ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอถลาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Olarnwilawan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fame0093 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
| phone = 0 7631 1046
| phone = 0 7631 1046
| fax = 0 7631 1046
| fax = 0 7631 1046
| คำขวัญ = เมืองประวัติศาสตร์ ธรรมชาติเลิศล้ำ ฟื้นฟูวัฒนธรรม สังคมสันติสุข
| คำขวัญ =
| image_map = Amphoe 8303.svg
| image_map = Amphoe 8303.svg
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:20, 15 กรกฎาคม 2561

อำเภอถลาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thalang
คำขวัญ: 
เมืองประวัติศาสตร์ ธรรมชาติเลิศล้ำ ฟื้นฟูวัฒนธรรม สังคมสันติสุข
แผนที่จังหวัดภูเก็ต เน้นอำเภอถลาง
แผนที่จังหวัดภูเก็ต เน้นอำเภอถลาง
พิกัด: 8°1′54″N 98°20′0″E / 8.03167°N 98.33333°E / 8.03167; 98.33333
ประเทศ ไทย
จังหวัดภูเก็ต
พื้นที่
 • ทั้งหมด252.0 ตร.กม. (97.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด101,946 คน
 • ความหนาแน่น404.54 คน/ตร.กม. (1,047.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 83110
รหัสภูมิศาสตร์8303
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอถลาง เลขที่ 357 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอถลาง อำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอถลางมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

พื้นที่เดิมของเกาะถลาง หรือ เกาะภูเก็ต ในแผนที่ของคลอดิอุส ปโตเลมี ประมาณ พ.ศ. 700 ระบุไว้ในชื่อ JUNK CEYLON เมื่อครั้งที่หลวงจีนอี้จิงเดินทางผ่านไปสืบพระพุทธศาสนาเรียกบริเวณนี้เป็น SILAN เปลี่ยนเสียงเป็น สลาง ในสมัยสุโขทัย มีปรากฏในจดหมายเหตุไทย - ฝรั่งเศส เป็น Jun Salon ฝ่ายเอกสารไทยใช้ ฉลาง มาจนถึงรัชกาลที่ 3 จึงมีปรากฏคำ ถลาง แทนชื่ออื่นทั้งหมด

ในหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้มีศูนย์กลางปกครองที่เมืองถลาง เจ้าเมืองถลางจะได้รับโปรดเกล้าฯเป็นผู้สำเร็จราชการแปดหัวเมือง (เมืองกระ เมืองคุระ เมืองคุรอด เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง (บางคลี) เมืองกราภูงา เมืองภูเก็จ และเมืองถลาง)

ศูนย์กลางการปกครองเมืองถลางในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อยู่ที่บ้านลิพอน (ตำบลศรีสุนทร)มีพญาถลางคางเสงเป็นเจ้าเมือง ย้ายไปอยู่ที่บ้านดอน (ตำบลเทพกระษัตรี)มีพญาถลางจอมเฒ่าบ้านดอนเป็นเจ้าเมือง และเกาะบ้านเคียน (ตำบลเทพกระษัตรี) ในสมัยกรุงธนบุรี มีพญาถลางจอมรั้งบ้านเคียน พญาถลางอาด พญาถลางชู พญาสุรินทราชาพิมลอัยาขัน เป็นเจ้าเมือง พ.ศ. ๒๓๒๙ มีพญาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามคำแหง(เทียน ประทีป ณ ถลาง) เป็นเจ้าเมือง ถัดไปเป็นพระยาถลางฤกษ์ (จันทโรจวงศ์) พญาถลางทับ พญาถลางคิน และพญาถลางชู(เจ้าเมืองถลางคนสุดท้าย)

อำเภอถลางในอดีตเป็นเมืองของสองวีรสตรีท้าวเทพกระษัตรี และ ท้าวศรีสุนทร เดิมเรียกว่า อำเภอเมืองถลาง มีเจ้าเมืองปกครองเรียกว่า พระยาถลาง ได้จัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2441

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอถลางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน

1. เทพกระษัตรี (Thep Krasattri) 11 หมู่บ้าน
2. ศรีสุนทร (Si Sunthon) 8 หมู่บ้าน
3. เชิงทะเล (Choeng Thale) 6 หมู่บ้าน
4. ป่าคลอก (Pa Khlok) 9 หมู่บ้าน
5. ไม้ขาว (Mai Khao) 7 หมู่บ้าน
6. สาคู (Sakhu) 5 หมู่บ้าน
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอถลางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเชิงทะเล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเชิงทะเล
  • เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเทพกระษัตรี
  • เทศบาลตำบลศรีสุนทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสุนทรทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลป่าคลอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าคลอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพกระษัตรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชิงทะเล (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเชิงทะเล)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้ขาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาคูทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ