ข้ามไปเนื้อหา

วัคซีนโรคคอตีบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัคซีนโรคคอตีบ
DT vaccine in Japan
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้Corynebacterium diphtheriae
ชนิดToxoid
ข้อมูลทางคลินิก
MedlinePlusa607027
ช่องทางการรับยาIntramuscular injection
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
ChemSpider
  • none
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (Diphtheria) เป็นวัคซีนที่ใช้เพื่อต่อต้านเชื้อ Corynebacterium diphtheriae ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคคอตีบ[1] การใช้วัคซีนนี้ในผู้ป่วยทั่วโลกมีจำนวนลดลงกว่า 90% ในช่วงปี 2523 ถึง 2543[2] การแนะนำสำหรับการให้วัคซีนครั้งแรกคือสามครั้งตามขนาดที่กำหนด โดยวัคซีนจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95%[2] ทั้งนี้วัคซีนจะสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 10 ปีซึ่งหลังจากเวลาดังกล่าวก็จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้น[2] การสร้างภูมิคุมกันโรคอาจเริ่มตั้งแต่เมื่อทารกอายุหกเดือนและการให้วัคซีนครั้งต่อ ๆ ไปทุกสี่สัปดาห์[2]

วัคซีนโรคคอตีบนี้มีความปลอดภัยมาก[2] ผลข้างเคียงสำคัญนั้นพบได้น้อยมาก[2] แต่ทั้งนี้อาจมีความเจ็บปวดที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนได้[2] รอยบวมที่ตำแหน่งการฉีดจะเกิดขึ้นนานราวสองสามสัปดาห์[3] วัคซีนนี้ปลอดภัยต่อผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง [3]

การให้วัคซีนร่วมที่ใช้เพื่อป้องกันโรคมีหลายวิธี[4] ซึ่งได้แก่ การให้ร่วมกับชีวพิษเชื่องบาดทะยัก (tetanus toxoid) (หรือที่เรียกว่า วัคซีน dT หรือ DT) และวัคซีนโรคบาดทะยักและวัคซีนโรคไอกรน หรือที่เรียกว่า วัคซีน DPT[2] ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้นับตั้งแต่ปี 2517[2] ประชากรโลกที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนประมาณ 84%[5] โดยเป็นการให้วัคซีนโดยการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ[2] วัคซีนนี้ต้องเก็บในที่เย็นแต่ห้ามแช่แข็ง[3]

วัคซีนโรคคอตีบผลิตขึ้นในปี 2466[6] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[7] ตั้งแต่ปี 2557 ราคาขายส่งของวัคซีนที่มี tetanus toxoid อยู่ในราว 0.12 ถึง 0.99 เหรียญสหรัฐฯ[8] ในสหรัฐอเมริกามีราคาต่ำกว่า 25 เหรียญสหรัฐฯ[9]

ประสิทธิภาพ

[แก้]

ประมาณ 95% ของผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีการสร้างภูมิคุ้มกัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกลดลงมากกว่า 90% ระหว่างปี 2523 ถึง 2543[2] ประมาณ 86% ของประชากรโลกได้รับการฉีดวัคซีนในปี 2559[5]

ผลข้างเคียง

[แก้]

ผลข้างเคียงที่รุนแรงจากชีวพิษเชื่องโรคคอตีบ (diphtheria toxoid) มีน้อยมาก[2] ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นที่บริเวณที่ฉีด[2] อาจเกิดตุ่มขึ้นบริเวณที่ฉีดซึ่งกินเวลาไม่กี่สัปดาห์[3] วัคซีนมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์และในหมู่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ[3] วัคซีน DTP อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น มีไข้, หงุดหงิดง่าย, ง่วงซึม, เบื่ออาหาร และอาเจียนในผู้รับวัคซีนได้ 6–13%[2] ผลข้างเคียงที่รุนแรงของวัคซีน DTP ได้แก่ ไข้มากกว่า 40.5 °C/104.9 °F (1 ใน 333 โดส), ภาวะชักจากไข้ (1 ใน 12,500 โดส) และภาวะตัวอ่อนปวกเปียกและไม่ตอบสนอง (hypotonic-hyporesponsive episodes) (1 ใน 1,750 โดส)[2][10] ผลข้างเคียงของวัคซีน DTaP มีความคล้ายคลึงกันแต่พบน้อยครั้งกว่า[2] วัคซีนที่ประกอบด้วยชีวพิษเชื่องบาดทะยัก (Td, DT, DTP และ DTaP) อาจทำให้เกิดโรคประสาทแขนอักเสบในอัตรา 0.5 ถึง 1 รายต่อผู้รับชีวพิษเชื่อง 100,000 ราย[11][12]

ข้อแนะนำ

[แก้]

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบตั้งแต่ปี 2517[2] แนะนำให้ฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ โดยเพิ่มอีก 2 ครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์ หลังจากได้รับยา 3 โดสนี้ ประมาณ 95% ของคนไข้จะมีภูมิคุ้มกัน[2] แนะนำให้ฉีดอีกสามโดสในช่วงวัยเด็ก[2] ไม่แนะนำให้ฉีดโดสกระตุ้นทุก ๆ สิบปีอีกต่อไป หากทำตามแผนการฉีดวัคซีน 3 โดส + 3 โดสกระตุ้น[2] การฉีด 3 โดส + 1 โดสกระตุ้น ให้ภูมิคุ้มกันเป็นเวลา 25 ปีหลังจากการฉีดครั้งสุดท้าย[2] หากให้ยาเริ่มแรกเพียง 3 โดส จำเป็นต้องให้โดสกระตุ้นเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการปกป้องอย่างต่อเนื่อง[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "MedlinePlus Medical Encyclopedia: Diphtheria immunization (vaccine)". สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2009.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 "Diphtheria vaccine" (PDF). Wkly Epidemiol Rec. 81 (3): 24–32. 20 มกราคม 2006. PMID 16671240.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Atkinson, William (พฤษภาคม 2012). Diphtheria Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (12 ed.). Public Health Foundation. pp. 215–230. ISBN 9780983263135.
  4. Centre for Disease Control and Prevention. "Diphtheria Vaccination". Department of Health and Human Services. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011.
  5. 5.0 5.1 "Diphtheria". who.int. 3 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2015.
  6. Macera, Caroline (2012). Introduction to Epidemiology: Distribution and Determinants of Disease. Nelson Education. p. 251. ISBN 9781285687148.
  7. "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2014.
  8. "Vaccine, Diphtheria-Tetanus". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2015.
  9. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 313. ISBN 9781284057560.
  10. Braun, M. Miles; DuVernoy, Tracy S.; และคณะ (The VAERS Working Group) (October 2000). "Hypotonic–Hyporesponsive Episodes Reported to the Vaccine Adverse Event Reporting System (VAERS), 1996–1998". Pediatrics. 106 (4): e52. doi:10.1542/peds.106.4.e52. PMID 11015547. S2CID 12743062.
  11. "Tetanus". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 15 April 2019.
  12. Health, Australian Government Department of (10 October 2017). "Immunisation". Australian Government Department of Health.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]