ภาษาโรมาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาโรมาเนีย
ภาษาดากิอา-โรมาเนีย
română
ออกเสียง[roˈmɨnə]
ประเทศที่มีการพูดโรมาเนีย, มอลโดวา
ชาติพันธุ์ชาวโรมาเนีย (รวมชาวมอลโดวา)
จำนวนผู้พูด24–26 ล้านคน  (2559)[1]
ผู้พูดเป็นภาษาที่สอง: 4 ล้านคน[2]
ผู้พูดเป็นภาษาที่หนึ่ง+ภาษาที่สอง: 28–30 ล้านคน
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย
 มอลโดวา
วอยวอดีนา (เซอร์เบีย)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศฮังการี ฮังการี
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน
ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย
ธงของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[3]
ผู้วางระเบียบ • บัณฑิตยสถานโรมาเนีย
 • บัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์มอลโดวา
รหัสภาษา
ISO 639-1ro
ISO 639-2rum (B)
ron (T)
ISO 639-3ron
Linguasphere51-AAD-c (วิธภาษา: 51-AAD-ca ถึง -ck)
สีน้ำเงิน: ภูมิภาคที่ซึ่งภาษาโรมาเนียเป็นภาษาเด่น
สีเขียว: พื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยสำคัญที่พูดภาษาโรมาเนีย
การกระจายของภาษาโรมาเนียในโรมาเนีย มอลโดวา และพื้นที่ข้างเคียง
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาโรมาเนีย (โรมาเนีย: română) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์บอลข่านที่ผู้คนประมาณ 24–26 ล้านคน (ส่วนใหญ่อยู่ในโรมาเนียและมอลโดวา) พูดเป็นภาษาแม่[4][5] และอีก 4 ล้านคนพูดเป็นภาษาที่สอง[6][7] จากการประมาณอีกแบบหนึ่ง มีผู้คนประมาณ 34 ล้านคนทั่วโลกที่พูดภาษาโรมาเนียได้ โดย 30 ล้านคนในจำนวนนี้พูดเป็นภาษาแม่[8] ภาษาโรมาเนียเป็นภาษาทางการและภาษาประจำชาติของทั้งโรมาเนียและมอลโดวา และเป็นหนึ่งในภาษาทางการของสหภาพยุโรป

ภาษาโรมาเนียเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาโรมานซ์ตะวันออกซึ่งเป็นกลุ่มของภาษาที่พัฒนามาจากภาษาละตินสามัญรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแตกตัวจากภาษากลุ่มโรมานซ์ตะวันตกในช่วงเวลาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8[9] เพื่อแยกความแตกต่างภายในกลุ่มภาษาโรมานซ์ตะวันออก ในทางภาษาศาสตร์เปรียบเทียบเรียกภาษาโรมาเนียว่า ภาษาดากิอา-โรมาเนีย เมื่อเทียบกับภาษาที่ใกล้ชิดที่สุดอย่างภาษาอาโรมาเนียน ภาษาโมเกลนา-โรมาเนีย และภาษาอิสเตรีย-โรมาเนีย ภาษาโรมาเนียยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาษามอลโดวา ในมอลโดวา แต่ใน พ.ศ. 2556 ศาลรัฐธรรมนูญของมอลโดวาได้ตัดสินว่าภาษาทางการของสาธารณรัฐมีชื่อว่า ภาษาโรมาเนีย ตามที่ได้ระบุไว้ในคำประกาศอิสรภาพมอลโดวา[10][11]

ผู้พูดภาษาโรมาเนียพลัดถิ่นอาศัยอยู่กระจัดกระจายไปตามภูมิภาคและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกโดยมีประชากรจำนวนมากในอิตาลี สเปน เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา และสหรัฐ

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษาโรมาเนีย ที่ Ethnologue (19th ed., 2016)
  2. "Union Latine". unilat.org.
  3. "Reservations and Declarations for Treaty No.148 - European Charter for Regional or Minority Languages".
  4. "Romanian Language | Effective Language Learning".
  5. "Romanian".
  6. The Latin Union reports 28 million speakers for Romanian, out of whom 24 million are native speakers of the language: Latin Union – The odyssey of languages: ro, es, fr, it, pt; see also Ethnologue report for Romanian
  7. Languages Spoken by More Than 10 Million People. Microsoft Encarta 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2009. สืบค้นเมื่อ 22 July 2007.
  8. Petit Futé: Roumanie. Editions/Ausgabe 2004–2005, ISBN 2-7469-1132-9, S. 37.
  9. "Istoria limbii române" ("History of the Romanian Language"), II, Academia Română, Bucharest, 1969
  10. "Moldovan court rules official language is 'Romanian,' replacing Soviet-flavored 'Moldovan'". สืบค้นเมื่อ 11 March 2014.
  11. "Chisinau Recognizes Romanian As Official Language". สืบค้นเมื่อ 11 March 2014.