ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระศรีมหาอุมาเทวี"

พิกัด: 13°43′27″N 100°31′22″E / 13.7242°N 100.5228961°E / 13.7242; 100.5228961
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox religious building
{{กล่องข้อมูล สิ่งก่อสร้าง
| ชื่อสิ่งก่อสร้าง = วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
| name = วัดพระศรีมหาอุมาเทวี<br>วัดแขก สีลม
| ชื่อภาษาอื่น = திருமாரியம்மன் கோயில்
| native_name = திருமாரியம்மன் கோயில்
| ภาพ = วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (19).jpg
| image = วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (19).jpg
| image_size =
| คำบรรยายภาพ = วัดพระศรีมหาอุมาเทวียามค่ำคืน
| alt =
| สิ่งก่อสร้าง = [[โบสถ์พราหมณ์]] [[ลัทธิศักติ]]
| caption = วัดพระศรีมหาอุมาเทวียามค่ำคืน
| เมืองที่ตั้ง = เลขที่ 2 [[ถนนสีลีม]] แขวงสีลม [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| map_type =
| ประเทศที่ตั้ง = {{ธง|ไทย}} [[ประเทศไทย]]
| map_size =
| ปีสร้าง = ราว พ.ศ. 2453-2454
| map_alt =
| ผู้สร้าง = ไวตรี ประเดียอะจิ
| map_caption =
| ปีรื้อ =
| location = เลขที่ 2 [[ถนนสีลม]] แขวงสีลม [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| ปีบูรณะ =
| coordinates = 13°45′N 100°28′E
| ผู้บูรณะ =
| religious_affiliation = [[ศาสนาฮินดู]] [[ลัทธิศักติ]]
| แบบสถาปัตยกรรม = สถาปัตยกรรมอินเดียใต้
| deity = [[พระอุมาเทวี]]
| โครงสร้าง =
| country = [[ประเทศไทย]]
| ขนาด =
| functional_status = [[โบสถ์พราหมณ์]]
| รายละเอียดอื่น =
| website =
| สถาปนิก =
| founded_by =
| วิศวกร =
| year_completed = ราว พ.ศ. 2453-2454
| ตกแต่งภายใน =
| founded_by = ไวตรี ประเดียอะจิ
| สวน =
| ผู้ออกแบบผู้อื่น =
| รางวัล =
| สิ่งที่น่าสนใจ =
| พิกัดภูมิศาสตร์ = 13°45′N 100°28′E
| เว็บไซต์ =
| หมายเหตุ =
| ภาษาอื่น = ทมิฬ
}}
}}

'''วัดพระศรีมหาอุมาเทวี''' ({{lang-ta|திருமாரியம்மன் கோயில்}} ''ติรุมาริอัมมันโกยิล'')<ref name="คมกฤช">{{cite web |url= https://www.matichonweekly.com/column/article_35268 |title= บางแง่มุมของวัดแขกสีลม : ใครคือเจ้าแม่วัดแขก? |author= คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง |date= 11 พฤษภาคม 2560 |work= มติชนสุดสัปดาห์ |publisher=|accessdate= 19 พฤศจิกายน 2561}}</ref> หรือ '''วัดแขกสีลม''' เป็น[[โบสถ์พราหมณ์]] ตั้งอยู่เลขที่ 2 [[ถนนสีลม]] แขวงสีลม [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการบูชา[[พระแม่มารีอัมมัน]]ซึ่งเป็นพระชายาของ[[พระศิวะ]] เป็นประธานของวัด
'''วัดพระศรีมหาอุมาเทวี''' ({{lang-ta|திருமாரியம்மன் கோயில்}} ''ติรุมาริอัมมันโกยิล'')<ref name="คมกฤช">{{cite web |url= https://www.matichonweekly.com/column/article_35268 |title= บางแง่มุมของวัดแขกสีลม : ใครคือเจ้าแม่วัดแขก? |author= คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง |date= 11 พฤษภาคม 2560 |work= มติชนสุดสัปดาห์ |publisher=|accessdate= 19 พฤศจิกายน 2561}}</ref> หรือ '''วัดแขกสีลม''' เป็น[[โบสถ์พราหมณ์]] ตั้งอยู่เลขที่ 2 [[ถนนสีลม]] แขวงสีลม [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการบูชา[[พระแม่มารีอัมมัน]]ซึ่งเป็นพระชายาของ[[พระศิวะ]] เป็นประธานของวัด



รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:19, 29 พฤศจิกายน 2561

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
วัดแขก สีลม
திருமாரியம்மன் கோயில்
วัดพระศรีมหาอุมาเทวียามค่ำคืน
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู ลัทธิศักติ
เทพพระอุมาเทวี
สถานะโบสถ์พราหมณ์
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเลขที่ 2 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์13°45′N 100°28′E
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งไวตรี ประเดียอะจิ
เสร็จสมบูรณ์ราว พ.ศ. 2453-2454

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (ทมิฬ: திருமாரியம்மன் கோயில் ติรุมาริอัมมันโกยิล)[1] หรือ วัดแขกสีลม เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการบูชาพระแม่มารีอัมมันซึ่งเป็นพระชายาของพระศิวะ เป็นประธานของวัด

ประวัติ

เทวสถานนี้มีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว พ.ศ. 2453-2454 โดยคณะผู้ศรัทธาชาวทมิฬผู้อาศัยอยู่ย่านตำบลริมคลองสีลม และตำบลหัวลำโพง อำเภอบางรัก เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนดินแดนย่านแหลมมลายูรวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทย

เมื่อนายไวตี พ่อค้าวัว และญาติมิตรชาวฮินดูที่ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพอยู่ย่านตำบลหัวลำโพง อำเภอบางรัก และตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก มีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที่บูชาพระอุมาเทวี ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู โดยเริ่มต้นตั้งเป็นศาลไม้ใต้ต้นสะเดาในไร่อ้อยริมคลองสีลม แถววัดวัวลำพองหรือหัวลำโพงในปัจจุบันนี้

ต่อมาคณะกรรมการผุ้ก่อตั้งวัดอาทิ นายไวตรีประเดียอะจิ (ต้นตระกูลไวตี เจ้าของเดิมที่ดินใน ซ.สีลม 13 หรือ ซ.ไวตี ถนนสีลม ) นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้หาที่ดินเพื่อตั้งสถานที่ถาวร โดยขอแลกที่ดินของพวกตนกับที่ดินสวนผักริมคลองสีลมของนางอุปการโกษากร (ปั้น วัชราภัย) มรรคนายิกาวัดสุทธิวราราม ภรรยาหลวงอุปการโกษากร (เวก หรือ เวท วัชราภัย) ปัจจุบันเป็นหัวถนนปั้นด้านที่ตัดกับถนนสีลม โดยนำเทวรูปองค์เทพและ เทวี ต่าง ๆ มาจากประเทศอินเดียโดยมีพระแม่มารีอัมมันเป็นองค์ประธานของเทวสถาน รวมทั้งเทวรูปศิลาสลักพระพิฆเนศ และเทพแห่งความสำเร็จ ผู้ที่ได้รับการประทานพรจากพระศิวะ เทพบิดร ให้เป็นเทพผู้ได้รับการเริ่มต้นบูชาก่อนการบูชาเทพ-เทพีองค์อื่น ๆ ทุกครั้ง

วัดพระศรีมหาอุมาเทวีเป็นเทวสถานในลัทธิศักติ คือนับถือเทวีเป็นหลัก เช่น พระศรีมหาอุมาเทวี พระชายาของพระศิวะ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพระผู้ทำลาย ถือได้ว่าเมื่อยามที่พระองค์เสวยร่างเป็นเจ้าแม่อุมา จะเป็นเจ้าแห่งความเมตตากรุณา และงามสง่า ดังนั้นผู้มีจิตศรัทธาจึงนิยมไปกราบไหว้บูชา และขอพร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความรัก และเรื่องการขอบุตร

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของเทวสถานเป็นลักษณะศิลปะประเพณีโบราณของอินเดียตอนใต้ผสมผสานกัน ระหว่างสมัยโจฬะและปาละ ในอินเดีย ซึ่งจะพบศิลปะทางสถาปัตยกรรมแบบนี้ได้ในเทวาลัยตอนใต้ของประเทศอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐทมิฬนาดู

ด้านในเทวสถานมีโบสถ์ตั้งอยู่ตรงกลาง หันหน้าไปด้านถนนปั้น ด้านในสุดของโบสถ์แบ่งเป็น 3 ซุ้ม ซุ้มใหญ่ตรงกลาง มี 2 ล็อก ล็อกหน้าเป็นทางเดินเข้า ล็อกในประดิษฐาน เทวรูปปูนปั้น และเทวรูปหล่อลอยองค์ พระแม่มารีอัมมัน ซุ้มด้านซ้ายและขวาของโบสถ์ ประดิษฐานเทวรูปของพระโอรสทั้งสอพระองค์ ซุ้มด้านซ้าย (ด้านข้างในเทวสถาน)เป็นซุ้มประดิษฐานเทวรูปศิลาสลักองค์พระพิฆเนศ ซุ้มด้านขวา (ด้านริมถนนสีลม) ประดิษฐานเทวรูปสลักศิลาองค์ พระขันทกุมารซุ้มในโบสถ์ทั้ง 3 ซุ้มนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าไปข้างใน ยกเว้นพราหมณ์พิธีผู้มีคุณสมบัติอันสมควร แถวด้านซ้ายของโบสถ์หน้าซุ้มพระพิฆเนศ มีแท่นตั้งมีเทวรูปรูปหล่อลอยองค์พร้อมแท่นวางมีห่วงเหล็กที่สร้างไว้สำหรับอัญเชิญออกแห่ในงานพิธีหรือเทศกาลต่างๆของเทวสถาน อันได้แก่ พระพิฆเนศ พระศิวะ พระกฤษณะ พระวิษณุ พระลักษมี พระขันทกุมาร พระแม่มารีอัมมัน พระแม่กาลี พระสรัสวดีและมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นพระพุทธชินราชจำลองตั้งวางอยู่ด้านข้างประตูโบสถ์ด้านใน ส่วนด้านขวาของโบสถ์หน้าซุ้มเทวรูปศิลา พระขันทกุมาร มีซุ้มพระนาฎรายาและพระแม่ศิวะกามี เทวรูปพระหนุมาน , ตู้เก็บใบคำทำนายเซียมซีของวัด ทางเข้าด้านหน้าโบสถ์ทั้งซ้ายขวา เป็นสถานที่สำหรับจำหน่ายเครื่องบูชาและเทวรูปวัตถุมงคลต่างๆของทางเทวสถาน

ด้านนลานเทวสถานด้านหน้าโบสถ์มีเสาสีทองขนาดใหญ่สูงเท่าหลังคาโบสถ์ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูหน้าของเทวสถานและช่องกลางโบสถ์ซึ่งมีซุ้มใหญ่ตรงกลาง ที่ประดิษฐานพระศรีมหามารีอัมมันอยู่ด้านในสุด ด้านบนสุดของเสาเป็นโยนีลิงก์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะถูกตกแต่งประดับประดาและชักธงรูปสิงห์ประจำองค์พระแม่ ขึ้นในช่วงสัปดาห์เทศกาลนวราตรี

บนลานหน้าเทวสถานมีเทวาลัยขนาดเล็กอีก 3 เทวาลัย เทวาลัยแรกอยู่บริเวณกลางลานหน้าโบสถ์ด้านขวา (ด้านถนนสีลม) เป็นเทวาลัยประดิษฐานศิวลึงค์อันเป็นสัญญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ อีก 2 เทวาลัยอยู่ที่มุมริมสุดด้านหน้าของเทวสถานด้านถนนปั้นตัดกับถนนสีลม เป็นเทวาลัยประดิษฐานพระพรหม และเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปเทวดานพเคราะห์ริมรั้วด้านถนนสีลมระหว่าเทวาลัยพระพรหมและศิวลึงค์ มีหอระฆังที่ต้องตีตลอดเวลาขณะที่พราหมณ์ทำพิธีบูชาเทพเจ้า

ส่วนด้านข้างของเทวสถานริมซ้ายติดกับบ้านเรือนของเอกชนในถนนปั้น ใกล้รั้วเป็นซุ้มใหญ่ประดิษฐานเทวรูปอีก 3 ซุ้มซึ่งเป็นเทพท้องถิ่นของชาวอินเดียใต้ ได้แก่พระอัยนาร์ พระซับทระกรรณี พระแม่เปชายี พระอัคนีวิรั่น พระเปริยาจี พระมาดูไรวีรั่น พระกัตตราวรายัน ถัดเข้าไปข้างในเป็นแผ่นสลักรูป ศรียันตรา ซึ่งหันหน้าเข้าหาถนนสีลมถัดเข้าอีกเป็นอาคารสำนักงานของทางวัด

เทศกาลนวราตรี

ในช่วงวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 11 รวม 9 วัน 9 คืนนั้น เป็นเป็นช่วงเวลาของเทศกาลดูเซร่า หรือนวราตรี ของชาวฮินดู ซึ่งเป็นงานแห่พระแม่อุมา และเชื่อกันว่าในช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่พระแม่และขบวนเทพจะเสด็จมายังโลกเพื่อประทานพรให้กับมนุษย์

อ้างอิง

แผนที่

13°43′27″N 100°31′22″E / 13.7242°N 100.5228961°E / 13.7242; 100.5228961

  1. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (11 พฤษภาคม 2560). "บางแง่มุมของวัดแขกสีลม : ใครคือเจ้าแม่วัดแขก?". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)