ข้ามไปเนื้อหา

รัฐฉัตตีสครห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐฉัตตีสครห์
บนลงล่าง ซ้ายไปขวา: น้ำตกจิตรโกเต, ลักษมณมนเทียรในศิรปุระ, ถ้ำโกตุมสร, ชาตไมมนเทียรในอำเภอครีอพันท์
โลโกอย่างเป็นทางการของรัฐฉัตตีสครห์
ตรา
เพลง: อรปา ไปรี เก ธาร [1][2]
(ลำธารแห่งอรปาและไปรี)
พิกัด (Chhattisgarh): 21°15′N 81°36′E / 21.25°N 81.60°E / 21.25; 81.60
ประเทศ อินเดีย
ก่อตั้ง1 พฤศจิกายน 2000
เมืองหลวงรายปุระ
เมืองใหญ่สุดรายปุระ
อำเภอ28
การปกครอง
 • ผู้ว่าAnusuiya Uikey
 • มุขยนายกBhupesh Baghel (INC)
 • นิติบัญญัติสภาเดี่ยว (90+1 ที่นั่ง)
 • สภากลางราชยสภา 5
โลกสภา 11
 • ศาลสูงฉัตตีสครห์, พิลาสปุระ
พื้นที่[3]
 • ทั้งหมด135,191 ตร.กม. (52,198 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 10
ประชากร
 (2020)[4]
 • ทั้งหมด32,186,262 คน
 • อันดับที่ 17
 • ความหนาแน่น240 คน/ตร.กม. (620 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-CT
เอชดีไอเพิ่มขึ้น 0.600 (กลาง)
อันดับเอชดีไอที่ 31 (2017)
การรู้หนังสือ70.01% (2011, ที่ 27)[5]
ภาษาราชการภาษาฉัตตีสครห์และภาษาฮินดี
เว็บไซต์cgstate.gov.in

ฉัตตีสครห์ [ฉัด-ตี-สะ-คะ-ระ] (ฮินดี: छत्तीसगढ़) เป็นหนึ่งใน 28 รัฐในประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของประเทศ เป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่เก้าของอินเดีย ด้วยพื้นที่ 135,192 km2 (52,198 sq mi) และประชากร 32.2 ล้านคน (ปี 2020) ฉัตตีสครห์เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศ

รัฐก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2000 โดยการแบ่งเขตแดนของอำเภอ สิบแห่งที่ประชากรใช้ภาษาฉัตตีสครห์ และหกอำเภอที่ประชากรใช้ภาษาโคณฑี จากรัฐมัธยประเทศ[6][7] เมืองหลวงของรัฐคือรายปุระ อาณาเขตของรัฐติดต่อกับรัฐมัธยประเทศทางตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐอุตตรประเทศทางเหนือ รัฐฌารขัณฑ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐมหาราษฏระทางตะวันตกเฉียงใต้ และรัฐเตลังคานากับรัฐอานธรประเทศทางใต้[8] ในปี 2020 รัฐประกอบด้วย 28 อำเภอ

ฉัตตีสครห์เป็นหนึ่งในรัฐที่มีการพัฒนารวดเร็วที่สุดในประเทศอินเดีย[9] ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของรัฐ (GSDP) นั้นอยู่ที่ ₹3.63[10] และรายหัวอยู่ที่ ₹102.762 ด้วยความที่รัฐฉัตตีสครห์เป็นรัฐที่มีทรัพยากรมากมาย ที่นี่จึงเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าและเหล็กกล้าของประเทศ คิดเป็น 15% ของเหล็กกล้าที่ผลิตในอินเดียมาจากรัฐฉัตตีสครห์[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.naidunia.com/chhattisgarh/raipur-arpa-parry-ke-dhar-become-chhattisgars-state-song-3299534
  2. https://www.aninews.in/news/national/politics/chattisgarhs-official-song-to-play-after-vande-mataram-to-mark-commencement-of-assembly-session20191122084816/
  3. "Official site of the Ministry of Statistics and Programme Implementation, India". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 20 July 2013.
  4. "Chhattisgarh Profile" (PDF). Census of India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2016.
  5. "State of Literacy" (PDF). Census of India. p. 114. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 May 2012.
  6. "Madhya Pradesh Reorganisation Act, 2000" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 July 2013. สืบค้นเมื่อ 29 September 2013.
  7. Chhattisgarh profile- Know all you want to know about state [ลิงก์เสีย]
  8. "Google Maps". Google Maps. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015.
  9. "Chhattisgarh -Steel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  10. "Chhattisgarh Budget Analysis 2019–20". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2019.
  11. "Chhattisgarh State – Power Hub". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.