ภาษาลีกูเรีย
ภาษาลีกูเรีย/ภาษาเจนัว | |
---|---|
ligure/zeneize | |
ออกเสียง | [ˈliɡyre]/[zeˈnejze] |
ประเทศที่มีการพูด | อิตาลี, โมนาโก, ฝรั่งเศส |
ภูมิภาค | อิตาลี ● แคว้นลีกูเรีย ● ภาคใต้ของแคว้นปีเยมอนเต ● ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นลอมบาร์เดีย ● ภาคตะวันตกของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ● ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นซาร์ดิเนีย ฝรั่งเศส ● ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ ● ภาคใต้ของแคว้นคอร์ซิกา |
จำนวนผู้พูด | 500,000 คน (2545)[1] |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษาละตินเก่า
|
ภาษาถิ่น | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | lij |
Linguasphere | 51-AAA-oh & 51-AAA-og |
![]() แผนที่ภาษาลีกูเรีย | |
ภาษาลีกูเรีย (ลีกูเรีย: ligure) หรือ ภาษาเจนัว (ลีกูเรีย: zeneize)[2] เป็นภาษากลุ่มแกลโล-อิตาลิกภาษาหนึ่งที่ใช้กันเป็นหลักในดินแดนของสาธารณรัฐเจนัวในอดีต ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยแคว้นลีกูเรียทางภาคเหนือของประเทศอิตาลี, บางส่วนของพื้นที่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของประเทศฝรั่งเศส, ประเทศโมนาโก (ซึ่งเรียกว่า ภาษาถิ่นโมนาโก), หมู่บ้านบอนีฟาซีโยบนเกาะคอร์ซิกา รวมทั้งในหมู่บ้านคาร์โลฟอร์เตบนเกาะซันปีเยโตรและหมู่บ้านคาลาเซตตาบนเกาะซันตันตีโยโคนอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะซาร์ดิเนีย ภาษาลีกูเรียเป็นส่วนหนึ่งของแนวต่อเนื่องภาษาถิ่นแกลโล-อิตาลิกและโรมานซ์ตะวันตก แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแกลโล-อิตาลิก แต่ก็มีลักษณะหลายประการของภาษาในกลุ่มอิตาลี-แดลเมเชียทางภาคกลางและภาคใต้ของประเทศอิตาลี ภาษาลีกูเรียถิ่นเจนัวซึ่งพูดกันในเจนัว เมืองหลักของแคว้นลีกูเรีย เป็นภาษาถิ่นที่มีเกียรติภูมิและมาตรฐานทางภาษามีพื้นฐานมาจากภาษาถิ่นนี้
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ภาษาลีกูเรีย/ภาษาเจนัว ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ "Genoese". Omniglot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-15.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาลิกูเรีย |
![]() |
บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |