มัสยิดอุมัยยะฮ์
มัสยิดอุมัยยะฮ์ الجامع الأموي | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | อิสลาม |
ภูมิภาค | ลิแวนต์ |
สถานะ | เปิดทำการ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ดามัสกัส, ประเทศซีเรีย |
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Location_map บรรทัดที่ 522: Unable to find the specified location map definition: "Module:Location map/data/Syria Old Damascus" does not exist | |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 33°30′43″N 36°18′24″E / 33.511944°N 36.306667°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | มัสยิด |
รูปแบบ | อุมัยยะฮ์ |
เสร็จสมบูรณ์ | 715 |
ลักษณะจำเพาะ | |
หอคอย | 3 |
ความสูงหอคอย | 253 ฟุต |
วัสดุ | หิน, หินอ่อน, กระเบื้อง, โมเสก |
มัสยิดอุมัยยะฮ์ (อาหรับ: الجامع الأموي) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ มัสยิดใหญ่แห่งดามัสกัส (อาหรับ: جامع بني أمية الكبير) ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่าของดามัสกัส เป็นหนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก ชาวมุสลิมเชื่อว่ามัสยิดอุมัยยะฮ์เป็นมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ลําดับที่ 4 ของศาสนาอิสลาม
หลังจากพวกมุสลิมยึดครองดามัสกัสในปีค.ศ. 634 ตัวมัสยิดได้ถูกสร้างบนพื้นที่ของมหาวิหารคริสต์ที่ถวายแก่ยอห์นผู้ให้บัพติศมา (ยะฮ์ยา) โดยท่านเป็นศาสดาที่ถูกยกย่องโดยชาวคริสต์และมุสลิม มีตำนานในศตวรรษที่ 6 ได้กล่าวว่า มีหัวของยอห์นผู้ให้บัพติศมาอยู่ในนี้[1] ตัวมัสยิดถูกเชื่อโดยชาวมุสลิมว่าเป็นที่ที่พระเยซู (อีซา) จะกลับมาในวันสิ้นโลก ตัวบรรจุศพที่มีสุสานของเศาะลาฮุดดีนอยู่ในสวนขนาดเล็กที่เชื่อมติดกับกำแพงทางตอนเหนือของมัสยิด
ประวัติ
[แก้]ก่อนศาสนาอิสลาม
[แก้]บริเวณนี้กลายเป็นพื้นที่สักการะพระเจ้ามาตั้งแต่ยุคเหล็ก ดามัสกัสเคยเป็นเมืองหลวงของรัฐอาราเมอัน และมีวิหารขนาดใหญ่ของลัทธิฮะดัด เทพแห่งสายฟ้าและฝน มีหินก้อนหนึ่งที่เป็นส่วนที่เหลือของวิหารอาราเมอันที่ถูกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติดามัสกัส.[2] หลังจากพวกโรมันเข้ายึดครองใน 64 ปีก่อนคริสตกาล พวกเขาได้เทียบเทพฮะดัดให้เหมือนกับจูปิเตอร์ เทพแห่งสายฟ้าของพวกเขา.[3] ดังนั้น พวกโรมันจึงขยายวิหาร ภายใต้การควบคุมของสถาปนิกอะพอลโลโดรุสแห่งดามัสกัส[4]
จนถึงปลายศตวรรษที่ 4 ในปีค.ศ.391 วิหารจูปิเตอร์ถูกเปลี่ยนเป็นอาสนวิหารโดยจักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 (ครองราช ค.ศ.379–395) ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงเป็นอาสนวิหารคริสเตียน มันยังไม่ได้ถวายแก่ยอห์นผู้ให้บัพติศมาในทันที; มันพึ่งถูกถวายแก่ท่านในศตวรรษที่ 6 ตามตำนานที่กล่าวว่าหัวของนักบุญยอห์นถูกฝังที่นี่[1] มันทำหน้าที่เป็นที่ตั้งของบิชอปแห่งดามัสกัส ผู้มีศักดิ์เป็นอันดับสองของอัครบิดรแห่งแอนติออก[5]
มัสยิดอุมัยยะฮ์
[แก้]ดามัสกัสถูกยึดครองโดยทหารมุสลิมอาหรับที่นำโดยคอลิด อิบน์ อัลวะลีดในปีค.ศ.634.
ในปีค.ศ. 661 รัฐเคาะลีฟะฮ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ซึ่งเลือกเมืองดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของโลกมุสลิม อัลวะลีดที่ 1 (ครองราช ค.ศ. 705–715) เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 6 ได้มีรับสั่งให้สร้างมัสยิดในบริเวณอาสนวิหารไบแซนไทน์ในปีค.ศ.706.[6] ก่อนหน้านั้น อาสนวิหารยังถูกใช้โดยชาวคริสต์ในท้องถิ่น แต่ห้องละหมาด (มุศ็อลลา) สำหรับมุสลิมถูกสร้างในบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของวิหาร อัลวะลีดได้สั่งให้รื้อมุศ็อลลาและอาสนวิหารส่วนใหญ่ออก แล้วสร้างมัสยิดลงไปแทน แต่ชาวคริสต์ได้ประท้วงการก่อสร้างนี้ อัลวะลีดจึงรับสั่งให้คืนโบสถ์ที่ถูกยึดให้แก่ชาวคริสต์เพื่อเป็นการตอบสนองแก่พวกเขา ตัวมัสยิดสร้างเสร็จในปีค.ศ.715 ไม่นานหลังจากที่อัลวะลีดสวรรคต และอยู่ในสมัยของสุไลมาน อิบน์ อับดุลมาลิก (ครองราช ค.ศ. 715–717).[7][8][9]
รายงานจากอิบน์ อัลฟากิฮ์ นักประวัติศาสตร์ชาวเปอร์เซียในศตวรรษที่ 10 มีการใช้เงินดินาร์ในโครงการนี้ไประหว่าง 600,000 ถึง 1,000,000 เหรียญ และใช้แรงงานไป 12,000 คน[7][10] ทางช่างฝีมือไบเซนไทน์ได้สร้างโมเสกที่เป็นรูปภูมิทัศน์และสิ่งก่อสร้างในรูปแบบโรมันตอนปลาย[11][12] อิบน์ อัลฟะกิฮ์รายงานว่า ในระหว่างการก่อสร้างนั้น มีคนงานพบถ้ำที่มีกล่องบรรจุหัวของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา หรือยะฮ์ยา อิบน์ ซะกะรียาในศาสนาอิสลาม หลังจากศึกษาและตรวจสอบแล้ว อัลวะลีดที่ 1 จึงมีรับสั่งให้ฝังใต้เสาที่มีรูปแบบเฉพาะในมัสยิด ซึ่งถูกทาบด้วยหินอ่อนในภายหลัง[13]
สมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ์และฟาฏิมียะฮ์
[แก้]หลังจากการประท้วงที่ทำให้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์สิ้นสุดลงในปีค.ศ. 750 ราชวงศ์อับบาซียะฮ์จึงมีอำนาจขึ้นแล้วย้ายเมืองหลวงไปที่แบกแดด จึงทำให้มัสยิดอุมัยยะฮ์หมดความสำคัญไป โดยมีการบันทึกแค่ในระหว่างศตวรรษที่ 8 ถึง 10[14] อัลฟาดิล อิบน์ ศอลิฮ์ ข้าหลวงแห่งดามัสกัสของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ได้สร้างโดมนาฬิกา[ไม่แน่ใจ ] ในบริเวณฝั่งตะวันออกของมัสยิดในปีค.ศ.780.[15] เก้าปีต่อมา เขาได้ริเริ่มการก่อสร้างโดมคลังสมบัติโดยมีจุดประสงค์ไว้เก็บกองทุนของมัสยิด[16] อัล-มุก็อดดาซี นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับในศตวรรษที่ 9 ได้วางใจให้พวกอับบาซีสร้างหอมินาเรตในบริเวณทางตอนเหนือ (มะฎอนัต อัลอะรูส; "มินาเรตแห่งพธู" (Minaret of the Bride)) ของมัสยิดในปีค.ศ. 831 ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อัล-มะอ์มูน (ครองราช ค.ศ. 813–833).[14][16]
ต่อมา พวกฟาฏิมียะฮ์แห่งอียิปต์ที่นับถือนิกายชีอะฮ์ ได้ยึดครองดามัสกัสในปีค.ศ.970 แต่มีการพัฒนาน้อยมาก ในปีค.ศ.1069 บริเวณส่วนใหญ่ของมัสยิด โดยเฉพาะกำแพงฝั่งเหนือถูกเผาทำลาย เพราะการก่อกบฏของประชาชนในเมืองต่อทหารเบอร์เบอร์ของพวกฟาฏิมิดที่ตั้งไพร่พลในบริเวณนี้[17]
สมัยเซลจุคและอัยยูบิด
[แก้]พวกเซลจุคได้ครอบครองเมืองในปีค.ศ.1078 กษัตริย์ตูตุชที่ 1 (ครองราช ค.ศ. 1079–1095) ทรงริเริ่มซ่อมแซมมัสยิดจากผลพวงของไฟไหม้ในปีค.ศ.1069[18] ในปีค.ศ. 1082 อบูนัศร์ อะฮ์มัด อิบน์ ฟัดล์ ที่ปรึกษาของพระองค์ ได้สั่งให้ซ่อมแซมโดมกลาง;[19]ริวาก ทางตอนเหนือ ("ระเบียงทางเข้าที่มีหลังคาและเสากลม") ถูกสร้างใหม่ในปีค.ศ. 1089.[18] ในปีค.ศ.1113, ชารัฟ อัดดีด เมาดูด (ครองาช ค.ศ. 1109–1113) อะตาเบกแห่งโมซุล ถูกลอบสังหารในมัสยิดนี้[20] เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างดามัสกัสกับรัฐครูเสดในช่วงกลางศตวรรษที่ 12 ตัวมัสยิดจึงกลายเป็นจุดเรียกร้องให้มุสลิมปกป้องเมืองและนำเยรูซาเลมกลับคืนมา อิหม่ามหลายตน ซึ่งรวมไปถึงอิบน์ อะซากิรได้เรียกร้องให้ทำ ญิฮาด (" ในภาษาอาหรับแปลว่า การต่อสู้/มุ่งมั่น") และเมื่อพวกครูเซดเดินทัพมาถึงดามัสกัสในปีค.ศ. 1148 ประชาชนในเมืองได้ร่วมกันต่อสู้จนทำให้พวกครูเสดถอยทัพไป[21]
ในสมัยของนูรุดดีน ซันกี ซึ่งเริ่มในปีค.ศ.1154 ได้มีการสร้างหอนาฬิกาอันที่สองที่มีชื่อว่านาฬิกาน้ำญัยรุน[22] มันถูกสร้างข้างนอกประตูทางเข้ามัสยิดทางทิศตะวันออก (บาบ ญัยรุน) โดยมุฮัมมัด อัซซะอาตี แล้วสร้างอีกรอบในปีค.ศ.1167 เนื่องจากไฟไหม้ และถูกซ่อมแซมโดยริดวาน ลูกชายของเขา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 13 มันอาจจะอยู่รอดได้นานถึงศตวรรษที่ 14[23] มุฮัมมัด อัลอิดรีซี นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ ได้มาเยี่ยมมัสยิดนี้ในปีค.ศ.1154.[16]
ในปีค.ศ. 1173 กำแพงทางตอนเหนือของมัสยิดถูกเผาแล้วสร้างใหม่โดยเศาะลาฮุดดีน (ครองราช ค.ศ. 1174–1193) พร้อมกับสร้างมินาเรตแห่งพธู[24] ซึ่งเคนถูดทำลายในช่วงไฟไหม้ของปีค.ศ. 1069[16] และพระศพของพระองค์กับผู้สืบทอดกษัตริย์องค์ต่อไปก็ถูกฝังที่นั่น[25]
สมัยมัมลูก
[แก้]พวกมองโกล ภายใต้การนำของคิตบูกา ที่เป็นพันธมิตรกับกองทัพครูเสด ได้ยึดเมืองดามัสกัสจากพวกอัยยูบิดในปีค.ศ.1260. โบฮีมอนต์ที่ 6 แห่งแอนติออก ได้มีรับสั่งให้ทำพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ในมัสยิดอุมัยยะฮ์[26] แต่ว่าพวกมัมลูกที่นำโดยกุตุสกับบัยบัรส์ ครอบคราองเมืองได้ในปีเดียวกัน ในปีค.ศ. 1270 บัยบัรส์ ได้สั่งให้ดำเนินการบูรณะมัสยิด รายงานจากอิบน์ ชัดดัด การบูรณะใช้เงินดินาร์ไป 20,000 เหรียญ[27] ตัวโมเสกที่ทำการบูรณะเป็นจุดที่มีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมมัมลูกในซีเรียและอียิปต์[28]
ตีมูร์ได้ปล้นเมืองดามัสกัสในปีค.ศ.1400 แล้วมีรับสั่งให้เผาเมืองในวันที่ 17 มีนาคม ตัวไฟได้ทำลายเสามินาเรตตะวันออกของมัสยิดให้กลายเป็นเศษหินและทำให้โดมกลางของมัสยิดพังถล่มลงมา[29] เสามินาเรตตะวันตกเฉียงใต้ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ.1488 ในสมัยของสุลต่านมัมลูก[30]
สมัยออตโตมัน
[แก้]สุลต่านเซลิมที่ 1ได้ยึดครองดามัสกัสจากพวกมัมลูกในปีค.ศ.1516. การละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกถูกจัดขึ้นโดยตัวพระองค์เอง[31][32]
อับดุลฆอนี อันนะบูลซี นักปราชญ์ศูฟีได้ให้คำสอนในมัสยิดนี้ โดยเริ่มในปีค.ศ.1661.[33]
ตัวโมเสกและหินอ่อนเสียหายจากไฟไหม้ในปีค.ศ.1893[34] ตัวไฟได้ทำลายโถงห้องละหมาด และทำให้โดมตรงกลางมัสยิดถล่ม ท้ายที่สุด พวกออตโตมันได้บูรณะมัสยิดนี้ในรูปแบบสถาปัตยกรมเดิมได้สำเร็จ[35]
จนกระทั่งปีค.ศ. 1899 หอสมุดในมัสยิดที่รวมไปถึงชุดสะสมกุบบัต อัลค็อซนะฮ์;[36] "สิ่งที่ถูกยึดได้ส่วนใหญ่ถูกส่งให้กับจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 จักรพรรดิแห่งเยอรมัน และมีไม่กี่อันเท่านั้นที่ยังถูกเก็บในหอจดหมายเหตุแห่งชาติในดามัสกัส"[37]
สมัยใหม่
[แก้]มัสยิดอุมัยยะฮ์ได้รับการฟื้นฟูครั้งใหญ่ในปีค.ศ.1929 เป็นช่วงที่ซีเรียอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส และอีกครั้งในปีค.ศ.1954 กับ 1963 ภายใต้สาธารณรัฐซีเรีย.[38]
ในปีค.ศ.2001 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงเยี่ยมมัสยิด โดยมีจุดประสงค์หลักคือ ไปดูเรลิกของยอห์นผู้ให้บัพติศมา นี่เป็นครั้งแรกที่พระสันตะปาปาจ่ายเงินเพื่อเข้าไปในมัสยิด[39]
ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2011 มีกลุ่มผู้ประท้วงเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองซีเรียที่มัสยิดอุมัยยะฮ์ เมื่อมีผู้คนประมาณ 40–50 คนเดินออกข้างนอกและร้องคำขวัญสนับสนุนประชาธิปไตย นั่นทำให้กองกำลังรักษาความปลอดภัยซีเรียต้องสลายการชุมนุม และคุมเข้มบริเวณนี้ในช่วงละหมาดวันศุกร์[40][41]
ดูเพิ่ม
[แก้]- อับลัก
- มัสยิดใหญ่แห่งอะเลปโป
- สถานที่ศักดิสิทธิ์ในศาสนาอิสลาม
- สถาปัตยกรรมอิสลาม
- ศิลปะอิสลาม
- ศิลปะปาเลสไตน์
- มัสยิด-อาสนวิหารกอร์โดบา
- เส้นเวลาของประวัติศาสตร์อิสลาม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Burns, 2005, p.88.
- ↑ Burns, 2005, p.16.
- ↑ Burns, 2005, p.40.
- ↑ Calcani and Abdulkarim, 2003, p.28.
- ↑ Darke, 2010, p.72.
- ↑ Grafman and Rosen-Ayalon, 1999, p.7.
- ↑ 7.0 7.1 Flood, 2001, p.2.
- ↑ Rudolff, 2006, p.177.
- ↑ Takeo Kamiya (2004). "Umayyad Mosque in Damascus, Syria". Eurasia News. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
- ↑ Wolff, 2007, p.57.
- ↑ Rosenwein, Barbara H. A short history of the Middle Ages. University of Toronto Press, 2014. p. 56
- ↑ Kleiner, Fred. Gardner's Art through the Ages, Vol. I Cengage Learning, 2013. p. 264
- ↑ le Strange, 1890, pp. p.233–p.234
- ↑ 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFlood124-6
- ↑ Rudolff, 2006, p.178.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 Burns, 2005, pp.131–132.
- ↑ Burns, 2005, p.140.
- ↑ 18.0 18.1 Burns, 2005, pp.141–142.
- ↑ Flood, 1997, p.73.
- ↑ Burns, 2005, p.147.
- ↑ Burns, 2005, p.157.
- ↑ Flood, 2001, p.114.
- ↑ Flood, 2001, pp.117–118.
- ↑ Burns, 2005, pp. 176–177
- ↑ Burns, 2005, p. 190
- ↑ Zaimeche, 2005, p.22.
- ↑ Walker, 2004, p.36-37.
- ↑ Flood, 1997, p.67.
- ↑ Ibn Khaldun; Fischel, 1952, p.97.
- ↑ Ring, Salkin, La Boda, p.208.
- ↑ Van Leeuwen, p.95.
- ↑ Finkel, p.109.
- ↑ Dumper and Stanley, p.123.
- ↑ Christian C. Sahner (17 July 2010). "A Glittering Crossroads". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
- ↑ Darke, p.90.
- ↑ M. Lesley Wilkins (1994), "Islamic Libraries to 1920", Encyclopedia of library history, New York: Garland Pub., ISBN 0824057872, 0824057872
- ↑ Christof Galli (2001), "Middle Eastern Libraries", International Dictionary of Library Histories, Chicago: Fitzroy Dearborn Publishers, ISBN 1579582443, 1579582443
- ↑ Darke, p.91.
- ↑ Platt, Barbara (2001-05-06). "Inside the Umayyad mosque". BBC News.
- ↑ Protesters stage rare demo in Syria. Al-Jazeera English. 2011-03-15. Al-Jazeera.
- ↑ Syria unrest: New protests erupt across country. BBC News. 2011-04-01.
สารานุกรม
[แก้]- American architect and architecture, J. R. Osgood & Co, 1894.
- Bowersock, Glen Warren; Brown, Peter Lamont (2001). Interpreting late antiquity: essays on the postclassical world. Harvard University Press. ISBN 0-674-00598-8.
- Burns, Ross (2005), Damascus: A History, London: Routledge, ISBN 0-415-27105-3.
- Calcani, Giuliana; Abdulkarim, Maamoun (2003). Apollodorus of Damascus and Trajan's Column: from tradition to project. L'Erma di Bretschneider. ISBN 88-8265-233-5.
- Dumper, Michael; Stanley, Bruce E. (2007). Cities of the Middle East and North Africa: A Historical Encyclopedia. ABC-CLIO. ISBN 1-57607-919-8.
- Charette, François (2003), Mathematical instrumentation in fourteenth-century Egypt and Syria: the illustrated treatise of Najm al-Dīn al-Mīṣrī, BRILL, ISBN 978-90-04-13015-9
- Finkel, Caroline (2005), Osman's dream: the story of the Ottoman Empire, 1300-1923, Basic Books, ISBN 0-465-02396-7.
- Flood, Finbarr Barry (2001). The Great Mosque of Damascus: studies on the makings of an Umayyad visual culture. Boston: BRILL. ISBN 90-04-11638-9.
- Flood, Finbarr Barry (1997). "Umayyad Survivals and Mamluk Revivals: Qalawunid Architecture and the Great Mosque of Damascus". Muqarnas. Boston: BRILL. 14: 57–79. doi:10.2307/1523236.
- Grafman, Rafi; Rosen-Ayalon, Myriam (1999). "The Two Great Syrian Umayyad Mosques: Jerusalem and Damascus". Muqarnas. Boston: BRILL. 16: 1–15. doi:10.2307/1523262.
- Hitti, Phillip K. (October 2002). History of Syria: Including Lebanon and Palestine. Piscataway, NJ: Gorgias Press LLC. ISBN 978-1-931956-60-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-02.
- Le Strange, Guy (1890), Palestine Under the Moslems: A Description of Syria and the Holy Land from A.D. 650 to 1500, Committee of the Palestine Exploration Fund (Ibn Jubayr: p.240 ff)
- Ibn Ṣaṣrā, Muḥammad ibn Muḥammad (1963). William M. Brinner (บ.ก.). A chronicle of Damascus, 1389-1397. University of California Press.
- Ibn Khaldūn; Fischel, Walter Joseph (1952). Ibn Khaldūn and Tamerlane: their historic meeting in Damascus, 1401 a.d. (803 a. h.) A study based on Arabic manuscripts of Ibn Khaldūn's "Autobiography". University of California Press.
- Kafescioǧlu, Çiǧdem (1999). ""In The Image of Rūm": Ottoman Architectural Patronage in Sixteenth-Century Aleppo and Damascus". Muqarnas. BRILL. 16: 70–96. doi:10.2307/1523266.
- Kamal al-Din, Nuha; Ibn Kathir (2002). The Islamic view of Jesus. Islamic Books. ISBN 977-6005-08-X.
- Palestine Exploration Fund (1897), Quarterly statement, Published at the Fund's Office.
- Ring, Trudy; Salkin, Robert M.; Schellinger, Paul E. (1994), International Dictionary of Historic Places, Taylor & Francis, ISBN 1-884964-03-6
- Rivoira, Giovanni Teresio (1918), Moslem architecture: its origins and development, Oxford University Press.
- Selin, Helaine, บ.ก. (1997), Encyclopaedia of the history of science, technology, and medicine in non-western cultures, Springer, ISBN 978-0-7923-4066-9.
- Walker, Bethany J. (Mar 2004). "Commemorating the Sacred Spaces of the Past: The Mamluks and the Umayyad Mosque at Damascus". Near Eastern Archaeology. The American Schools of Oriental Research. 67 (1): 26–39. doi:10.2307/4149989.
- Winter, Michael; Levanoni, Amalia (2004). The Mamluks in Egyptian and Syrian politics and society. BRILL. ISBN 90-04-13286-4.
- Van Leeuwen, Richard (1999), Waqfs and urban structures: the case of Ottoman Damascus, BRILL, ISBN 90-04-11299-5
- Wolff, Richard (2007), The Popular Encyclopedia of World Religions: A User-Friendly Guide to Their Beliefs, History, and Impact on Our World Today, Harvest House Publishers, ISBN 0-7369-2007-2
- Zaimeche, Salah; Ball, Lamaan (2005), Damascus, Manchester: Foundation for Science Technology and Culture
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Christian Sahner, "A Glistening Crossroads," The Wall Street Journal, 17 July 2010 เก็บถาวร 2010-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- For freely downloadable, high-resolution photographs of the Umayyad Mosque (for teaching, research, cultural heritage work, and publication) by archaeologists, visit Manar al-Athar เก็บถาวร 2020-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน