มัสยิดอุมัยยะฮ์

พิกัด: 33°30′43″N 36°18′24″E / 33.511944°N 36.306667°E / 33.511944; 36.306667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดอุมัยยะฮ์
الجامع الأموي
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
ภูมิภาคลิแวนต์
สถานะเปิดทำการ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งดามัสกัส, ประเทศซีเรีย
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Location_map บรรทัดที่ 522: Unable to find the specified location map definition: "Module:Location map/data/Syria Old Damascus" does not exist
พิกัดภูมิศาสตร์33°30′43″N 36°18′24″E / 33.511944°N 36.306667°E / 33.511944; 36.306667
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
รูปแบบอุมัยยะฮ์
เสร็จสมบูรณ์715
ลักษณะจำเพาะ
หอคอย3
ความสูงหอคอย253 ฟุต
วัสดุหิน, หินอ่อน, กระเบื้อง, โมเสก

มัสยิดอุมัยยะฮ์ (อาหรับ: الجامع الأموي) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ มัสยิดใหญ่แห่งดามัสกัส (อาหรับ: جامع بني أمية الكبير) ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่าของดามัสกัส เป็นหนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก

หลังจากพวกมุสลิมยึดครองดามัสกัสในปีค.ศ. 634 ตัวมัสยิดได้ถูกสร้างบนพื้นที่ของมหาวิหารคริสต์ที่ถวายแก่ยอห์นผู้ให้บัพติศมา (ยะฮ์ยา) โดยท่านเป็นศาสดาที่ถูกยกย่องโดยชาวคริสต์และมุสลิม มีตำนานในศตวรรษที่ 6 ได้กล่าวว่า มีหัวของยอห์นผู้ให้บัพติศมาอยู่ในนี้[1] ตัวมัสยิดถูกเชื่อโดยชาวมุสลิมว่าเป็นที่ที่พระเยซู (อีซา) จะกลับมาในวันสิ้นโลก ตัวบรรจุศพที่มีสุสานของเศาะลาฮุดดีนอยู่ในสวนขนาดเล็กที่เชื่อมติดกับกำแพงทางตอนเหนือของมัสยิด

ประวัติ[แก้]

ก่อนศาสนาอิสลาม[แก้]

บริเวณนี้กลายเป็นพื้นที่สักการะพระเจ้ามาตั้งแต่ยุคเหล็ก ดามัสกัสเคยเป็นเมืองหลวงของรัฐอาราเมอัน และมีวิหารขนาดใหญ่ของลัทธิฮะดัด เทพแห่งสายฟ้าและฝน มีหินก้อนหนึ่งที่เป็นส่วนที่เหลือของวิหารอาราเมอันที่ถูกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติดามัสกัส.[2] หลังจากพวกโรมันเข้ายึดครองใน 64 ปีก่อนคริสตกาล พวกเขาได้เทียบเทพฮะดัดให้เหมือนกับจูปิเตอร์ เทพแห่งสายฟ้าของพวกเขา.[3] ดังนั้น พวกโรมันจึงขยายวิหาร ภายใต้การควบคุมของสถาปนิกอะพอลโลโดรุสแห่งดามัสกัส[4]

จนถึงปลายศตวรรษที่ 4 ในปีค.ศ.391 วิหารจูปิเตอร์ถูกเปลี่ยนเป็นอาสนวิหารโดยจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 (ครองราช ค.ศ.379–395) ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงเป็นอาสนวิหารคริสเตียน มันยังไม่ได้ถวายแก่ยอห์นผู้ให้บัพติศมาในทันที; มันพึ่งถูกถวายแก่ท่านในศตวรรษที่ 6 ตามตำนานที่กล่าวว่าหัวของนักบุญยอห์นถูกฝังที่นี่[1] มันทำหน้าที่เป็นที่ตั้งของบิชอปแห่งดามัสกัส ผู้มีศักดิ์เป็นอันดับสองของอัครบิดรแห่งแอนติออก[5]

มัสยิดอุมัยยะฮ์[แก้]

มัสยิดอุมัยยะฮ์ในเวลากลางคืน

ดามัสกัสถูกยึดครองโดยทหารมุสลิมอาหรับที่นำโดยคอลิด อิบน์ อัลวะลีดในปีค.ศ.634.

ในปีค.ศ. 661 รัฐเคาะลีฟะฮ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ซึ่งเลือกเมืองดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของโลกมุสลิม อัลวะลีดที่ 1 (ครองราช ค.ศ. 705–715) เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 6 ได้มีรับสั่งให้สร้างมัสยิดในบริเวณอาสนวิหารไบแซนไทน์ในปีค.ศ.706.[6] ก่อนหน้านั้น อาสนวิหารยังถูกใช้โดยชาวคริสต์ในท้องถิ่น แต่ห้องละหมาด (มุศ็อลลา) สำหรับมุสลิมถูกสร้างในบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของวิหาร อัลวะลีดได้สั่งให้รื้อมุศ็อลลาและอาสนวิหารส่วนใหญ่ออก แล้วสร้างมัสยิดลงไปแทน แต่ชาวคริสต์ได้ประท้วงการก่อสร้างนี้ อัลวะลีดจึงรับสั่งให้คืนโบสถ์ที่ถูกยึดให้แก่ชาวคริสต์เพื่อเป็นการตอบสนองแก่พวกเขา ตัวมัสยิดสร้างเสร็จในปีค.ศ.715 ไม่นานหลังจากที่อัลวะลีดสวรรคต และอยู่ในสมัยของสุไลมาน อิบน์ อับดุลมาลิก (ครองราช ค.ศ. 715–717).[7][8][9]

รายงานจากอิบน์ อัลฟากิฮ์ นักประวัติศาสตร์ชาวเปอร์เซียในศตวรรษที่ 10 มีการใช้เงินดินาร์ในโครงการนี้ไประหว่าง 600,000 ถึง 1,000,000 เหรียญ และใช้แรงงานไป 12,000 คน[7][10] ทางช่างฝีมือไบเซนไทน์ได้สร้างโมเสกที่เป็นรูปภูมิทัศน์และสิ่งก่อสร้างในรูปแบบโรมันตอนปลาย[11][12] อิบน์ อัลฟะกิฮ์รายงานว่า ในระหว่างการก่อสร้างนั้น มีคนงานพบถ้ำที่มีกล่องบรรจุหัวของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา หรือยะฮ์ยา อิบน์ ซะกะรียาในศาสนาอิสลาม หลังจากศึกษาและตรวจสอบแล้ว อัลวะลีดที่ 1 จึงมีรับสั่งให้ฝังใต้เสาที่มีรูปแบบเฉพาะในมัสยิด ซึ่งถูกทาบด้วยหินอ่อนในภายหลัง[13]

โดมแห่งเวลาถูกสร้างในปีค.ศ.780

สมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ์และฟาฏิมียะฮ์[แก้]

หลังจากการประท้วงที่ทำให้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 750 ราชวงศ์อับบาซียะฮ์จึงมีอำนาจขึ้นแล้วย้ายเมืองหลวงไปที่แบกแดด จึงทำให้มัสยิดอุมัยยะฮ์หมดความสำคัญไป โดยมีการบันทึกแค่ในระหว่างศตวรรษที่ 8 ถึง 10[14] อัลฟาดิล อิบน์ ศอลิฮ์ ข้าหลวงแห่งดามัสกัสของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ได้สร้างโดมนาฬิกา[ไม่แน่ใจ ] ในบริเวณฝั่งตะวันออกของมัสยิดในปีค.ศ.780.[15] เก้าปีต่อมา เขาได้ริเริ่มการก่อสร้างโดมคลังสมบัติโดยมีจุดประสงค์ไว้เก็บกองทุนของมัสยิด[16] อัล-มุก็อดดาซี นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับในศตวรรษที่ 9 ได้วางใจให้พวกอับบาซีสร้างหอมินาเรตในบริเวณทางตอนเหนือ (มะฎอนัต อัลอะรูส; "มินาเรตแห่งพธู" (Minaret of the Bride)) ของมัสยิดในปีค.ศ. 831 ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อัล-มะอ์มูน (ครองราช ค.ศ. 813–833).[14][16]

โดมคลังสมบัติถูกสร้างในปีค.ศ.789

ต่อมา พวกฟาฏิมียะฮ์แห่งอียิปต์ที่นับถือนิกายชีอะฮ์ ได้ยึดครองดามัสกัสในปีค.ศ.970 แต่มีการพัฒนาน้อยมาก ในปีค.ศ.1069 บริเวณส่วนใหญ่ของมัสยิด โดยเฉพาะกำแพงฝั่งเหนือถูกเผาทำลาย เพราะการก่อกบฏของประชาชนในเมืองต่อทหารเบอร์เบอร์ของพวกฟาฏิมิดที่ตั้งไพร่พลในบริเวณนี้[17]

สมัยเซลจุคและอัยยูบิด[แก้]

พวกเซลจุคได้ครอบครองเมืองในปีค.ศ.1078 กษัตริย์ตูตุชที่ 1 (ครองราช ค.ศ. 1079–1095) ทรงริเริ่มซ่อมแซมมัสยิดจากผลพวงของไฟไหม้ในปีค.ศ.1069[18] ในปีค.ศ. 1082 อบูนัศร์ อะฮ์มัด อิบน์ ฟัดล์ ที่ปรึกษาของพระองค์ ได้สั่งให้ซ่อมแซมโดมกลาง;[19]ริวาก ทางตอนเหนือ ("ระเบียงทางเข้าที่มีหลังคาและเสากลม") ถูกสร้างใหม่ในปีค.ศ. 1089.[18] ในปีค.ศ.1113, ชารัฟ อัดดีด เมาดูด (ครองาช ค.ศ. 1109–1113) อะตาเบกแห่งโมซุล ถูกลอบสังหารในมัสยิดนี้[20] เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างดามัสกัสกับรัฐครูเสดในช่วงกลางศตวรรษที่ 12 ตัวมัสยิดจึงกลายเป็นจุดเรียกร้องให้มุสลิมปกป้องเมืองและนำเยรูซาเลมกลับคืนมา อิหม่ามหลายตน ซึ่งรวมไปถึงอิบน์ อะซากิรได้เรียกร้องให้ทำ ญิฮาด (" ในภาษาอาหรับแปลว่า การต่อสู้/มุ่งมั่น") และเมื่อพวกครูเซดเดินทัพมาถึงดามัสกัสในปีค.ศ. 1148 ประชาชนในเมืองได้ร่วมกันต่อสู้จนทำให้พวกครูเสดถอยทัพไป[21]

ในสมัยของนูรุดดีน ซันกี ซึ่งเริ่มในปีค.ศ.1154 ได้มีการสร้างหอนาฬิกาอันที่สองที่มีชื่อว่านาฬิกาน้ำญัยรุน[22] มันถูกสร้างข้างนอกประตูทางเข้ามัสยิดทางทิศตะวันออก (บาบ ญัยรุน) โดยมุฮัมมัด อัซซะอาตี แล้วสร้างอีกรอบในปีค.ศ.1167 เนื่องจากไฟไหม้ และถูกซ่อมแซมโดยริดวาน ลูกชายของเขา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 13 มันอาจจะอยู่รอดได้นานถึงศตวรรษที่ 14[23] มุฮัมมัด อัลอิดรีซี นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ ได้มาเยี่ยมมัสยิดนี้ในปีค.ศ.1154.[16]

ในปีค.ศ. 1173 กำแพงทางตอนเหนือของมัสยิดถูกเผาแล้วสร้างใหม่โดยเศาะลาฮุดดีน (ครองราช ค.ศ. 1174–1193) พร้อมกับสร้างมินาเรตแห่งพธู[24] ซึ่งเคนถูดทำลายในช่วงไฟไหม้ของปีค.ศ. 1069[16] และพระศพของพระองค์กับผู้สืบทอดกษัตริย์องค์ต่อไปก็ถูกฝังที่นั่น[25]

สมัยมัมลูก[แก้]

มินาเรตแห่งก็อยต์บัยถูกสร้างในปีค.ศ.1488 ภายต้คำสั่งของสุลต่านก็อยต์บัย

พวกมองโกล ภายใต้การนำของคิตบูกา ที่เป็นพันธมิตรกับกองทัพครูเสด ได้ยึดเมืองดามัสกัสจากพวกอัยยูบิดในปีค.ศ.1260. โบฮีมอนต์ที่ 6 แห่งแอนติออก ได้มีรับสั่งให้ทำพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ในมัสยิดอุมัยยะฮ์[26] แต่ว่าพวกมัมลูกที่นำโดยกุตุสกับบัยบัรส์ ครอบคราองเมืองได้ในปีเดียวกัน ในปีค.ศ. 1270 บัยบัรส์ ได้สั่งให้ดำเนินการบูรณะมัสยิด รายงานจากอิบน์ ชัดดัด การบูรณะใช้เงินดินาร์ไป 20,000 เหรียญ[27] ตัวโมเสกที่ทำการบูรณะเป็นจุดที่มีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมมัมลูกในซีเรียและอียิปต์[28]

ตีมูร์ได้ปล้นเมืองดามัสกัสในปีค.ศ.1400 แล้วมีรับสั่งให้เผาเมืองในวันที่ 17 มีนาคม ตัวไฟได้ทำลายเสามินาเรตตะวันออกของมัสยิดให้กลายเป็นเศษหินและทำให้โดมกลางของมัสยิดพังถล่มลงมา[29] เสามินาเรตตะวันตกเฉียงใต้ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ.1488 ในสมัยของสุลต่านมัมลูก[30]

สมัยออตโตมัน[แก้]

มัสยิดอุมัยยะฮ์จากเอกสารกิตาบ อัลบุลฮาน

สุลต่านเซลิมที่ 1ได้ยึดครองดามัสกัสจากพวกมัมลูกในปีค.ศ.1516. การละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกถูกจัดขึ้นโดยตัวพระองค์เอง[31][32]

อับดุลฆอนี อันนะบูลซี นักปราชญ์ศูฟีได้ให้คำสอนในมัสยิดนี้ โดยเริ่มในปีค.ศ.1661.[33]

ตัวโมเสกและหินอ่อนเสียหายจากไฟไหม้ในปีค.ศ.1893[34] ตัวไฟได้ทำลายโถงห้องละหมาด และทำให้โดมตรงกลางมัสยิดถล่ม ท้ายที่สุด พวกออตโตมันได้บูรณะมัสยิดนี้ในรูปแบบสถาปัตยกรมเดิมได้สำเร็จ[35]

จนกระทั่งปีค.ศ. 1899 หอสมุดในมัสยิดที่รวมไปถึงชุดสะสมกุบบัต อัลค็อซนะฮ์;[36] "สิ่งที่ถูกยึดได้ส่วนใหญ่ถูกส่งให้กับจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 จักรพรรดิแห่งเยอรมัน และมีไม่กี่อันเท่านั้นที่ยังถูกเก็บในหอจดหมายเหตุแห่งชาติในดามัสกัส"[37]

สมัยใหม่[แก้]

ฝั่งเหนือของลานในปีค.ศ.1862

มัสยิดอุมัยยะฮ์ได้รับการฟื้นฟูครั้งใหญ่ในปีค.ศ.1929 เป็นช่วงที่ซีเรียอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส และอีกครั้งในปีค.ศ.1954 กับ 1963 ภายใต้สาธารณรัฐซีเรีย.[38]

ในปีค.ศ.2001 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงเยี่ยมมัสยิด โดยมีจุดประสงค์หลักคือ ไปดูเรลิกของยอห์นผู้ให้บัพติศมา นี่เป็นครั้งแรกที่พระสันตะปาปาจ่ายเงินเพื่อเข้าไปในมัสยิด[39]

ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2011 มีกลุ่มผู้ประท้วงเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองซีเรียที่มัสยิดอุมัยยะฮ์ เมื่อมีผู้คนประมาณ 40–50 คนเดินออกข้างนอกและร้องคำขวัญสนับสนุนประชาธิปไตย นั่นทำให้กองกำลังรักษาความปลอดภัยซีเรียต้องสลายการชุมนุม และคุมเข้มบริเวณนี้ในช่วงละหมาดวันศุกร์[40][41]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Burns, 2005, p.88.
  2. Burns, 2005, p.16.
  3. Burns, 2005, p.40.
  4. Calcani and Abdulkarim, 2003, p.28.
  5. Darke, 2010, p.72.
  6. Grafman and Rosen-Ayalon, 1999, p.7.
  7. 7.0 7.1 Flood, 2001, p.2.
  8. Rudolff, 2006, p.177.
  9. Takeo Kamiya (2004). "Umayyad Mosque in Damascus, Syria". Eurasia News. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
  10. Wolff, 2007, p.57.
  11. Rosenwein, Barbara H. A short history of the Middle Ages. University of Toronto Press, 2014. p. 56
  12. Kleiner, Fred. Gardner's Art through the Ages, Vol. I Cengage Learning, 2013. p. 264
  13. le Strange, 1890, pp. p.233p.234
  14. 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Flood124-6
  15. Rudolff, 2006, p.178.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 Burns, 2005, pp.131–132.
  17. Burns, 2005, p.140.
  18. 18.0 18.1 Burns, 2005, pp.141–142.
  19. Flood, 1997, p.73.
  20. Burns, 2005, p.147.
  21. Burns, 2005, p.157.
  22. Flood, 2001, p.114.
  23. Flood, 2001, pp.117–118.
  24. Burns, 2005, pp. 176–177
  25. Burns, 2005, p. 190
  26. Zaimeche, 2005, p.22.
  27. Walker, 2004, p.36-37.
  28. Flood, 1997, p.67.
  29. Ibn Khaldun; Fischel, 1952, p.97.
  30. Ring, Salkin, La Boda, p.208.
  31. Van Leeuwen, p.95.
  32. Finkel, p.109.
  33. Dumper and Stanley, p.123.
  34. Christian C. Sahner (17 July 2010). "A Glittering Crossroads". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
  35. Darke, p.90.
  36. M. Lesley Wilkins (1994), "Islamic Libraries to 1920", Encyclopedia of library history, New York: Garland Pub., ISBN 0824057872, 0824057872
  37. Christof Galli (2001), "Middle Eastern Libraries", International Dictionary of Library Histories, Chicago: Fitzroy Dearborn Publishers, ISBN 1579582443, 1579582443
  38. Darke, p.91.
  39. Platt, Barbara (2001-05-06). "Inside the Umayyad mosque". BBC News.
  40. Protesters stage rare demo in Syria. Al-Jazeera English. 2011-03-15. Al-Jazeera.
  41. Syria unrest: New protests erupt across country. BBC News. 2011-04-01.

สารานุกรม[แก้]

American architect and architecture, J. R. Osgood & Co, 1894.
Bowersock, Glen Warren; Brown, Peter Lamont (2001). Interpreting late antiquity: essays on the postclassical world. Harvard University Press. ISBN 0-674-00598-8.
Burns, Ross (2005), Damascus: A History, London: Routledge, ISBN 0-415-27105-3.
Calcani, Giuliana; Abdulkarim, Maamoun (2003). Apollodorus of Damascus and Trajan's Column: from tradition to project. L'Erma di Bretschneider. ISBN 88-8265-233-5.
Dumper, Michael; Stanley, Bruce E. (2007). Cities of the Middle East and North Africa: A Historical Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 1-57607-919-8.
Charette, François (2003), Mathematical instrumentation in fourteenth-century Egypt and Syria: the illustrated treatise of Najm al-Dīn al-Mīṣrī, BRILL, ISBN 978-90-04-13015-9
Finkel, Caroline (2005), Osman's dream: the story of the Ottoman Empire, 1300-1923, Basic Books, ISBN 0-465-02396-7.
Flood, Finbarr Barry (2001). The Great Mosque of Damascus: studies on the makings of an Umayyad visual culture. Boston: BRILL. ISBN 90-04-11638-9.
Flood, Finbarr Barry (1997). "Umayyad Survivals and Mamluk Revivals: Qalawunid Architecture and the Great Mosque of Damascus". Muqarnas. Boston: BRILL. 14: 57–79. doi:10.2307/1523236.
Grafman, Rafi; Rosen-Ayalon, Myriam (1999). "The Two Great Syrian Umayyad Mosques: Jerusalem and Damascus". Muqarnas. Boston: BRILL. 16: 1–15. doi:10.2307/1523262.
Hitti, Phillip K. (October 2002). History of Syria: Including Lebanon and Palestine. Piscataway, NJ: Gorgias Press LLC. ISBN 978-1-931956-60-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-02.
Le Strange, Guy (1890), Palestine Under the Moslems: A Description of Syria and the Holy Land from A.D. 650 to 1500, Committee of the Palestine Exploration Fund (Ibn Jubayr: p.240 ff)
Ibn Ṣaṣrā, Muḥammad ibn Muḥammad (1963). William M. Brinner (บ.ก.). A chronicle of Damascus, 1389-1397. University of California Press.
Ibn Khaldūn; Fischel, Walter Joseph (1952). Ibn Khaldūn and Tamerlane: their historic meeting in Damascus, 1401 a.d. (803 a. h.) A study based on Arabic manuscripts of Ibn Khaldūn's "Autobiography". University of California Press.
Kafescioǧlu, Çiǧdem (1999). ""In The Image of Rūm": Ottoman Architectural Patronage in Sixteenth-Century Aleppo and Damascus". Muqarnas. BRILL. 16: 70–96. doi:10.2307/1523266.
Kamal al-Din, Nuha; Ibn Kathir (2002). The Islamic view of Jesus. Islamic Books. ISBN 977-6005-08-X.
Palestine Exploration Fund (1897), Quarterly statement, Published at the Fund's Office.
Ring, Trudy; Salkin, Robert M.; Schellinger, Paul E. (1994), International Dictionary of Historic Places, Taylor & Francis, ISBN 1-884964-03-6
Rivoira, Giovanni Teresio (1918), Moslem architecture: its origins and development, Oxford University Press.
Selin, Helaine, บ.ก. (1997), Encyclopaedia of the history of science, technology, and medicine in non-western cultures, Springer, ISBN 978-0-7923-4066-9.
Walker, Bethany J. (Mar 2004). "Commemorating the Sacred Spaces of the Past: The Mamluks and the Umayyad Mosque at Damascus". Near Eastern Archaeology. The American Schools of Oriental Research. 67 (1): 26–39. doi:10.2307/4149989.
Winter, Michael; Levanoni, Amalia (2004). The Mamluks in Egyptian and Syrian politics and society. BRILL. ISBN 90-04-13286-4.
Van Leeuwen, Richard (1999), Waqfs and urban structures: the case of Ottoman Damascus, BRILL, ISBN 90-04-11299-5
Wolff, Richard (2007), The Popular Encyclopedia of World Religions: A User-Friendly Guide to Their Beliefs, History, and Impact on Our World Today, Harvest House Publishers, ISBN 0-7369-2007-2
Zaimeche, Salah; Ball, Lamaan (2005), Damascus, Manchester: Foundation for Science Technology and Culture

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]