วัชระ ยาวอหะซัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัชระ ยาวอหะซัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 (61 ปี)
อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
พรรคการเมืองชาติไทย (2550—2551)
ชาติไทยพัฒนา (2551—2562)
พลังประชารัฐ (2562—2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566—ปัจจุบัน)
คู่สมรสทรายนูบ๊ะห์ ยาวอหะซัน

วัชระ ยาวอหะซัน (เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 3 สมัย ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1]

ประวัติ[แก้]

วัชระ ยาวอหะซัน เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เป็นบุตรของนายกูเซ็ง และ นางแมเนาะ ยาวอหะซัน และเป็นพี่ชายของนายกูเฮง ยาวอหะซัน สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคนนทบุรี[2] และ ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน จาก สถาบันราชภัฏยะลา[3] สมรสกับ นางสาวทรายนูบ๊ะห์ ยาวอหะซัน มีบุตร-ธิดา 4 คน

การทำงาน[แก้]

หลังจากจบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วัชระเริ่มทำงานในตำแหน่งนายช่างโยธาส่วนอำเภอ ซึ่งทำงานราชการประมาณ 20 ปี โดยตำแหน่งสุดท้าย คือ นักบริหารงานช่าง ระดับ 7

งานการเมือง[แก้]

วัชระ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2566 รวม 3 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

วัชระ ยาวอหะซัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคชาติไทยพรรคชาติไทยพัฒนา
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดนราธิวาส. รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2558
  3. นายวัชระ ยาวอหะซัน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๔