทย. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. Thomas McEvilley (7 February 2012). The Shape of Ancient Thought: Comparative Studies in Greek and Indian Philosophies. Constable & Robinson. pp. 558–. ISBN 978-1-58115-933-2.
  18. Tarn, William Woodthorpe (24 June 2010). The Greeks in Bactria and India. Cambridge University Press. p. 391. ISBN 978-1-108-00941-6.
  19. พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (26 มกราคม 2560). "ทำไม 'เทพ' ประดับพระเมรุมาศถึงหุ่น 'ล่ำ'". The Momentum. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. Foltz (2010). Religions of the Silk Road. p. 44.
  21. See Images of the Herakles-influenced Vajrapani: "Image 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2013, "Image 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2004.
  22. Tanabe, Katsumi (2003). Alexander the Great: East-West Cultural Contact from Greece to Japan. Tokyo: NHK Puromōshon and Tokyo National Museum. OCLC 937316326.
  23. Bentley, Jerry H. (1993). Old World Encounters. Cross-cultural contacts and exchanges in pre-modern times. Oxford University Press. ISBN 0-19-507639-7.
  24. Foltz. Religions of the Silk Road. p. 44. Certain Indian notions may have made their way westward into the budding Christianity of the Mediterranean world through the channels of the Greek diaspora
  25. Clement of Alexandria "The Stromata, or Miscellanies" Book I, Chapter XV
  26. "Clement of Alexandria Stromata. BkI, Ch XV". สืบค้นเมื่อ 19 Dec 2012.
  27. Walbridge, John (2001). The Wisdom of the Mystic East: Suhrawardī and Platonic Orientalism. p. 129. The form Būdhīsaf is the original, as shown by Sogdian form Pwtysfi and the early New Persian form Bwdysf On the Christian versions see A. S. Geden, Encyclopaedia of Religion and Ethics, s.v. "Josaphat, Barlaam and," and M. P. Alfaric, ..."

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]