พุทธวงศ์
พุทธวงศ์[1] (บาลี: พุทฺธวํส; หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า) เป็นปกรณ์ชีวประวัติที่กล่าวถึงชีวิตของพระโคตมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้า 24 พระองค์ก่อนหน้าและทำนายไว้ว่าพระองค์จะทรงบรรลุพุทธภาวะ[2][3] พุทธวงศ์เป็นหนังสือเล่มที่ 14 ในขุททกนิกาย ซึ่งเป็นพระสุตตันตปิฎกลำดับที่ห้าและท้ายสุด[4] พระสุตตันตปิฎกเป็นหนึ่งใน ปิฎก ที่อยู่ในพระไตรปิฎกหรือพระไตรปิฎกภาษาบาลีของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[5]
นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่า พุทธวงศ์ เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 2 ร่วมกับอปทานและจริยาปิฎก และถือว่าเป็นหนังสือรุ่นหลังที่บรรจุเข้าในพระไตรปิฎกภาษาบาลี[6][7]
สรุป
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี
ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน[8] แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ 24 พระองค์ เพราะ 24 พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 25 พระองค์ในพุทธวงศ์
ลำดับพระพุทธเจ้าในพุทธวงศ์
[แก้]
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 129
- ↑ Buddha Dharma Education Association (2014). "Suttanta Pitaka: Khuddaka Nikāya: 14.Buddhavamsa-History of the Buddhas". Guide to Tipiṭaka. Tullera, NSW, Australia: Buddha Dharma Education Association. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
- ↑ Hinüber (1996), A Handbook of Pāli Literature, p. 43.
- ↑ "Manual of Buddhist Terms and Doctrines (Pali dictionary)". palikanon.com. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
- ↑ Lancaster, LR (2005). "Buddhist books and texts: canon and canonization". Encyclopedia of religion (2nd ed.). New York: Macmillan Reference USA. p. 1252. ISBN 978 00-286-5733-2.
- ↑ A textual and Historical Analysis of the Khuddaka Nikaya – Oliver Abeynayake Ph. D. , Colombo, First Edition – 1984, p. 113.
- ↑ Horner (1975), The minor anthologies of the Pali canon, p. x. "It would seem that, however much Bv may be a latecomer to the Pali Canon, or however slight its metrical interest, its merits which may be said to include the clear-cut way in which it organizes its somewhat unusual contents...."
- ↑ สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน, , กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550, หน้า 636
ข้อมูล
[แก้]- Horner, IB, บ.ก. (1975). The minor anthologies of the Pali canon. Volume III: Buddhavaṁsa (Chronicle of Buddhas) and Cariyāpiṭaka (Basket of Conduct). London: Pali Text Society. ISBN 0-86013-072-X.
- Hinüber, O (1996). A Handbook of Pāli Literature (1st ed.). Philadelphia: Coronet Books Inc. ISBN 978-8121507783.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The chronicle of twenty-four Buddhas, by Mingun Sayadaw, edited and translated by Professor U Ko Lay and U Tin Lwin, Yangon, Myanmar. Includes only chapters 1, 22, 23, and 24.